This is an outdated version published on 2024-09-26. Read the most recent version.

การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตที่มีภาวะช็อกในงานการพยาบาลผู้ป่วยใน : กรณีศึกษา เปรียบเทียบ 2 ราย

ผู้แต่ง

  • จีรนันท์ พันธุ์พาณิชย์ โรงพยาบาลเมืองสรวง

คำสำคัญ:

Nursing care for patients Septic shock

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการวางแผนการพยาบาล ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนอันตรายและเพิ่มโอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วย และเพื่อการวางแผนการพยาบาลผู้ป่วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดร่วมกับมีภาวะช็อคที่เหมาะสมผู้ป่วยแต่ละรายในทุกระยะของการดูแลผู้ป่วย ตั้งแต่แรกรับจนถึงการจำหน่าย

รูปแบบการศึกษา : เป็นการศึกษาข้อมูลผู้ป่วยรายกรณี ศึกษาเปรียบเทียบกัน 2 ราย

วัสดุและวิธีการวิจัย : ทำการศึกษาในรูปแบบกรณีศึกษา เลือกผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตที่มีภาวะช็อกที่มารักษาตัวเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลเมืองสรวงระหว่างเดือนตุลาคม 2566 – เดือนธันวาคม 2566 โดยศึกษาจากการปฏิบัติงานและจากเวชระเบียนผู้ป่วยใน โดยทำการศึกษาในผู้ป่วย 2 รายเพื่อเปรียบเทียบกัน

ผลการศึกษา : ภาวะช็อกจากการติดเชื้อกระแสเลือดหากได้รับการประเมินการคัดกรองอย่างถูกต้อง จะนำมาสู่การวินิจฉัยโรค และการรักษาที่ถูกต้องรวดเร็วทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสรอดชีวิตมากขึ้น พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานซึ่งมีหน้าที่ในการให้การพยาบาลและเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย นับว่าเป็นบุคคลสำคัญในการดูแลและให้การพยาบาลผู้ป่วยที่เกิดภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด ในทุกระยะของการรักษาตั้งแต่กระบวนการในการคัดกรองผู้ป่วย การประเมิน การเฝ้าระวังติดตามอาการ การประสานงานกับทีมที่เกี่ยวข้องในการรักษาตลอดระยะเวลาที่ผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล ซึ่งบทบาทดังกล่าวนับว่าเป็นความท้าทายในการที่จะพัฒนาองค์ความรู้และฝึกฝนทักษะในการพยาบาลขั้นสูงในการจัดการกับภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด ทั้งนี้โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ การดูแลผู้ป่วยให้ปลอดภัยจากภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือดโดยเร็วที่สุดระบบการไหลเวียนโลหิตกลับคืนสู่สภาวะปกติ ลดความรุนแรงจากความทุพลภาพและเสียชีวิต

สรุปและข้อเสนอแนะ : กรณีศึกษานี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการให้การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตที่มีภาวะช็อกได้

References

Bauer M, Gerlach H, Vogelmann T, Preissing F, Stiefel J, Adam D. Mortality in sepsis and septic shock in Europe, North America and Australia between 2009 and 2019 - results from a systematic review and meta-analysis. Critical Care. 2020;24(1):239.

Bureau of Policy and Strategy. Ministry of Public Health. Public health statistics B.E. 2022. Bangkok: The war veterans affairs office printing; 2023.

กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 28กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th.

ทิฏฐิ ศรีวิสัย, วิมลอ่อนเส็ง. ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ: ความท้าทายของพยาบาลฉุกเฉิน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์. 2560;9(2):152-62.

เพ็ญศรี อุ่นสวัสดิพงษ์, กรองกาญจน์ สังกาศ, ศศิมา กุสุมา ณ อยุธยา, ยงค์ รงค์รุ่งเรือง. ผลของ กิจกรรมพยาบาลมุ่งเป้าในระยะ 6 ชั่วโมงแรกต่อความรุนแรงของอวัยวะล้มเหลวในผู้ป่วยที่มีกลุ่ม อาการSepsis. Nursing Science Journal of Thailand. 2554;29(2):102-10.

ทัศนี รอดภัย. การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดที่มีภาวะช็อก. วารสารวิจัยและวิชาการสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร. 2566;4(1):56-67.

เพ็ญศรี อุ่นสวัสดิพงษ์, กรองกาญจน์ สังกาศ, ศศิมา กุสุมา ณ อยุธยา, ยงค์ รงค์รุ่งเรือง. ผลของ กิจกรรมพยาบาลมุ่งเป้าในระยะ 6 ชั่วโมงแรกต่อความรุนแรงของอวัยวะล้มเหลวในผู้ป่วยที่มีกลุ่ม อาการSepsis. Nursing Science Journal of Thailand. 2554;29(2):102-10.

รัชนก คชไกร, เวหา เกษมสุข. การประเมินภาวะสุขภาพสำหรับพยาบาล. กรุงเทพฯ: เอ็นพีเพรช; 2562.

นนทรัตน์ จำเริญวงศ์. การประเมินและการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2563;7(1):319-30.

นฤมล ฮามพิทักษ์. การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อ : กรณีศึกษา 2 ราย โรงพยาบาลขอนแก่น. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 2563;5(3):79-87.

แสงสม เพิ่มพูน. การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตที่มีภาวะช็อก (Septic shock) โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี. งานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จังหวัดนครปฐม ประเทศไทย 9 - 10 กรกฎาคม 2563. 2563:1071-81.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-26 — Updated on 2024-09-26

Versions