รูปแบบการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในอำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • พิทยาภรณ์ ซิมเมอร์มันน์ โรงพยาบาลศรีสมเด็จ

คำสำคัญ:

รูปแบบ, ยาปฏิชีวนะ, การใช้ยาอย่างสมเหตุผล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถานการณ์ การพัฒนารูปแบบและศึกษาผลลัพธ์ของการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของอำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)

วัสดุและวิธีการวิจัย : การวิจัยครั้งนี้แบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะที่ 1 การศึกษาสถานการณ์และความจำเป็นในการพัฒนา ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล และระยะที่ 3 การติดตามประเมินผลลัพธ์รูปแบบการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบเก็บข้อมูลที่พัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบผลลัพธ์ก่อนและหลังพัฒนาด้วย Percentage difference และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัย : รูปแบบการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของอำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด ประกอบด้วย 4 มาตรการ ได้แก่ 1) มาตรการระดับโรงพยาบาลและระดับ รพ.สต. 2) มาตรการระดับผู้ประกอบการด้านสุขภาพ 3) มาตรการระดับเครือข่าย แกนนำ และ 4) มาตรการในระดับชุมชน ด้วยการมีกิจกรรมในการพัฒนาความรู้และความรอบรู้ในทุกระดับ การใช้เครื่องมือเพื่อช่วยในการสั่งใช้ยาที่สมเหตุผล การส่งเสริมด้านจริยธรรมให้กับบุคลากรทางการแพทย์ การดูแลด้านยาเพื่อความปลอดภัยของประชาชน และการเฝ้าระวัง ติดตาม กำกับ ประเมินผลอย่างต่อเนื่อง ผลลัพธ์ของการพัฒนารูปแบบส่งผลให้มีการสั่งใช้ยาในโรค URI, โรค AD และโรค CW ที่เหมาะสมเพิ่มมากขึ้น (29.20%, 6.19% และ 2.76% ตามลำดับ) อัตราการใช้ยาปฏิชีวนะใน 3 กลุ่มโรค ได้แก่ โรค URI, โรค AD และโรค CW ที่ลดลง ( 21.70%, 22.82% และ1.98% ตามลำดับ)

สรุปและข้อเสนอแนะ : การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล จะต้องมีการพัฒนาให้ครอบคลุมทุกระดับตั้งแต่ระดับโรงพยาบาลถึงระดับชุมชน การพัฒนาทุกภาคส่วนจะทำให้เกิดการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ส่งผลทางตรงให้มีการใช้ยาที่เหมาะสมมากขึ้น และส่งผลทางอ้อม คือ ค่าใช้จ่ายด้านยาที่ลดลง และช่วยลดภาวะดื้อยาตามมา

References

สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ. สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 12 การขับเคลื่อนการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชนอย่างเป็นระบบ [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 22 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaidrugwatch.org/download/series/series45.pdf.

นพคุณ ธรรมธัชอารี, นุชรินธ์ โตมาชา, ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย. การขับเคลื่อนนโยบายการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในประเทศไทย (Advocacy on Rational drug use policy in Thailand). วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2565;16(3):1-8.

กมลรัตน์ นุ่นคง. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชนเพื่อความปลอดภัยจากการใช้ยาของประชาชน ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. [วิทยานิพนธ์]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2565.

อนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล. คู่มือการดำเนินงานโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Rational drug use hospital manual) [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 22 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.mrd-hss.moph.go.th/mrd1_hss/wp-content/uploads/2019/04/RDU-hospital-manual.pdf.

Kemmis S, McTaggart R. The action research planner. 3rd ef. Victoria : Deakin University press; 1988.

Guillermo V. Sanchez. Effects of Knowledge, Attitudes, and Practices of PrimaryCare Providers on Antibiotic Selection, Unites States. Emerging Infectious Diseases. 2014;20(12):1667-74.

กิตติ วงศ์ไพรินทร์. การพัฒนารูปแบบการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในบาดแผลสดจากอุบัติเหตุ : กรณีศึกษาโรงพยาบาลอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารแพทย์เขต 4-5. 2566;42(2):263-76.

