การพัฒนารูปแบบการบริการคลินิกวาร์ฟารินในหน่วยงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลหนองพอก

ผู้แต่ง

  • วิรังรอง ไชยจิตร โรงพยาบาลหนองพอก
  • อัฐภิญญา ตะกรุดเพ็ง โรงพยาบาลหนองพอก
  • พิมพ์พรรณ ทองประมูล โรงพยาบาลหนองพอก

คำสำคัญ:

ยาวาร์ฟาริน, รูปแบบการบริการ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถานการณ์ พัฒนารูปแบบ และประเมินผลรูปแบบการบริการคลินิกวาร์ฟารินในหน่วยงานผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลหนองพอก

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)

วัสดุและวิธีวิจัย : ผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย ได้แก่ แพทย์ เภสัชกร เทคนิคการแพทย์ และพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 15 คน และผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟาริน จำนวน 50 คน ดำเนินการเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะวิเคราะห์สถานการณ์ ระยะดำเนินการ และระยะประเมินผล เก็บข้อมูลจากการสืบค้นในโปรแกรมระบบ HIS การสังเกต การสอบถามข้อมูล การประชุมกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผล ได้แก่ แบบสอบถามประเมินความรู้และพฤติกรรมการใช้ยาวาร์ฟารินของผู้ป่วย ผลค่า INR ภาวะแทรกซ้อนการเกิด Major-Minor bleeding และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัย : ได้รูปแบบการบริการคลินิกวาร์ฟารินในโรงพยาบาลหนองพอก ผลการประเมินรูปแบบพบว่า ผู้ป่วยมีความรู้เรื่องยาวาร์ฟารินผ่านการประเมิน ร้อยละ 86.00 คะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 14.94 คะแนน พฤติกรรมการใช้ยาวาร์ฟารินอยู่ในระดับดีมากที่สุด ร้อยละ 56.00 อยู่ในระดับพอใช้ ร้อยละ 44.00 INR อยู่ในช่วงเป้าหมาย (2-3.5) เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 54.18 เป็นร้อยละ 62.58 พบภาวะแทรกซ้อน Minor bleeding 12 ราย Major bleeding 1 ราย ผลการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา พบปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาวาร์ฟาริน ได้ 4 ประเด็นดังนี้ ด้านการรับรู้ค่าการแข็งตัวของเลือด ด้านการใช้ยา ด้านการปฏิบัติตัว ด้านการมารับยาตามนัด

สรุปและข้อเสนอแนะ : การพัฒนารูปแบบการบริการคลินิกวาร์ฟารินควรเหมาะสมตามบริบทแต่ละพื้นที่ เพื่อให้เกิดการใช้ยาวาร์ฟารินที่มีประสิทธิภาพ และลดการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา

References

สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. แนวทางการรักษาผู้ป่วยด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดรับประทาน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2553.

สาวิตรี เหล่าไพบูลย์กุล, อังคณา ช่วยชัย, ศิวกร บันลือพืช, ภาธร บรรณโศภิษฐ์, สิรปภา มาตมูลตรี, วรรณดี คงเทพ. ปัญหาจากการใช้ยาของผู้ป่วยนอกที่ได้รับยาวาร์ฟารินที่มีค่า INR นอกช่วงการรักษา โดยการเยี่ยมบ้านในอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. ใน: กรวิทย์ อยู่สกุล, เพชรรัตน์ บุญร่วมแก้ว, ศุภลักษณ์ ไพศาล. การประชุมวิชาการระดับชาติ “วลัยลักษณ์วิจัย” ครั้งที่ 11; วันที่ 27-28 มีนาคม 2562; ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช; 2562. หน้า 1-7.

สาวิตรี ทองอาภรณ์, โพยม วงค์ภูวรักษ์, วรนุช แสงเจริญ, วิบุล วงค์ภูวรักษ์. อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาวาร์ฟารินของผู้ป่วยในจังหวัดสงขลา. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 2; วันที่ 4-5 กันยายน 2555; ณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี; 2555. หน้า 216 -26.

