การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยวัณโรคโดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง โรงพยาบาลโพนทอง
คำสำคัญ:
การพัฒนา, การพยาบาลผู้ป่วยวัณโรคโดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง, ผู้ป่วยวัณโรค *พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ดบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถานการณ์ บริบท พัฒนาและประเมินผลลัพธ์แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยวัณโรคโดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง โรงพยาบาลโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด
รูปแบบการวิจัย : เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research)
วัสดูุและวิธีการวิจัย : การศึกษาในครั้งนี้ได้มีการมีการศึกษาโดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยวัณโรคโดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางตามวงล้อ PAOR และใช้กระบวนการแบบมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่ โดยเลือกกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มผู้ป่วยวัณโรค โรงพยาบาลโพนทอง จำนวน 30 คน และกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการพัฒนากระบวนการ จำนวน 17 คน และกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ เจ้าหน้าที่และผู้ป่วยวัณโรค โรงพยาบาลโพนทอง รวมทั้งหมดจำนวน 47 คน วิเคราะห์โดยใช้สถิติพรรณนา และนำเสนอเป็นค่าความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) กรณีข้อมูลมีการแจกแจงแบบไม่ปกตินำเสนอด้วยมัธยฐาน (Median) เปอร์เซนต์ไทล์ที่ 25 และ 75 จัดทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) และเปรียบเทียบผลต่างค่าเฉลี่ย ก่อนและหลังการทดลองใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลโดยใช้สถิติทดสอบ Paired t-test กำหนดระดับนัยสำคัญที่ .05
ผลการวิจัย : แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยวัณโรคโดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ 1) ค้นหาโรคและความเจ็บป่วย (Explore & Understand) 2) เข้าใจวิถีชีวิตผู้ป่วย (Person-Centered Care) 3) หาหนทางร่วมกัน (Shared Decision Making) 4) ป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ (Prevention & Health Promotion) 5) เสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดี (Building Trust & Rapport) และ 6) วิถีอยู่บนความเป็นจริง (Realistic Expectations) หลังจากนำแนวปฏิบัติการพยาบาลไปทดลองใช้ พบว่าเจ้าหน้าที่และผู้ป่วยหลังการทดลองมีผลต่างคะแนนเฉลี่ยของความรู้ความเข้าใจ การมีส่วนร่วม และความพึงพอใจของผู้ป่วยวัณโรค สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 โดยพบว่า หลังการทดลองใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาล พบว่าเจ้าหน้าที่มีผลต่างคะแนนเฉลี่ยของความรู้ความเข้าใจ เพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการทดลอง 2.76 คะแนน (95%CI= 1.98-3.54) คะแนนการมีส่วนร่วม เพิ่มขึ้น 10.65 คะแนน (95%CI= 9.05-12.24) และคะแนนความพึงพอใจของผู้ป่วยวัณโรค เพิ่มขึ้น 11.00 คะแนน (95%CI=9.75-12.24) ตามลำดับ
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลลัพธ์์จากการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้ผู้ป่วยวัณโรคได้รับการดููแลและติิดตามอย่างต่อเนื่อง
References
กองวัณโรค. แผนยุทธศาสตร์วัณโรคระดับชาติ พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข; 2564.
Groves J. International Alliance of Patients' Organizations perspectives on person-centered medicine. International Journal of Integrated Care. 2010;10(5):27-9.
Henbest R J, Fehrsen G S. Patient-centredness: is it applicable outside the West? Its measurement and effect on outcomes. Fam Pract. 1992;9(3):311-7.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. รายงานผลการดำเนินงานป้องกันและควบคุมวัณโรค. ร้อยเอ็ด: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด; 2565.
โรงพยาบาลโพนทอง. สถานการณ์วัณโรคอำเภอโพนทอง ปี 2561-2565. ร้อยเอ็ด: โรงพยาบาล โพนทอง; 2566.
Kemnis S, Mc Tagart R. The action research planner. Victoria: Deakin University; 1988.
อรนภา วีระชุนย์, สุชาญวัชร สมสอน. แนวทางการพัฒนารูปแบบการติดตามผู้ป่วยวัณโรคปอดในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน. 2566;1(1):19-34.
ณัฏวรินทร์ โพธิไสย์, สิริมาศ ปิยะวัฒนพงศ์. แนวปฏิบัติการพยาบาลการส่งเสริมความร่วมมือในการรับประทานยาอย่างต่อเนื่องสำหรับผู้สูงอายุวัณโรคที่มารับบริการที่คลินิกวัณโรคโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 2560;24(2):68-77.
ณัทกร พงศ์พีรเดช. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกการดูแลผู้ป่วยวัณโรคการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคสำหรับทีมสหวิชาชีพในโรงพยาบาลศรีสะเกษ. วารสารสถาบันบำราศนราดูร. 2562;13(2):99-110.
ศักรินทร์ บุญประสงค์, พุทธิไกร ประมวล, ภัทรา ทองสุข. การพัฒนาและประเมินผลรูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อรายใหม่ของ อสม.หมอประจำบ้าน จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ. 2566;2(3):145-59.
ดารณี การจุนสี. การพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยวัณโรค “Dots, s Intrend”. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน. 2565;7(1):196-203.
วัฒนา สว่างศรี. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคในชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2562;16(3):116-29.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง