การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้เป็นโรคเบาหวานโดยใช้ระบบติดตามพิกัดสัญญาณไฟจราจร ในพื้นที่บริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยขะยุง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
รูปแบบการดูแล, ผู้เป็นโรคเบาหวาน, ระบบติดตามพิกัด, สัญญาณไฟจราจรบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้เป็นโรคเบาหวานโดยใช้ระบบติดตามพิกัดสัญญาณไฟจราจรในพื้นที่บริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยขะยุง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยและพัฒนา (Research and Development design)
วัสดุและวิธีการวิจัย : การวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะแรกเป็นการศึกษาสถานการณ์และยกร่างรูปแบบ ระยะพัฒนารูปแบบ และนำไปทดลองใช้ และระยะประเมินผลลัพธ์การพัฒนารูปแบบฯ ดำเนินการวิจัยในพื้นที่ คือ หน่วยบริการปฐมภูมิที่ให้บริการสำหรับประชาชน 13 หมู่บ้าน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนสิงหาคม 2565 ถึงเดือนกรกฎาคม 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบบันทึกผลลัพธ์ผู้ป่วย แบบทดสอบความรู้ แบบประเมินการปฏิบัติตามรูปแบบ และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย : 1) รูปแบบการดูแลผู้เป็นโรคเบาหวานโดยใช้ระบบติดตามพิกัดสัญญาณไฟจราจรที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย (1) ระบบประเมินภาวะสุขภาพ (2) การพัฒนาสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) (3) การพัฒนาและใช้ระบบติดตามพิกัดฯ และ (4) การนิเทศและติดตาม 2) ผลลัพธ์ด้านกระบวนการดูแล พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้เป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อสม. ปฏิบัติตามรูปแบบเป็นประจำ คิดเป็นร้อยละ 82.14 - 96.67 ความพึงพอใจต่อรูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุด (M =4.56, SD. = 0.59) ความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลฯ อยู่ในระดับมาก (M =4.12, SD. = 0.52) และ 3) ผู้เป็นโรคเบาหวานมีระดับน้ำตาลไม่เพิ่มขึ้นและไม่มีภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่ารูปแบบฯ ที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ดูแลผู้เป็นโรคเบาหวานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ดังนั้นควรมีการสนับสนุนให้นำรูปแบบการดูแลผู้เป็นโรคเบาหวานโดยใช้ระบบติดตามพิกัดสัญญาณไฟจราจรอย่างต่อเนื่องต่อไป
References
International Diabetes Federation (IDF). "IDF Diabetes Atlas 10th Edition. Retrieve from diabetesatlas.org; 2021.
อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์, ภาณุวัฒน์ คำวังสง่า, สุธิดา แก้วหา. รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน; 2563.
วรรณภาภรณ์ จองกลาง, นาฏยา หีบแก้ว ปัดชาสุวรรณ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของกลุ่มวัยทำงานอำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2564;14(3):71-82.
วิทยา เลิกสายเพ็ง. ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองปิ้งไก่ ตำบลนาบ่อคำ อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารวิจัยและวิชาการสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร. 2564;2(1):1-10.
ธนวัฒน์ สุวัฒนกุล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2561;12(3):515-22.
ศิรประภา สิทธาพานิช, จิราภรณ์ ขอสุข, กาญจนา ไชยมาตร, มาดี ขันสัมฤทธิ์. ประสิทธิผลของการพัฒนาศักยภาพ อสม. ในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในคลินิกหมอครอบครัว. ยโสธรเวชสาร. 2565;24(2):36-48.
วิชัย เทียนถาวร. ระบบการเฝาระวัง ควบคุม ป้องกัน โรคเบาหวานความดันโลหิตสูงในประเทศไทย :นโยบายสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2555.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี. Health data Center; 2565.
รพ.สต.ห้วยขะยุง. JHCIS รพ.สต.ห้วยขะยุง [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://jhcis.moph.go.th/learnmore/
วิชัย เทียนถาวร. ระบบการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกัน โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในประเทศไทย: นโยบายสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2556.
ขนิษฐา สระทองพร้อม, สุทธิศักดิ์ สุริรักษ์. ประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพตามหลัก 3 อ. 2 ส. ในประชากรกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองรี. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน. 2564;3(1):38-50.
สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. การทบทวนวรรณกรรม: สถานการณ์ปัจจุบันและรูปแบบการบริการด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. เนติมา คูนีย์ (บรรณาธิการ) นนทบุรี: บริษัท อาร์ต ควอลิไฟท์ จำกัด; 2557.
เวหา เกษมสุข, รัชนก คชไกร. ความต้องการพัฒนาความสามารถของอาสาสมัครสาธารณสุขในการเยี่ยมบ้านผู้เป็นเบาหวานในชุมชน. วารสารพยาบาลทหารบก. 2558;16(2):59-68
จริยาพร ศรีจอมพล, เบญจา มุกตพันธุ์. ความสัมพันธ์ของความรู้ ทัศนคติ ต่อการปฏิบัติของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการตรวจน้ำตาลในเลือดหลายนิ้วของผู้ป่วยเบาหวาน ตำบลเวียงคำ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร. 2561;21(2):79-87.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-08-31 (2)
- 2024-08-31 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง