ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก ของสตรีกลุ่มเสี่ยงที่มารับบริการในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • เสาวราภรณ์ แฝงสะโด โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรม, โรคมะเร็งปากมดลูก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกของสตรีกลุ่มเสี่ยงที่มารับบริการในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่าง เป็นสตรีกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุมากกว่า 35 ปี และรวมถึงสตรี กลุ่มเสี่ยงที่เคยมีเพศสัมพันธ์ที่มีอายุมากกว่า 18 ปีที่มารับบริการในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2567 – 30 มิถุนายน 2567 จำนวน 60 ราย โดยเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 30 ราย และกลุ่มควบคุม จำนวน 30 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติอนุมาน Paired sample t-test และ Independent t-test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ p<.05

ผลการวิจัย : หลังการทดลอง กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05) โดยกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพ 4.37 คะแนน (SD. = 0.23) กลุ่มควบคุมค่าเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพ 2.71 คะแนน (SD. = 0.56) ซึ่งกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยมากกว่ากลุ่มควบคุม 1.66 คะแนน (95% CI; 1.43, 1.88) และมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) โดยกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรม 26.20 คะแนน (SD. = 2.26) กลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมเท่ากับ 20.60 (SD. = 1.83) ซึ่งแตกต่างกัน 5.60 คะแนน (95% CI; 4.53, 6.66)

สรุปและข้อเสนอแนะ : โปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ส่งผลทำให้ผู้รับบริการมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ และมีพฤติกรรมในการป้องกันมะเร็งปากมดลูกดีขึ้น จึงควรนำไปขยายผลในการป้องกันและควบคุมโรคอื่นๆ

References

World Health Organization. Human papillomavirus (hpv) and cervical cancer. [อินเทอร์เน็ต]. 2018 [เข้าถึงเมื่อ 10 มกราคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs380/en/

World Health Organization. Cervical cancer 2016. [อินเทอร์เน็ต]. 2016 [เข้าถึงเมื่อ 10 มกราคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.who.int/cancer/prevention/diagnosis-screening/cervical-cancer/en/.

กระทรวงสาธารณสุข Health Data Center. อัตราการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุ 30-60 ปี. [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 15 มกราคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php

Nutbeam D. Health Literacy as a Public Health Goal: A Challenge for Contemporary Health Education and Communication Strategies into Health 21st Century. Health Promotion International. 2008;15(8):259-67.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. การประเมินและการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 15 มกราคม 2567] เข้าถึงได้จาก:http//www.hed.go.th.

อังศินันท์ อินทรกำแหง. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ : การวัดและการพัฒนา. เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท สุขุมวิทการพิมพ์ จำกัด; 2560.

วนิดา พิงสระน้อย. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทำวิจัยของบุคลากรสายวิชาการ กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2556.

กูดา กูแต. พฤติกรรมการตรวจมะเร็งปากมดลูกของสตรีวัยเจริญพันธุ์ตำบลเชิงคีรี อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส [วิทยานิพนธ์]. ยะลา: วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา; 2553.

สุดาฟ้า วงศ์หาริมาตย์. ดัชนีวัดความรอบรู้ทางด้านสุขภาพเพื่อการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และความตั้งใจใฝ่พฤติกรรมการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2561;27(6):1058-68 .

เกษศรินทร์ วัชระพิมลมิตร, อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีผลต่อการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกของผู้หญิงในตำบลหนองปากโลง อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น. 2566;4(3):30-43.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-22 — Updated on 2024-07-22

Versions