ประสิทธิภาพการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนตำบลบ้านกลาง อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • ศิร ตะโพธิ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลาง

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพ, ขยะมูลฝอย, การจัดการ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพการจัดการขยะมูลฝอย และเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคล ต่อประสิทธิภาพการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนตำบลบ้านกลาง อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง

วัสดุและวิธีวิจัย : ประชากรที่ศึกษาเป็น หัวหน้าครอบครัวที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 2,468 คน คำนวณขนาดตัวอย่างได้จำนวน 333 คน และดำเนินการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญให้ได้จำนวนครบตามขนาดตัวอย่าง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคล กับประสิทธิภาพการจัดการขยะมูลฝอย โดยใช้สถิติการทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA)

ผลการวิจัย : ระดับประสิทธิภาพการจัดการขยะมูลฝอย พบว่า 1) ด้านการทิ้งขยะ อยู่ในระดับสูง 2) ด้านการลดและการคัดแยก ณ แหล่งกำเนิด อยู่ในระดับปานกลาง 3) ด้านการเก็บรวบรวม อยู่ในระดับปานกลาง และ 4) ด้านการกำจัดหรือทำลาย อยู่ในระดับปานกลาง และ ระดับการจัดการขยะมูลฝอยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง และผลเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคล กับประสิทธิภาพการจัดการขยะมูลฝอยพบว่า อาชีพที่แตกต่างกัน มีประสิทธิภาพการจัดการขยะมูลฝอยแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

สรุปและข้อเสนอแนะ : ควรมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการจัดการขยะมูลฝอยกับประชาชนแต่ละกลุ่มอาชีพที่เหมาะสม และควรศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพ เพื่อให้ได้ข้อค้นพบเกี่ยวกับปัจจัยการในการจัดการขยะมูลฝอยอื่นๆเพิ่มเติม

References

สำนักงานนโยบายและแผนกทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. รายงานตัวชี้วัด "ปริมาณขยะมูลฝอย(2553-2565)" [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 29 มีนาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: http://env_data.onep.go.th/reports/subject/view/117

สำนักงานสถิติจังหวัดนครพนม. การจัดการขยะมูลขยะฝอยชุมชน จังหวัดนครพนม [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 30 มีนาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://nkphanom.nso.go.th/statistical-information-service/infographic-interactive/interactive-dashboard/municipal-solid-waste-management-nakhon-phanom-province.html

กรมมลพิษ. ระบบสารสนเทศด้านการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 30 มีนาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://thaimsw.pcd.go.th/provincedetail.php?id=48

กรมการปกครองส่วนถิ่น. การรวมกลุ่มพื้นที่ในการจัดการมูลฝอย (Clusters) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครพนม [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 31 มีนาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dla.go.th/work/garbage3.pdf

Krejcie R V, Morgan D W. Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 1970;30(3):607-10.

ประเวทย์ ยาแปง, สามารถ ใจเตี้ย, พีสิวลี รัตนปัญญา. ความรู้ เจคคติ และการปฏิบัติของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนด้วยแนวคิดขยะเป็นศูนย์ เทศบาลตำบลทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย. 2566;14(2):36-49.

พัฒนชัย ศิริแข็ง, จตุพร พ่ออามาตย์. ความรู้ พฤติกรรม และการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนบ้านพิมานหมู่ที่ 3 ตำบลพิมาน อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม. 2567;2(1):1-18.

ศดานนท์ วัตตธรรม, ณัฐพงศ์ เกตุจันทร์, พีระพงษ์ แก่นแก้ว, ชัยรัตน์ แก่นเพ็ชร, สุริษา เสียงเสนาะ, มณีรัตน์ พิรุณไพศาล. การจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนในเขตเทศบาลเมืองเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. 2566;5(2):1-32.

ภาภรณ์ จงวุฒิเวศย์, ชุลีวรรณ ปราณีธรรม. พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน ตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุุรีี. 2564;10(2):269-80.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-25 — Updated on 2024-07-30

Versions