การพัฒนารูปแบบการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ

ผู้แต่ง

  • ชุ่มเมือง จันปุ่ม โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์, การพัฒนา, รูปแบบการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการเข้าถึงการรับบริการของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและพัฒนาประเมินรูปแบบการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)

วัสดุและวิธีการวิจัย : ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ทีมพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยทางคลินิก 12 คน และผู้รับบริการรับยาต้านไวรัสเอชไอวี 234 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย การระดมความคิดเห็นด้านสภาพปัญหาโดยใช้แผนที่ความคิด การสนทนากลุ่ม รวบรวมข้อมูลจากเอกสารการปฏิบัติงาน แนวทางปฏิบัติ การสังเกตและแบบบันทึกกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการจำแนกประเภท วิเคราะห์แบบอุปนัย ตีความหมาย สร้างข้อสรุปและอธิบายปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละและค่าเฉลี่ย ดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 ถึงเดือนมีนาคม 2567

ผลการวิจัย : จากการจัดกระบวนการแผนที่ความคิดพบว่าปัญหาในการเข้าถึงการรับบริการได้แก่การค้นหาผู้ติดเชื้อยังมีน้อย ขาดการติดตามประเมินผู้ป่วยก่อนและหลังการรับยาต้านไวรัส วินัยในการกินยาของผู้ป่วย ผู้ป่วยขาดความรู้เรื่องการรักษาอย่างต่อเนื่อง ผลการสนทนากลุ่มปรากฎผลคือ 1)บุคลากรไม่เพียงพอ 2) ควรมีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนนำมาใช้ได้สะดวก 3)บุคลากรและผู้ป่วยอยากให้จัดอบรมความรู้ใหม่ๆ ได้นำปัญหาเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วย มีการปรับปรุงเรื่องอัตรากำลัง พัฒนาทีมสหวิชาชีพ ปรับปรุงสถานที่ให้เป็นสัดส่วน พัฒนา CPG จัดทำแนวทางและขั้นตอนการปฏิบัติพร้อมประเมินผลหลังนำมาใช้ 1 เดือน

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ ส่งผลให้กระบวนการทำงานเป็นทีม การพยาบาลแบบองค์รวม การสร้างเครือข่ายในชุมชน และเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ยุทธศาสตร์ว่าด้วยการยุติปัญหาเอดส์ พ.ศ.2560-2573 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 8 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http//aidssti.ddc.moph.go.th/contents/view/1759

โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ. สรุปสถานการณ์การให้บริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีโรงพยาบาลสุวรรณภูมิ ปี 2566. โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ; 2566.

กัญญสิริ จันทร์เจริญ. บทที่ 5 การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 1 ต.ค. 2566]. 2554. เข้าถึงได้จาก: https://www.ict.up.ac.th/surinthips/ResearchMethodology_2554...PDF.

กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค. แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ประเทศไทย ปี 2564/2565. 2565. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดสำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2565.

ประจักร เหิกขุนทด. การพัฒนารูปแบบการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ โรงพยาบาลส่องดาว.วารสารโรคเอดส์. 2564;33(3):151-64.

สัจพงษ์ โชคคติวัฒน์, ดวงฤดี วรชิน. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีโรงพยาบาลเจริญศิลป์.วารสารโรคเอดส์. 2563;32(1):15-27.

นันทนา เสียงล้ำ. ผลของการให้แนวทางการดูแลเพิ่มเติมในผู้ติดเชื้อเอชไอวีสูงอายุในโรงพยาบาลบึงกาฬ [วิทยานิพนธ์]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2563.

ภัทรกันย์ วงค์ตาหล้า. การพัฒนารูปแบบการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ที่รับประทานยาต้านไวรัสเอดส์ในรักษ์สุขภาพ โรงพยาบาลนาแก จังหวัดนครพนม. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน. 2564;6(3):91-103.

กัญญา พฤฒิสืบ. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการขาดนัดการรักษาของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต. Thai AIDS Journal. 2564;33(3):139-50.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-12