ผลของการใช้รูปแบบการพยาบาลทางไกลกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2
คำสำคัญ:
การพยาบาลทางไกล, การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด, เบาหวานชนิดที่ 2บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการพยาบาลทางไกลกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) ชนิด 2 กลุ่มวัดก่อน-หลัง (Two groups pre-post test design)
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ส่งต่อไปรับการดูแลต่อเนื่องที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 3 แห่งในอำเภอปทุมรัตต์ คัดเลือกโดยวิธีจำเพาะเจาะจง จำนวน 64 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 32 ราย และกลุ่มทดลอง 32 ราย เก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2566 ถึง กุมภาพันธ์ 2567 เก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน 3) แบบบันทึกค่า HbA1C จากเวชระเบียน และ 4) รูปแบบการพยาบาลทางไกล หาค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถามโดยสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาร์ค ได้ .80 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Independent t -test
ผลการการวิจัย : ภายหลังการใช้รูปแบบการพยาบาลทางไกลในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย HbA1C ของกลุ่มทดลอง 6.95(SD.±0.79) mg% พบว่าลดลงแตกต่างจากกลุ่มควบคุม 7.30(SD.±1.51) mg% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05) ส่วนในกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติไม่พบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย HbA1C
สรุปและข้อเสนอแนะ : รูปแบบการพยาบาลทางไกล สามารถนำไปเป็นแนวทางในการส่งเสริมให้ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ที่อยู่ในชุมขน ให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมส่งผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เป้าหมายได้ ซึ่งควรมีการติดตามผลในระยะยาว รวมถึงควรมีการประเมินผลในมิติอื่นๆ เช่นการวัดความพึงพอใจ ต้นทุนบริการและสมรรถนะของพยาบาลในการให้บริการทางไกล เพื่อพัฒนาระบบบริการพยาบาลให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นในอนาคต
References
World Health Organization. Diabetes [Internet]. 2023 [cited 2024 Jan 20]. Available from: https://www.who.int/health-topics/diabetes#tab=tab_1
วิชัย เอกพลากร, หทัยชนก พรรคเจริญ, วราภรณ์ เสถียรนพเก้า. การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2564.
ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2566. กรุงเทพฯ: บริษัทศรีเมืองการพิมพ์ จำกัด; 2566.
Ministry of Public Health. Health data center [Internet]. 2023 [cited 2024 Jan 20]. Available from: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11.
โรงพยาบาลปทุมรัตต์. รายงานผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เครือข่ายสุขภาพอำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด. ร้อยเอ็ด: โรงพยาบาลปทุมรัตต์; 2566.
รัฐศาสตร์ สุดหนองบัว. การเปรียบเทียบประสิทธิผลของการตรวจผ่านระบบการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) และการตรวจแบบดั้งเดิมในผู้ป่วยเบาหวานเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2567;13(2):200-10.
ธัญญาลักษณ์ แซ่ตั้ง. ประสิทธิผลในการควบคุมระดับน้ำตาลโดยการใช้ระบบการติดตามแบบทางไกลและการให้ข้อมูลย้อนกลับอย่างเป็นระบบในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รักษาด้วยอินซูลินและควบคุมระดับน้ำตาลไม่ถึงเป้าหมาย [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2565.
Nursing Council. Announcement of the nursing and midwifery council regarding guidelines for tele-nursing. (Tele-nursing). Royal Gazette. 2565;138(33):49-51.
Yang S, Jiang Q, Li H. The role of telenursing in the management of diabetes: A systematic review and meta-analysis. Public Health Nursing. 2019;36:575-86.
Shahsavari A, Bavarsad M B. Is Telenursing an Effective Method to Control BMI and HbA1c in Illiterate Patients Aged 50 Years and Older With Type 2 Diabetes? A Randomized Controlled Clinical Trial. Journal Caring Sciences. 2020;9(2):73-9.
สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์: พัฒนารูปแบบการให้บริการวิถีใหม่สำหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (เบาหวานและความดันโลหิตสูง). บริษัท สินทวีการพิมพ์ จำกัด; 2565.
จิตราวดี สอนวงศา. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้โดยกระบวนการมีส่วนร่วม. วารสารการพยาบาล สุขภาพและการศึกษา. 2563;3:46-55.
Kanfer F H, Gaelick-Buys L. Self-management methods. In: Kanfer F H, Goldstein A P (Eds.), Helping people change: A textbook of methods. Pergamon Press; 1991.
จิตรา จันทร์เกตุ. ผลลัพธ์ของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการปรับตัวด้านโภชนาการต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดราชบุรี [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยครีิสเตียน; 2558.
กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการจัดระบบบริการพยาบาลทางไกลในผู้สูงอายุที่บ้านด้วยการจัดการสุขภาพตนเอง. นนทบุรี; 2567.
กรวิชญ์ ศรีประเสริฐ, ศิวพร อึ้งวัฒนา, เดชา ทำดี. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองผ่านการพยาบาลทางไกลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่มีภาวะป่วยเบาหวานควบคุมไม่ได้ในชุมชน. พยาบาลสารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2566;50(3):99-115.
Mamaghani H A, Tabrizi F J, Seyedrasooli A, Sarbakhsh P, Gargari R B, Zamanzadeh V, et al. Effect of Empowerment Program with and without Telenursing on Self Efficacy and Glycosylated Hemoglobin Index of Patients with Type-2 Diabetes: A Randomized Clinical Trial. Journal of Caring Sciences. 2021;10:22-8.
เบญจมาศ ถาดแสง, ปิยะพันธุ์ นันตา, นภาพร วงศ์วิวัฒนนุกิจ, เพลินจิต คำเสน, สุทธิลักษณ์ จันทะวัง. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลทางไกลสำหรับผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา. 2567;32:76-86.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง