การพยาบาลผู้ป่วยภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด : กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • สายนิน ชินบุตร โรงพยาบาลเสลภูมิ

คำสำคัญ:

ภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด, การพยาบาล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด จำนวน 2 รายที่มารับบริการในโรงพยาบาลเสลภูมิ

รูปแบบการวิจัย : การเปรียบเทียบกรณีศึกษา 2 ราย

วัสดุและวิธีการวิจัย : การศึกษารายกรณีนี้เป็นการเปรียบเทียบในผู้ป่วย Septic shock จำนวน 2 ราย โดยศึกษาในผู้ป่วยกรณีศึกษารายที่ 1 ที่เข้ามารับการรักษาในแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลเสลภูมิ ระหว่างวันที่ 7 เดือน มกราคม 2567 – 8 เดือนมกราคม 2567 และศึกษาในผู้ป่วยกรณีศึกษารายที่ 2 ที่เข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลเสลภูมิ ระหว่างวันที่ 19 เดือนมกราคม 2567- 25 เดือนมกราคม 2567 การเก็บข้อมูลโดยใช้แนวคิดการประเมินภาวะสุขภาพผู้ป่วยตามแบบแผนสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน และแนวคิดกระบวนการพยาบาลมาประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด

ผลการวิจัย : ผู้ป่วยกรณีศึกษาทั้ง 2 ราย ได้รับการนำเครื่องมือประเมินผู้ป่วย Sepsis ได้แก่ SIRS, qSOFA, NEWS มาช่วยประเมินคัดกรองและค้นหาความเสี่ยงทางคลินิกทำให้สามารถให้การพยาบาลได้อย่างรวดเร็ว ทันท่วงที ได้แก่ การดูแลระบบไหลเวียนโลหิต การเฝ้าระวังภาวะไม่สมดุลของอิเลคโตรไลท์ การให้สารน้ำ การให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษาภายใน 1 ชั่วโมง การเก็บสิ่งส่งตรวจ การให้ยากระตุ้นความดันโลหิต ประเมินและติดตามอาการอย่างใกล้ชิด จนสามารถทำให้ผู้ป่วยชะลอการล้มเหลวของอวัยวะสำคัญและช่วยให้ผู้ป่วยรอดชีวิตได้

 สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าพยาบาลควรมีความรู้และทักษะในการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างชำนาญนำไปสู่การปฏิบัติการพยาบาลที่สอดคล้องกับปัญหาของผู้ป่วยแต่ละคนได้อย่างมีประสิทธิภาพเกิดผลลัพธ์ทางการพยาบาลที่ดี

References

กระทรวงสาธารณสุข. อัตราตายผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรงชนิด Community-acquired. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 25 เมษายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://healthkpimoph.go.th/kpi2/kpi/index/?id=1448

สมาคมเวชบำบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย. การดูแลรักษาผู้ป่วย Severe sepsis และ Septic shock (ฉบับร่าง) แนวทางเวชปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สมาคมเวชบำบัดวิกฤต; 2558.

กระทรวงสาธารณสุข. HDC [อินเทอเน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 22 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ryg.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php

โรงพยาบาลเสลภูมิ. เวชสถิติ. สถิติผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis) ปี 2563-2566. ร้อยเอ็ด:โรงพยาบาล; 2566.

นนทรัตน์ จำเริญวงศ์, สุพรรณิการ์ ปิยะรักษ์, ชยธิดา ไชยวงษ์. การประเมินและการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด.วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้.2563;7(1):319-30.

ทัศนี รอดภัย. การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดที่มีภาวะช็อก. วารสารวิจัยและวิชาการสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร. 2566;64(1):59-67.

ทิฎฐิ ศรีวิสัย. ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ : ความท้าทายของพยาบาลฉุกเฉิน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์. 2560:9(2):152-63.

ณัฐธยาน์ บุญมาก. การพยาบาลฉุกเฉินในภาวะช็อกจากการติดเชื้อ. J Med Health Sci. 2562:26(1):65-73.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-09