ผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อความรู้ ทัศนคติ และการตัดสินใจ เข้ารับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีอายุ 30- 60 ปี โรงพยาบาลหนองพอก
คำสำคัญ:
แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ, ความรู้, ทัศนคติ, มะเร็งปากมดลูกบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้ ทัศนคติ และการตัดสินใจเข้ารับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีอายุ 30- 60 ปี ก่อนและหลังการทดลอง
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental Research) แบบเดียววัดก่อนและหลัง (One groups pre-test posttest)
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีอายุ 30–60 ปี ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้า จำนวน 307 คน ซึ่งได้มาจาการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) ดำเนินการระหว่างเดือนมิถุนายน-กันยายน 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแบบบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แบะสถิติทดสอบ Paired t-test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
ผลการวิจัย : หลังการเข้าร่วมโปรแกรมฯ พบว่า สตรีอายุ 30- 60 ปี มีคะแนนเฉลี่ยความรู้มากกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่า 3.93 คะแนน (95%CI: 3.59, 4.27) ; มีทัศนคติต่อโรคมะเร็งปากมดลูกมากกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่า 0.52 คะแนน (95%CI: 0.46, 0.58) และสตรีอายุ 30- 60 ปี เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 84.69
สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้ผลลัพธ์การดำเนินงานเพิ่มขึ้น ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำไปใช้เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
References
National Cancer Institute. Cervical cancer situation in Thailand, 2017-2021; 2022.
World Health Organization. Human papillomavirus (HPV) vaccination coverage and cervical cancer incidence in Thailand, 2017-2021. WHO; 2022.
Ministry of Public Health, Thailand. Annual report on cancer screening and HPV vaccination in Thailand, 2017-2021; 2022.
คณะกรรมการจัดทำแผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ, แผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ (พ.ศ. 2561-2565). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2561.
ภูมิรินทร์ สีกุด. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีกลุ่มเสี่ยงตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวังหวัดนครราชสีมา. วารสารสาธารณสุขมูลฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 2563;36(1):37-47.
เทพอุทิศ กั๊วสิทธิ์. ผลการตรวจคัดกรองและความซุกของมะเร็งปากมดลูกของสตรีที่มารับการตรวจในโรงพยาบาลกาฬสินธุ์. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2564;20(2):116-25.
Thunyarat A, Supannee J. Barriers to cervical cancer screening among Thai women: A qualitative study. Journal of Health Research. 2019;33(2):107-15.
Pongsukree P, Chuthapisith S. Factors influencing the underutilization of cervical cancer screening services among Thai women: A systematic review. Asian Pacific Journal of Cancer Prevention. 2020;21(9):2593-601.
Rattananupong T, Wongwatcharapaiboon W. Cultural barriers to cervical cancer screening in rural Thailand. International Journal of Gynecologic Cancer. 2021;31(5):728-33.
Yuenyongwatana W, Lertpitakpong C. Application of the Health Belief Model in promoting cervical cancer screening among Thai women. Journal of Health Education. 2020;38(4):15-28.
Sripaiboonkij N, Maneesriwongul W. Enhancing cervical cancer screening uptake through the Health Belief Model: A community-based intervention in rural Thailand. Asian Pacific Journal of Cancer Prevention. 2019;20(9):2743-50.
Charoenwatana K, Phuphaibul R. The impact of health belief model-based education on cervical cancer screening behaviors among Thai women. International Journal of Nursing Practice. 2021;27(3):e12985.
บุญเรือง วิทมาสิงห์, ช่อผกา จั่นประดับ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลบ่อพลอย อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล. 2561:3(2):73-88.
สุรีพร ศรีโพธิ์อุ่น, ลำพงษ์ ศรีวงค์ชัย, พรรวินทร์ ธนินธิติพงษ์. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรู้ต่อระดับความรู้เรื่องโรคและการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ของสตรีอายุ 30-60 ปี ในเขตอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารศูนย์อมามัยที่ 9. 2566;17(2):767-76.
ณรงค์ ใจเที่ยง, สาโรจน์ โนศรี. นโยบายการให้ความรู้ตามแบนแผนความเชื่อท้านสุขภาพต่อการรับรู้ภัยกับโรคมะเร็งปากมดลูกของหญิงติดเชื้อ HIV ในโรงพยาบาลดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา. วารสารกฎหมายและนโบายสาธารณสุข. 2564;7(1):1-18.
ศรีสุรัตน์ ชัยรัตนศักดา. ผลการใช้โปรแกรมการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกต่อความรู้ ทัศนคติ และความตั้งใจมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพระนอน จังหวัดนครสวรรค์. สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร. 2564;18(1);60-9.
ชนกพร ปี้บ้านท่า. ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีอายุ 30-60 ปีเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลวิภาวดี. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ. 2565;5(2);102-14.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-08-29 (3)
- 2024-08-29 (2)
- 2024-08-29 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง