ประสิทธิผลของการพัฒนาคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลแบบชี้เฉพาะ และคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลโรงพยาบาลหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด ปี 2566
คำสำคัญ:
การบันทึกทางการพยาบาลแบบชี้เฉพาะ, Focus chartingบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ พัฒนาคุณภาพ และศึกษาประสิทธิผลการบันทึกทางการพยาบาลแบบชี้เฉพาะ (Focus charting Record)
รูปแบบการวิจัย : เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)
วิธีดำเนินการวิจัย : กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานที่ตึกผู้ป่วยใน จำนวน 13 คน คัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เวชระเบียนผู้ป่วยในที่เข้ารับการรักษา ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม - 30 เมษายน 2566 จำนวน 339 ชาร์ท คัดเลือกตามเกณฑ์ คัดเข้าคัดออก ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 164 ชาร์ท เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามการประเมินคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลแบบชี้เฉพาะ (Focus charting nursing record) การตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดย ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา (Content validity index: CVI) ได้เท่ากับ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ เชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย : การวิเคราะห์สถานการณ์ผลการบันทึกทางการพยาบาลแบบชี้เฉพาะ (Focus charting) การบันทึกไม่ครอบคลุมทั้ง A-I-E (Assessment-Intervention-Evolution) ไม่สามารถค้นหาปัญหาที่แท้จริงของผู้ป่วยหรืออาจค้นหาได้แต่ขาดการบันทึกเอกสารหลายส่วนทำให้บันทึกซ้ำซ้อนต้องใช้เวลาการบันทึกนาน บันทึกไม่สนับสนุนการปฏิบัติการพยาบาลอย่างต่อเนื่อง บันทึกข้อมูลเป็น Routine มองไม่เห็นปัญหาผู้ป่วยเป็นรายบุคคล และไม่เป็นตามมาตรฐานการดูแลผู้ป่วย ส่วนการพัฒนาคุณภาพมีกระบวนการ 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1. การวางแผน (Plan) 2. การปฏิบัติ (Action) 3. สังเกต (Observe) และ 4. การสะท้อนผลการปฏิบัติ (Reflection) และผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนรวมการประเมินคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลแบบชี้เฉพาะ (Focus charting) เชิงปริมาณหลังการพัฒนามีค่าเฉลี่ยระดับคะแนนเพิ่มขึ้นจาก 1.58 คะแนน เป็น 1.74 คะแนน ส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยของข้อมูลครบถ้วนและเชิงคุณภาพหลังการพัฒนา มีค่าเฉลี่ยระดับคะแนนเพิ่มขึ้นจาก 2.24 คะแนน เป็น 2.55 คะแนนส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยของข้อมูลการบันทึกครบถ้วนสมบูรณ์ 100%
สรุปและข้อเสนอแนะ : การวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้การสื่อสารข้อมูลผู้ป่วยให้แก่ทีมวิชาชีพได้ชัดเจน ง่ายต่อการอ่านและลดระยะเวลาในการบันทึก หัวหน้างานควรมีการมอบหมายงานให้พยาบาลวิชาชีพทบทวนการบันทึกทางการพยาบาลแบบชี้เฉพาะอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการพยาบาล
References
กองการพยาบาล. การควบคุมคุณภาพการพยาบาล. เล่ม 5. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2539.
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล สภาการพยาบาล กรมบัญชีกลาง สำนักงานประกันสังคมและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือการตรวจประเมินคุณภาพการบันทึกเวชระเบียน. นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง จำกัด; 2563.
Kemmis S, Mc Taggert R. The action research planner (3rd ed.) Victoria, Australia: Deakin university Press; 1988.
ยุวดี เกตสัมพันธ์. Focus charting. เอกสารประกอบโครงการฝึกอบรมพยาบาลเพื่อการบริหารหอผู้ป่วย. รุ่นที่ 12 วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565; 2565.
พจนีย์ ธีระกุล. ผลของการใช้แบบบันทึกทางการพยาบาลแบบ Focus charting ต่อคุณภาพการพยาบาลตามการ รับรู้ของผู้ป่วย และความพึงพอใจในการใช้แบบบันทึกทางการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2558.
วราภรณ์ ภัทรมงคลเขตต์, พร บุญมี. การพัฒนาการบันทึกทางการพยาบาลแบบชี้เฉพาะ แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลแม่จัน จังหวัดเชียงราย. วารสารวิจัยการพยาบาลและสุขภาพ. 2560;18:123-36.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-06-17 (2)
- 2024-06-17 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง