การพัฒนาระบบเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่โดยใช้กระบวนการวางแผน แบบมีส่วนร่วมของเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
ระบบเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ, กระบวนการวางแผน, เครือข่ายสุขภาพบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถานการณ์ พัฒนาระบบ และประเมินผลลัพธ์เฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่ของเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงปฎิบัติการ (Action Research : AR)
วัสดุและวิธีการวิจัย : ผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วย 4 กลุ่ม คือ 1) คณะกรรมการ พชอ. อำเภออาจสามารถ จำนวน 11 คน 2) ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านระดับตำบล 10 คน 3) นายกเทศมนตรีและองค์การบริหารส่วนตำบล 18 คน และ 4) ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 13 คน รวม 52 คน ดำเนินการระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนสิงหาคม 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบบันทึกและแนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา % Differences และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis)
ผลการวิจัย : 1) สถานการณ์การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่พบปัญหาทั้งเชิงระบบทั้งด้านปัจจัยนำเข้า กระบวนการดำเนินงาน และผลลัพธ์ 2) ระบบเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อประกอบด้วย 8 ขั้น คือ การประเมินสถานการณ์เบื้องต้น (Preliminary situation assessment) การพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรค (Development of a disease surveillance system) การจัดทำแผนป้องกันและควบคุมโรค (Formulation of prevention and control plans) การจัดตั้งเครือข่ายความร่วมมือ (Establishment of collaborative networks) การฝึกอบรมบุคลากรและการให้ความรู้แก่ชุมชน (Training of personnel and community education) การจัดการตอบสนองเมื่อเกิดการระบาด(Outbreak response management) การประเมินผลและการปรับปรุง (Evaluation and improvement) และการสื่อสารและรายงานผล (Communication and reporting) และ 3) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญมีส่วนร่วมและกระบวนการบริหารเพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคในพื้นที่ โดยรวมเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 36.21 และ 33.22 ตามลำดับ
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้ได้ระบบเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ แบบมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชน
References
สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่. แผนยุทธศาสตร์ตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชปถัมภ์; 2559.
กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุข เพื่อการจัดการภาวะระบาดของโรคโควิด-19 ในข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1). นนทบุรี: ทีเอสอินเตอร์พริ้นท์; 2563.
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.). ความรู้พื้นฐานด้านการเฝ้าระวัง สอบสวน ป้องกัน ควบคุมโรคสำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. สำนักงานโครงการสนับสนุนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. กรุงเทพฯ: บริษัท สหมิตรพริ้นติ้งแอนต์พับลิสซิ่ง จำกัด; 2555.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19: แนวทางการดำเนินงาน [อินเทอร์เน็ต] 2565. [เข้าถึงเมื่อ 30 มิ.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/gmenu2.php
สำนักงานสาธารณสุขอำเภออาจสามารถ. รายงานผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ ประจำปี พ.ศ.2566. งานยุทธศาสตร์; 2566.
สำนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพ, กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award: PCA). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2552.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์, สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. คู่มือบริหารจัดการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข; 2553.
สำนักระบาดวิทยา, กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. มาตรฐานและแนวทางปฏิบัติงานทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว(SRRT). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2552.
คำนวณ อึ้งชูศักดิ์. หลักวิชาและการประยุกต์ระบาดวิทยาสำหรับผู้บริหารสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: สถาบันการพัฒนาสาธารณสุขอาเชียน มหาวิทยาลัยมหิดล; 2549.
Kemmis S, Mc Taggart R, Nixon R. The action research planner: Doing critical participatory action research. Singapore: Springer; 2014.
World Health Organization. Global health observatory data repository [Internet]. 2022 [cited 2023 Jun 30]. Available from: https://www.who.int/data/gho.
Centers for Disease Control and Prevention. Principles of epidemiology in public health practice[Internet]. 2020 [cited 2023 Jun 30]. Available from: https://www.cdc.gov/ophss/csels/dsepd/ss1978/ss1978.pdf.
Ministry of Public Health. National strategic plan for communicable disease control [Internet]. 2023 [cited 2023 Jun 30]. Available from: https://www.moph.go.th/plan.
Global Health Security Agenda. Advancing global health security: 2023 update [Internet]. 2023 [cited 2023 Jun 30]. Available from: https://www.ghsagenda.org.
Health Systems Research Institute. Community communicable disease control obstacles and strategies [Internet]. 2023 [cited 2023 Jun 30]. Available from: https://www.hsri.or.th/research.
ฉวีวรรณ เผ่าพันธ์, มัณฑนา กลมเกลียว, วัชรินทร์ ทองสีเหลือง, ศุภนาถ รัตนดาดาษ. การพัฒนาการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 ในสถานศึกษา : กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.วารสารโรงพยาบาลมหาหารคาม. 2566;20(2):165-78.
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธาธารณสุข. ระบบรายงานโรค 506. นนทบุรี: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2545.
ประเสริฐ ไหลหาโคตร์. การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้านโดยทีม SRRT ระดับตำบล บ้านหนองหญ้าปล้อง ตำบลบ่อใหญ่ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรพยาบาลมหาหารคาม. 2559;13(3):43-50.
วลีรัตน์ อภัยบัณฑิตกุล. การพัฒนาระบบ และกลไกการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด 19 ในเครือข่ายสุขภาพจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ. 2565;3(5):55-71.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-11-21 (4)
- 2024-10-10 (3)
- 2024-09-01 (2)
- 2024-09-01 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง