ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานที่มารับบริการ ที่ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • วนิดา วงษ์ตา โรงพยาบาลร้อยเอ็ด
  • อุไรพรณ์ ทิดจันทึก โรงพยาบาลร้อยเอ็ด
  • นุสกร เนืองษา โรงพยาบาลร้อยเอ็ด
  • ชวนพิศ เสิกนาค โรงพยาบาลร้อยเอ็ด
  • ประภัสสร เกตุศรี โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

โรคเบาหวาน, กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน, การจัดการตนเอง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานที่มารับบริการที่ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) : Two group experimental study

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่าง เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานที่มีอายุมากกว่า 30 ปี ที่มารับบริการที่ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลร้อยเอ็ด ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้าจำแนกเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน ดำเนินการวิจัยระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2567 – 30 มิถุนายน 2567 โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดความรู้เรื่องโรคเบาหวาน แบบวัดพฤติกรรมการป้องกันตนเอง และแบบเก็บข้อมูลระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting Blood Sugar; FBS) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติอนุมาน Paired sample t-test และ Independent t test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ p<.05

ผลการวิจัย : หลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน พฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวาน และระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting Blood Sugar; FBS) แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานพฤติกรรมในการป้องกันโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น แต่ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน จึงควรขยายผลการดำเนินการวิจัยในผู้ป่วยกลุ่มอื่นๆเพื่อลดปัญหาโรคแทรกซ้อน และลดความรุนแรงของโรคอย่างเป็นรูปธรรม

References

สำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. กรมควบคุมโรค [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 15 มกราคม 2567]. เข้าถึงจาก: https://ddc.moph.go.th/odpc7/news.php?news=38430&deptcode=odpc7&news_views=5071

วัชราภรณ์ นาฬิกลุ, ลำไพร แทนสา, สุรภา พิลาออน. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานทีควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ โรงพยาบาลเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. 2563;2(1):77-90.

วิเชียร เกตุสิงห์. สถิติที่ใช้ในการวิจัย. กรุงเทพ ฯ: กองการวิจัย สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ; 2538.

นิยม ดีจันทร์, สุพัฒน์ กองศรีมา, นครินทร์ ประสิทธิ์, ณัฐพร นิจธรรมสกุล, ภูวนาถ ศรีสุธรรม. ผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ตำบลกุดหมากไฟ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2567;18(1):111-27.

เพ็ญศรี รอดพรม, นฤมล จันทร์สุข, นันตพร ทองเต็ม. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 2565;9(5):300-12.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-22 — Updated on 2024-07-22

Versions