ผลของการใช้โปรแกรมการให้บริการผ่านระบบเภสัชกรรมทางไกลต่อความร่วมมือในการใช้ยาของ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลกุดจับ จังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
บริการเภสัชกรรมทางไกล, ผู้ป่วยเบาหวาน, ความร่วมมือในการใช้ยาบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติตัว และความร่วมมือในการใช้ยารวม และเพื่อศึกษาความพึงพอใจในการใช้บริการเภสัชกรรมทางไกล
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental study) แบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลัง (One group pretest-posttest)
วัสดุและวิธีการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยเบาหวานในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลกุดจับ และ รพ.สต.ทุกแห่ง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) จำนวน 100 ราย ดำเนินการระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน 2567 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติตัวในการใช้ยา และความร่วมมือในการใช้ยาที่มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน (KR20) เท่ากับ 0.75 และค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติตัวและความร่วมมือในการใช้ยา โดยใช้สถิติ Paired t-test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัย : (1) หลังการเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตัวด้านยาเพิ่มขึ้นทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) (2) หลังการเข้าร่วมโปรแกรมผู้ป่วยมีคะแนนเฉลี่ยความร่วมมือในการใช้ยาสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) (3) ผู้ป่วยมีความพึงพอใจในการรับบริการเภสัชกรรมทางไกลเพิ่มขึ้น (p <.001)และค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยก่อนการวิจัยมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 61.83±28.92 เป็น 21.96±7.96 ผู้ป่วยมีค่าใช้จ่ายที่ลดลงเมื่อเทียบกับการต้องมารับบริการที่โรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001)
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการให้บริการเภสัชกรรมทางไกลมีความเกี่ยวข้องกับสหวิชาชีพอื่นๆ ด้วยดังนั้น ควรศึกษาเพิ่มเติมร่วมกันกับทีมสหสาขาวิชาชีพอื่นๆ โดยใช้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางเพื่อให้เกิดการพัฒนาระบบบริการให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
References
World Health Organization. Non-communicable disease [อินเทอร์เน็ต]. 2567 [เข้า ถึงเมื่อ 25 มิถุนายน 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/noncommunicable-diseases20
กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดำเนินงาน NCD clinic plus 2566 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: 2567. [เข้าถึงเมื่อ 25 มิถุนายน 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1376920230127075004.pdf
กระทรวงสาธารณสุข. ฐานข้อมูล Health Data Center : HDC [อินเทอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 25 มิถุนายน 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://udn.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php
สำนักนายกรัฐมนตรี. นโยบายรัฐบาล มาตรการ Quick Win [อินเทอร์เน็ต]. 2567 [เขาถึงเมื่อ 25 มิถุนายน 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/75332
สภาเภสัชกรรม. ประกาศสภาเภสัชกรรม ที่ 56/2563 เรื่องการกำหนดมาตรฐานและขั้นตอนการให้บริการเภสัชกรรมทางไกล (Tele-pharmacy) [อินเทอรเน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 25 มิถุนายน 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.pharmacycouncil.org/index.php?option=content_detail&menuid=68&itemid=1846&catid=0
Yap A F, Thirumoorthy T, Kwan Y H. Medication adherence in the elderly. Journal of Clinical Gerontology and Geriatrics. 2016;7(2):64-7.
Bloom B S, Krathwohl D R. Taxonomy of educational objectives: the classification of educational goals: Cognitive Domain: Longman; 2020.
Best J W, Kahn J V. Research in Education: Allyn and Bacon; 1998.
พุทธชาติ มากชุมนุม, นลินี พูลทรัพย์, ทิพาพร พงษ์เมษา. ผลของการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โดย ทีมสหสาขาวิชาชีพ. Veridian E-journal Science andTechnology Silpakorn University. 2559;3(1):013-33.
Saneha C, Musikthong J, Sripasong S, & Samai, T. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลการรับรู้เกี่ยวกับวิธีการให้ยาอย่างปลอดภัยกับการปฏิบัติการให้ยาอย่างปลอดภัยของนักศึกษาพยาบาลในสถาบันการศึกษาพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. Nursing Science Journal of Thailand. 2018;36(1):17-30.
ทศพล ดวงแก้ว, พัชรินทร์สิรสุนทร. การประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพของ Marshall H. Beckerในการศึกษาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในชุมชนเมืองจังหวัดพิษณุโลก. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน(มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 2560;10(3):101-13.
สุภาพร สุปินธรรม. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการใช้ยาต่อความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ได้รับบริการผ่านระบบเภสัชกรรมทางไกลโรงพยาบาลป่าซางจังหวัดลำพูน. เภสัชกรรมคลินิก. 2566;29(1): 51-64.
MacLaughlin E J, Raehl C L, Treadway A K, Sterling T L, Zoller D P, Bond C A. Assessing medication adherence in the elderly. Drugs & aging. 2005;22(3):231-55.
Thavornwattanayong W, Nuallaong P. Outcomes of Tele-pharmacy on Asthma Control in Ratchaburi Hospital. J Health Sci Med Res. 2023;41(4):e2023928.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขเพิ่มเติมสำหรับการบริการระดับปฐมภูมิ พ.ศ. ๒๕๖๖[อินเทอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 25 มิถุนายน 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nhso.go.th/storage/downloads/main/233/ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเรื่องการจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขเพิ่มเติมสำหรับการบริการระดับปฐมภูมิ พ.ศ. ๒๕๖๖.PDF
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-07-12 (4)
- 2024-07-12 (3)
- 2024-07-12 (2)
- 2024-07-09 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง