การพัฒนารูปแบบการบริการผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ โรงพยาบาลโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
การผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ, การพัฒนารูปแบบบริการบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถานการณ์ พัฒนารูปแบบ และศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการบริการผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ โรงพยาบาลโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยและพัฒนา (Research and Development)
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่ผ่านการคัดกรองตามเกณฑ์การผ่าตัดแบบวันเดียวกลับจำนวน 70 คน การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการ 3 ขั้นตอนคือ 1) ศึกษาสถานการณ์ ปัญหาและความจำเป็น ในการพัฒนารูปแบบการบริการ 2) พัฒนารูปแบบการบริการ และ 3) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบที่พัฒนาขึ้น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา Percentage Differences และสถิติ Independent t-test
ผลการวิจัย : พบว่าสถานการณ์การดูแลผู้ป่วยผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ โรงพยาบาลโพนทอง มีรูปแบบการปฏิบัติไม่ชัดเจน ไม่เป็นแนวทางเดียวกัน ผู้ป่วยสับสนและกังวลกับการดูแลตนเองทั้งก่อนและหลังการผ่าตัด มีการงดหรือเลื่อนผ่าตัดร้อยละ 14.3 เกิดภาวะแทรกซ้อนร้อยละ 37.1 นำสู่การพัฒนารูปแบบการบริการผู้ป่วยผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ (TISC Model) ประกอบด้วย T: Team work (การทำงานเป็นทีม) I: Information (การให้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ) S: Self-efficacy (การเสริมสร้างการรับรู้สมรรถนะแห่งตน) และ C: Caregiver (การมีส่วนร่วมของผู้ดูแล) และนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปใช้พบว่า ผู้ป่วยมีความวิตกกังวล น้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการบริการรูปแบบเดิม มีอัตราการงดหรือเลื่อนผ่าตัดลดลง (80.00%) เกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดลดลง (85.00%) การติดเชื้อของแผลผ่าตัดลดลง (100.00%) ส่วนการกลับมารักษาซ้ำใน 1 สัปดาห์ไม่แตกต่างกัน และผู้ป่วยมีความพึงพอใจต่อรูปแบบบริการมากกว่ากลุ่มที่ได้รับการบริการรูปแบบเดิม
สรุปและข้อเสนอแนะ : รูปแบบการบริการผู้ป่วยผ่าตัดแบบวันเดียวกลับที่พัฒนาขึ้น เน้นการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยและญาติ โดยส่งเสริมให้เกิดการรับรู้สมรรถนะการจัดการและการดูแลตนเอง สามารถเพิ่มประสิทธิผลด้านการงดหรือเลื่อนผ่าตัด การเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด การเกิดแผลอักเสบ บวม แดง และการกลับมารักษาซ้ำใน 1 สัปดาห์ รวมทั้งยังช่วยลดความวิตกกังวลและเพิ่มความพึงพอใจของผู้ป่วยได้ ดังนั้นแนวทางที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการให้บริการพยาบาลสาขาอื่นๆต่อไป
References
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. ข้อเสนอแนะด้านการพัฒนาระบบบริการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับและการผ่าตัดแผลเล็ก (ODS&MIS). กรุงเทพ: บริษัท จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์ จำกัด; 2023.
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. ข้อเสนอแนะด้านการพัฒนาระบบบริการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ (One Day Surgery: ODS) และการผ่าตัดแผลเล็ก (Minimally Invasive Surgery: MIS). กรุงเทพ: บริษัท จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์ จำกัด; 2022.
Badura A. Control (Psychology), Self-efficacy. New York: W.H. Freeman; 1997.
ชวมัย ปีนะเก, อมฤต สุวัฒนศิลป์, วรรณพร คงอุ่น, นิธิยา นามวงศ์, สุคนธ์ทิพย์ เรียงริลา. การพัฒนาโปรแกรมการสนับสนุนการจัดการตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนล้างไต. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2020;17(3):64-75.
บุบผา บุญญามณี, อรวรรณ หนูแก้ว. การพัฒนาและผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการกำกับตนเอง เพื่อการเลิกยาเสพติดของผู้ป่วยยาเสพติดแอมเฟตามีนในระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2567;11(2):1-15.
กลุ่มงานพัฒนาระบบบริการ โรงพยาบาลโพนทอง. รายงานผลการให้บริการ. ร้อยเอ็ด: โรงพยาบาลโพนทอง; 2565.
กลุ่มงานพัฒนาระบบบริการ โรงพยาบาลโพนทอง. ฐานข้อมูลโรงพยาบาลโพนทอง. ร้อยเอ็ด: โรงพยาบาลโพนทอง; 2565.
Crabtree B F, Miller W L. Doing qualitative research. London: SAGE; 1992.
Gambeson K B. The effect of humorous distraction on preoperative anxiety: A pilot study. AORN J. 1991;54(6):1234-9.
สุวิสาส์ ทองดอนง้าว. รูปแบบการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ (One Day Surgery: ODS) โรงพยาบาลยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา.2566;8(4):868-75.
อุไรวรรณ นนท์คนหมั่น. การพัฒนารูปแบบการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ โรงพยาบาลนครพนม. วารสารโรงพยาบาลนครพนม. 2563;7(1):52-62.
ขวัญจิตร ศักดิ์ศรีวัฒนา, จิรธิดา อนันต์นาวีนุสรณ์, วาสนา ธรรมวาจา, รุ่งทิพย์ รัตนไมตรีเกียรติ, เกรียงศักดิ์ ชัยนาภาพงษ์. การพัฒนารูปแบบการให้บริการผู้ป่วยผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบแบบวันเดียวกลับ โรงพยาบาลชลบุรี. วารสารโรงพยาบาลสิงห์บุรี.2563;29(1):23-36.
ชญานิศ ธัมธนพัฒน์. การพัฒนาระบบการผ่าตัดและการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ (One Day Surgery: ODS) โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน. 2564;6(1):57-63.
อวยพร จงสกุล, นารีรัตน์ อยู่สมบูรณ์, ศิริกุล การุณเจริญพาณิชย์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับแบบครบวงจรของโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา. วารสารแพทย์เขต 4, 5.2563;39(1):109-25..
เบญจวรรณ มนูญญา, สกาวเดือน ขำเจริญ. การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับอย่างครบวงจร. วารสารวิจัยส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต. 2564;1(1):13-24.
Abate S M, Chekol Y A, Basu B. Global prevalence and determinants of preoperative anxiety among surgical patients: A systematic review and meta-analysis. Int J Surg Open. 2020;29:81-90.
ชวมัย ปินะเก, นงลักษณ์ เมธากาญจนศักดิ์. ผลของโปรแกรมการสนับสนุนการจัดการตนเองต่ออัตราการกรองของไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนล้างไต. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2566; 20(1):242-51.
ดังฝัน เอี่ยมสุวรรณ. ประสิทธิผลของการส่องกล้องเพื่อการรักษาภาวะนิ่วในท่อน้ำดีและท่อน้ำดีตีบในการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ. วารสารแพทย์เขต 4-5. 2565;41(1):45-52.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-09-17 (2)
- 2024-09-08 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง