การพัฒนารูปแบบบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • สังวาลย์ วงศ์สมศักดิ์ โรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย
  • พัฒน์สรณ์ บุราณรักษ์ โรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย
  • ชญาภา เยยโพธิ์ โรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย

คำสำคัญ:

จัดบริการการแพทย์ทางไกล, โรคเรื้อรัง, Telemedicine

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนารูปแบบบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นทีมสหวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชน 17 คน บุคลากร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) 40 คน ผู้รับบริการโรคเรื้อรังใน รพ.สต. 376 คน ดำเนินวิจัยตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 - พฤษภาคม 2567 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ แนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่ม และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Paired t-test ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย : รูปแบบการจัดบริการการแพทย์ทางไกล 5 ขั้นตอน คือ 1) การคัดเลือกและจัดตั้งสถานีสุขภาพดิจิทัลใน รพ.สต. 2) จัดตั้งคณะทำงานระดับอำเภอ 3) ระบบสื่อสาร Application Line, Program Zoom meeting, Smart Card, Program HOSxP 4) การตรวจรักษาทางไกล (Telemedicine) ประกอบด้วย การยืนยันตัวตนผู้รับบริการ การลงข้อมูลผู้ป่วยใน HOSxP การซักประวัติ การตรวจรักษา พยาบาลแนะนำหลังตรวจ เภสัชกรแนะนำการใช้ยา และรับยาในรพ.สต.หรือจัดส่งยาทางไปรษณีย์ 5) การบันทึกข้อมูลบริการ หลังการพัฒนาพบว่าผู้รับบริการมีความพึงพอใจเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และบุคลากรใน รพ.สต. ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (Mean =4.67, SD.=0.58) ทีมสหวิชาชีพ ในโรงพยาบาลมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (Mean =4.52, SD.=0.59)

สรุปและข้อเสนอแนะ : การจัดบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) สามารถตอบสนองต่อความต้องการผู้ป่วยที่เข้าถึงบริการตรวจของแพทย์ได้ง่าย สามารถลดความแออัดลดระยะเวลารอคอยและลดค่าใช้จ่าย

References

งานเวชระเบียนและสถิติ โรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย. รายงานสถิติการบริการโรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย ประจำปี 2566. มหาสารคาม: โรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย; 2566.

กรมการแพทย์. แนวทางการพัฒนาระบบบริการโรงพยาบาลเสมือนจริง (Virtual Hospital). นนทบุรี: กรมการแพทย์; 2566.

นัฐยา พานิชย์ดี. การพัฒนาระบบบริการแพทย์ทางไกลคลินิกเฉพาะโรค (Telemedicine) โรงพยาบาลกาฬสินธุ์. วารสารวิชาการทางการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2566;3(2):127-42.

ชีวัน เจริญสุข. แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจในคุณภาพบริการ (Service Quality Satisfaction) [อินเทอร์เน็ต]. 2562. [เข้าถึงเมื่อ 9 มีนาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://maymayny.wordpress.com/2020/04/07/แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง-2/.

ธนพร ทองจูด. การศึกษาการตรวจรักษาด้วยโทรเวชกรรมที่มีผลต่อทัศนคติและความตั้งใจเลือกใช้บริการโทรเวชกรรมของผู้รับบริการของโรงพยาบาลรามาธิบดี [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2564.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-07