สาวิตรี เหล่าไพบูลย์กุล, จิระวดี กลับนวล, ณิชารีย์ สุวรรณพงศ์, ศิริภรณ์ เดชาพงษ์, วรรณวิภา แก้วมณี, ธนวัฒน์ คงยศ. ความเหมาะสมและรูปแบบของการได้รับยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยโรคคอหอยอักเสบเฉียบพลัน ณ โรงพยาบาลระดับทุติยภูมิแห่งหนึ่ง. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2561;11(4):754-63.

ดุสิตา ตู้ประกาย. การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสมสำหรับโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันในผู้ป่วยนอกศูนย์สุขภาพชุมชนในเมือง. พุทธชินราชเวชสาร. 2562;36(3):274-81.

ชุติมาภรณ์ ไชยสงค์, พิริยา ติยาภักดิ์, อนัตตเดช วงศรียา, สุรศักดิ์ ไชยสงค์. ประเภทของบาดแผลและรูปแบบการใช้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยอุบัติเหตุของโรงพยาบาลมหาสารคาม. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2562;13(1):116-24.

พันธ์ทิพย์ คงศรี, รัชนี แท้วิรุฬห์, สุวิมล ชูแก้ว, บุบผา รักษานาม. สถานการณ์การติดเชื้อ แนวโน้มของยาต้านจุลชีพที่ไวต่อเชื้อ และแนวทางในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยาสำหรับบุคลากรทางการพยาบาล โรงพยาบาลสิเกา จังหวัดตรัง. วารสารศาสตร์สุขภาพและการศึกษา. 2566;3(2):62-78.

อัจฉรา ไชยธรรม, หทัยกาญจน์ เชาวนพูนผล. การพัฒนาระบบการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อการใช้ยาอย่างสมเหตุผล : กรณีศึกษาโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจและบาดแผลสดจากอุบัติเหตุของโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งในภาคเหนือตอนบน. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2562;13(1):74-87.

นพคุณ ธรรมธัชอาร, นุชรินธ์ ศุภสิทธิ์, พรรณารุโณทัย โตมาชา. การขับเคลื่อนนโยบายการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในประเทศไทย. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2565;16(3):281-8.

ชนม์ชนกต์ ยงกุลวณิชนันท์. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลสำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา. 2566;3(3):91-106.

ทีม PTC โรงพยาบาลบางไทย. การศึกษาผลการลดลงของการใช้ยาปฏิชีวนะเกินความจำเป็นในกลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ (URI) และโรคกลุ่มอุจจาระร่วง (AGE) โดยวิธีการรายงานอัตราการใช้ยาปฏิชีวนะทุกเดือนในวันประชม. [อินเทอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 20 มีนาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก https://ayo.moph.go.th/main/file_upload/subforms/2016_80169fe192959e1ed1a6760a3d0611a/ลำดับที่%204%20การศึกษาผลการลดลงของการใช้ยาฯ_201601281148.pdf.

จักรพันธุ์ ศิริบริรักษ์, จุฑามาศ สุวรรณเลิศ, ผกาพรรณ ดินชูไท, ฉวีรัตน์ ชื่นชมกุล. ผลของกลวิธีเพื่อลดพฤติกรรมการสั่งยาปฏิชีวนะของแพทย์ในแผนกผู้ป่วยนอกและแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาล. บูรพาเวชสาร. 2564;8(2):26-41.

ธีรนุช พรหมจันทร์. ผลของมาตรการควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะตามแนวคิด Behavioral Economics : กรณีศึกษาในโรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่งในจังหวัดปัตตานี [อินเทอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 20 เมษายน 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2016/17993/1/5910721003.pdf.

สัญชัย ปลื้มสุด, ยอดพร โพธิดอกไม้, ทวีวุฒิ ประธานราษฎร์, บัณฑิต พิทักษ์. ประสิทธิผลของการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในโรงพยาบาลชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2565;31(1):127-34.

ศศิพงค์ ทิพย์รัชดาพร, สมคิด เจนกลาง. ผลลัพธ์ของการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในสถานบริการของรัฐ ในอำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร. วารสารเภสัชกรรมไทย 2561;10(2):316-23.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-23 — Updated on 2024-05-23

Versions