ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจต่อความรู้ และพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรค ไข้เลือดออก และดัชนีลูกน้ำยุงลาย (Container Index: CI) ของประชาชนในเทศบาลตำบลหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • มานะ ภูมิพันธุ์ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหนองพอก
  • กฤษฎา เสนาหาร สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหนองพอก
  • อัฉราพร อุดมรักษ์ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหนองพอก

คำสำคัญ:

การเสริมสร้างแรงจูงใจ, พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรค, ดัชนีลูกน้ำยุงลาย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้ การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้โอกาสเสี่ยง  ความคาดหวังในประสิทธิผล ความคาดหวังในความสามารถของตน พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรค  และค่าร้อยละของภาชนะที่สำรวจพบลูกน้ำยุงลาย (CI)  

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) แบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง (One group, pretest-posttest design)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นตัวแทนครัวเรือนจาก 5 หมู่บ้าน 486 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบความรู้ที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ(KR-20) เท่ากับ 0.82 แบบสอบถาม ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า (Alpha-coefficient) ของครอนบาค (Cronbach) เท่ากับ 0.83, 0.79, 0.86, 0.79 และ 0.83 ตามลำดับ และแบบบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired t-test และกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 95% Confidence interval

ผลการวิจัย : หลังการเข้าร่วมโปรแกรมฯ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกมากกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่า 5.51 คะแนน (95%CI; 5.10, 5.59) ; กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยการเสริมสร้างแรงจูงใจโดยรวมมากกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยการเสริมสร้างแรงจูงใจโดยรวมมากกว่า 2.05 คะแนน (95%CI; 1.95, 2.15) และดัชนีลูกน้ำยุงลายโดยรวมในสัปดาห์ที่ 16 ลดลงจากสัปดาห์ที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 56.16      

สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคเพิ่มขึ้นและดัชนีลูกน้ำยุงลาย (CI) ลดลง

References

กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์โรคไข้เลือดอดออก [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เมื่อ 7 มกราคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://drive.google.com/drive/folders/1TTaSvaYYamVwA5Ig7ATZImicHBuGXOXOSb

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหนองพอก. รายผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์สาธารณสุข 2565. ร้อยเอ็ด. งานควบคุมโรค. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหนองพอก; 2566.

Mackay B C. Aids and protection motivation theory (pmt): Effects of imagined scenarios on intent to use condoms. Michigan A Bell and Howell Information Comparny; 1992.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการวินิจฉัยและการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเดงกี่ในผู้ใหญ่ พ.ศ.2563. นนทบุรี: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

De Vellis R F. Scale development: Theory and applications (2nd ed., 26). Thousand Oaks, CA: Sage Publication; 2003.

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธาธารณสุข. คู่มือป้องกันโรคไข้เลือดออก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิดแอบด์ดีไซน์; 2558.

กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์โรคไข้เลือดออก [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เมื่อ 7 มกราคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://drive.google.com/drive/folders/

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธาธารณสุข. คู่มือป้องกันโรคไข้เลือดออก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิดแอบด์ดีไซน์; 2565.

ฐิติชญา ฉลาดล้น, พิมพ์ลดา อนันต์สิริเกษม. การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก: กรณีศึกษาตำบลต้นแบบ หมู่ 3 บ้านทุ่งทอง ตำบลลาดบัวขาว อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. วารสารการพัฒนาชุมชนและการพัฒนาคุณภาพชีวิต. 2562;5(1):58-76

ชวนพิศ จักขจันทร์, ขวัญเมือง แก้วดำเกิง, ธะราดล เก่งการพานิช. ผลของโปรแกรมสร้างเสริมความรอบรู้ด้านการป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยประยุกต์แบบจำลองข้อมูลข่าวสาวสารแรงจูงใจ และทักษะทางพฤติกรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสังกังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารควบคุมโรค. 2564;47(3):479-89.

Maddux J E, Rogers R W. Prolection Motivation and Self-Efficacy: A Revised Theory of Fear Appeals and Atitude Change. Journal of Experimental Social Psychology. 1983;19(5):469-79.

เกตุศิริ จันทนูศร. โปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจต่อพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชน ตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร [วิทยานิพนธ์]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2565.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี; 2555.

วรวิทย์ วุฒา. การพัฒนาระบบการเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่อำเภอธาตุพนมจังหวัดนครพนม. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10. 2561;16(1):51-62.

ประเสริฐ ไหลหาโคตร์. การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้านโดยทีม SRRT ระดับตำบล บ้านหนองหญ้าปล้อง ตำบลบ่อใหญ่ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2559;13(3):43-50.

สุพล พรมเอี่ยม, มัณทนา ปิยะชาติคุณากร, รัชนก ปัญญา. ประสิทธิผลโปรแกรมสร้างเสริมพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว พื้นที่ตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. วารสารวิชาการสาธารณสุขจังหวัดตาก; 2566

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-10 — Updated on 2024-09-17

Versions