สิริรัตน์ วนาพรหม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการไม่พึงประสงค์และผลการรักษาผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟารินในโรงพยาบาลหนองหาน (แม่ข่าย) และโรงพยาบาลพิบูลย์รักษ์ (ลูกข่าย) จังหวัดอุดรธานี. วารสารโรงพยาบาลนครพนม. 2564;8(2):15-27.

ประภัสสร ขุนพรหม. ความรู้ความร่วมมือในการใช้ยาวาร์ฟารินต่อการควบคุมค่าการแข็งตัวของเลือดของผู้ป่วยในคลินิกวาร์ฟาริน โรงพยาบาลพัทลุง. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพแห่งประเทศไทย. 2564;3(3):28-38.

วิทยา วิริยะมนต์ชัย. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟารินในโรงพยาบาล ปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยใช้การคิดเชิงออกแบบเป็นฐาน. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 2563;10(1):118-31.

Kemmis S. McTaggart R. The action Research planer. (3rd ed.). Victoria: Deakin University; 1988.

ปฐวี โลหะรัตนากร, พลอยไพลิน ฤทธิบุญ, ยุวธิดา หงส์ริญญา, มณีพิมาย ไชยชุน, สุเทพ ทักษิณาเจนกิจ, วีรวรรณ อุชายภิชาติ. ความรู้ในการใช้ยาวาร์ฟารินและการควบคุมค่า Internal normalized ratio เป้าหมายผู้ป่วยนอกศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2559;31(3):257-265.

รัชนี ผิวผ่อง, สุปรีดา มั่นคง, อภิญญา ศิริพิทยคุณกิจ, สุกิจ แย้มวงษ์. ผลของโปรแกรมพัฒนาความสามารถของผู้สูงอายุที่ได้รับยาวาร์ฟารินต่อความรู้พฤติกรรมการดูแลตนเอง และภาวะเลือดออกผิดปกติ. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา. 2555;20(2):93-110.

ศูนย์หัวใจโรงพยาบาลร้อยเอ็ด. คู่มือทีมสหวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยในวาร์ฟารินคลินิก (Multidisplinary care team in warfarin clinic). ขอนแก่น: หจก.โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2561.

สกนวรรณ พวงหอม, อรอนงค์ หงส์ชุมแพ, ศีรษา แซ่เนี้ยว. การพัฒนาแบบบันทึกปัญหาเนื่องจากการใช้ยาและคำแนะนำการปรับขนาดยาในผู้ป่วยใช้ยาวาร์ฟาริน. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล. 2559;1(1):74-84.

อุทัย เพ็งธรรม. ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะเลือดออกผิดปกติในผู้ป่วยที่ใช้ยา warfarin. ลำปางเวชสาร. 2551;33:83-92.

Kim J H, Kim G K, Kim E J, Park S, Chung N, Chu S H. Factors affecting medication adherence and anticoagulation control in Korean patients taking warfarin. J cardiovasc Nurs. 2011;26(6):466-74.

รุจิรา บุตรจันทร์, สงครามชัย ลีทองดี, รับขวัญ เชื้อลี. การพัฒนารูปแบบคุณภาพบริการคลินิกวารฟาริน ตามเกณฑ์การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ โรงพยาบาลบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 2562;8(1):39-55.

เกษร สังข์กฤษ, ทัศนีย์ แดขุนทด, อุไรวรรณ ศรีดามา. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟาริน โรงพยาบาลสกลนคร. วารสารสมาคมพยาบาลฯสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 2555;30(4):96-108.

พีระพงศ์ ภูบาล. การศึกษาสถานการณ์ปัญหาการใช้ยาวาร์ฟารินและการพัฒนาระบบติดตามดูแลความปลอดภัยจากการใช้ยาวาร์ฟารินในระดับปฐมภูมิ [วิทยานิพนธ์]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2563.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-27