การพัฒนาและประเมินผลแนวปฏิบัติทางการพยาบาลสำหรับการป้องกันภาวะเจ็บครรภ์ คลอดก่อนกำหนดอย่างต่อเนื่องในโรงพยาบาลปทุมรัตต์

ผู้แต่ง

  • วิไลพร อะมะมูล โรงพยาบาลปทุมรัตต์

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติทางการพยาบาล, สตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ :  เพื่อพัฒนาและประเมินผลแนวปฏิบัติทางการพยาบาลสำหรับการป้องกันภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดอย่างต่อเนื่องในโรงพยาบาลปทุมรัตต์

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยและพัฒนา (Research and development design)

วัสดุและวิธีการวิจัย : เป็นสตรีตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ 30 สัปดาห์ถึง 36 สัปดาห์ 6 วัน ที่ได้รับการวินิจฉัยจากสูติแพทย์ว่ามีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดและเข้ารับการรักษาเพื่อยับยั้งการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดที่ห้องคลอดระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนพฤศจิกายน 2566 จำนวน 30 คน และพยาบาลวิชาชีพที่ฏิบัติงานในห้องคลอด 5 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแบบบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย : แนวปฏิบัติทางการพยาบาลสำหรับการป้องกันภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดอย่างต่อเนื่องประกอบด้วย 3 กระบวนการสำคัญ ได้แก่ (1) การส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ (2) การค้นหาปัจจัยเสี่ยงรายบุคคล และ (3) การตรวจคัดกรองความเสี่ยงและการดูแลรักษาต่อเนื่อง หลังจากนำแนวปฏิบัติทางการพยาบาลไปใช้ พบว่า ความพฤติกรรมการป้องกันการเกิดภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดโดยรวม เพิ่มขึ้น 22.4% การกลับมารับการรักษาซ้ำ 30.0% และอุบัติการณ์การคลอดก่อนกำหนด 3.3%      

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้สามารถป้องกันภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดได้ ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสนับสนุนและส่งเสริมให้นำแนวปฏิบัติทางการพยาบาลนี้ไปใช้   

References

Damus K. Prevention of preterm birth: A renewed national priority. Current Opinion in Obstetrics & Gynecology. 2008;20(6):590-96.

กลุ่มรายงานมาตรฐานอนามัยแม่แม่และเด็ก. ร้อยละหญิงไทยคลอดก่อนกำหนดในปีงบประมาณ 2565. [Internet]. [Cited 22 Dec 2023]. Available from: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/reportphp/source=pformated/format1pho&catid=1ed90b32310b503b7ca9b32af425ae5&id=erdbfc8b472535386-34623ce99f0f4b&d

มนต์ชัย สันติภาพ. อุบัติการณ์ของภาวะปากมดลูกสั้นในสตรีตั้งครรภ์เดี่ยวอายุครรภ์ 16-24 สัปดาห์พ.ศ.2560-2561. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 2561;8(3):352-59.

กรมการแพทย์. แนวปฏิบัติการป้องกันการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดสำหรับประเทศไทยฉบับ พ.ศ.2566. กระทรวงสาธารณสุข; 2566.

โรงพยาบาลปทุมรัตต์. ผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์สาธารณสุขอำเภอปทุมรัตต์. ร้อยเอ็ด; 2566.

Eunice Kennedy Shriver National Institute of Child Health and Human Development (NICHD). What causes preterm labor and birth? [Internet]. 2024. [Cited 27 Aug 2024]. Available from: https://www.nichd.nih.gov

Perin J, Mulick A, Yeung D, Villavicencio F, Lopez G, Strong K L, et al. Global, regional, and national causes of under-5 mortality in 2000-19: an updated systematic analysis with implications for the Sustainable Development Goals. Lancet Child Adolesc Health. 2022; 6(2):106-15.

Shapiro-Mendoza C K, Barfield W D, Henderson Z, James A, Howse J L, Iskander J, et al. CDC Grand Rounds: Public Health Strategies to Prevent Preterm Birth. MMWR Morb Mortal Wkly Rep. 2016;65(32):826–30.

Khashu M, Narayanan M, Bhargava S, Osiovich H. Perinatal outcomes associated with preterm birth at 33 to 36 weeks gestation: A population-based cohort study. Pediatrics. 2009;123(1):109-13.

ธีระ ทองสง. สูติศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 6. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2564.

โสภา ผดุงสิทธิโชค. การพยาบาลทารกคลอดก่อนกำหนดน้ำหนักตัวน้อยที่มีภาวะกลุ่มอาการหายใจลำบาก. สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี; 2565.

ชลทิชา รักษาธรรม. แนวปฏิบัติการดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดอย่างต่อเนื่อง [วิทยานิพนธ์]. สมุทรปราการ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียว; 2561.

Lams J D. Preterm labor: a review. Obstet Gynecol. 2003;101(4):709-16.

Soukup S M. The center for advanced nursing practice evidence-based practice model: Promoting the scholarship of practice. Nursing Clinics of North America. 2000;35(2):301-09.

Kleinpell R M. Outcome assessment in advanced practice nursing (4" ed.). New York, NY: Springer Publishing; 2017.

Polit D F, Hungler B P. Nursing research: Principles and methods. New York: J. B. Lippincott; 1999.

บุบผาชาติ เพ็ญสุข, พัชรินทร์ นาเมืองรักษ์, มัลลิกา นวมเจริญ. การพัฒนาและประเมินผลแนวปฏิบัติทางการพยาบาลสำหรับสตรีตั้งครรภ์ที่เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด โรงพยาบาบาลสมุทรสาคร.วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี. 2566;6(2):78-97.

หทัยกาญจน์ หวังกูล. การพัฒนารูปแบบการดูแลอย่างต่อเนื่องสำหรับสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด [วิทยานิพนธ์]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2564.

มานิตา สิริวิบูลย์ฤทธิ์. การพัฒนารูปแบบการสร้างทักษะความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันการคลอดก่อนกำหนดของหญิงตั้ง ตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 2566;8(2):371-82.

ทิพย์วรรณ ประสาสน์ศักดิ์, วิรัชนี สุขวัฒนานนท์, ศศิธร อินทุดม, การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการป้องกันและการดูแลหญิงตั้งตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด โรงพยาบาลแพร่. วารสารโรงพยาบาลแพร่. 2563;28(2):25-35.

ฉวีวรรณ ธงชัย. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิก. สภาการพยาบาล. 2548;20(2):63-74.

พัณณ์ชิตา จันทร์สุหร่าย. ผลของโปรแกรมส่งเสริมแรงจูงใจต่อพฤติกรรมการป้องกันภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดในสตรีกลุ่มเสี่ยง. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน. 2567;30(1):1-14.

ณัฏฐมณฑน์ โกศัย, ฉวี เบาทรวง, กรรณิการ์ กันธะรักษา. ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการดูแลสตรีที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดหน่วยงานห้องคลอด โรงพยาบาลสุโขทัย. พยาบาลสาร. 2554;38(3):30-41.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-01 — Updated on 2024-08-01

Versions