การประเมินประสิทธิผลของนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของผู้สูงอายุในโรงเรียน/ชมรมผู้สูงอายุในจังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
นวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ, แผนการดูแลสุขภาพรายบุคคล, โรงเรียน/ชมรมผู้สูงอายุบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินประสิทธิผลของการใช้นวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในโรงเรียน/ชมรมผู้สูงอายุในจังหวัดร้อยเอ็ด
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยชุมชนมีส่วนร่วม (Participatory Action Research)
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ 6 แห่ง จำนวน 184 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 134 คน (ร้อยละ 72.8) อายุเฉลี่ย 69.18 ± 6.40 ปี (60-87 ปี) โดยนำนวัตกรรมฯ ได้แก่ หลักสูตร ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวแซบ ไปใช้อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้งๆละ 3 ชั่วโมง และแผนการดูแลสุขภาพรายบุคคล (Wellness Plan) ไปใช้เป็นระยะเวลา 6 เดือน ในช่วงเดือนมีนาคม 2564 - เดือนมกราคม 2565 ประเมินประสิทธิผลของนวัตกรรมฯ โดยเปรียบเทียบภาวะสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ก่อน - หลัง ด้วยสถิติ Paired t-test และ McNemar’s Chi-square
ผลการวิจัย : ภายหลังการใช้นวัตกรรม พบว่า น้ำหนัก รอบเอว การพลัดตกหกล้ม ความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม ระยะเวลาในการทำ TUGT และภาวะเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า (2Q+) ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>.05) ค่าเฉลี่ยความดันโลหิต ปัญหาปวดหัวเข่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าเฉลี่ยคะแนนสภาพสมอง (AMT) เพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.021) ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยพฤติกรรมการแปรงฟันก่อนนอนทุกวัน และการนอนหลับได้ 7 - 8 ชั่วโมงต่อคืนเป็นประจำเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.038, .013)
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้ผู้สูงอายุเกิดความรอบรู้ด้านสุขภาพสามารถดูแลตนเองได้ เน้นการแก้ไขความเสี่ยงด้านสุขภาพเฉพาะ รายบุคคล และการมีส่วนร่วมของชุมชน ดังนั้น ควรขยายผลไปใช้ในโรงเรียน/ชมรมอื่นๆ หรือกลุ่มผู้สูงอายุที่ไม่ได้มาโรงเรียนผู้สูงอายุ ให้มีความแตกฉานด้านสุขภาพต่อไป
References
กลุ่มอนามัยผู้สูงอายุ สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการสำรวจสุขภาวะผู้สูงอายุไทย ปี 2556 ภายใต้แผนงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ. กรุงเทพฯ: วัชรินทร์ พี.พี.; 2556.
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ กรมอนามัย; 2562.
สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการสำรวจสุขภาวะผู้สูงอายุไทย ปี2563. กรุงเทพฯ: วัชรินทร์ พี.พี.; 2563.
กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. คู่มือโรงเรียนผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: กองส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ; 2562.
ฐิติชญา ฉลาดล้น, สุทธีพร มูลศาสตร์, วรรณรัตน์ ลาวัง. การพัฒนารูปแบบกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุคลังปัญญา อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. วารสารพยาบาลพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2560;27(2):154-67.
น้ำทิพย์ ยิ้มแย้ม, ยุวดี รอดจากภัย. ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ดูแลในการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตำบลแก่งดินสอ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีณบุรี. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 2560;24(2):45-58.
สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย. คู่มือมาตรฐานบริการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. กรุงเทพฯ: สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2561.
สุวิมล แสงเรือง และคณะ. ผลของการใช้หลักสูตรไม่ล้ม ไม่ล้ม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย ร่วมกับแผนการดูแลสุขภาพรายบุคคล (Wellness Plan) แบบมีส่วนร่วมในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง 9 ด้าน. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 2566;8(4):233-43.
ปัทมา ผาติภัทรกุล, ผุสดี ก่อเจดีย์, พเยาว์ พงษ์ศักดิ์ชาติ, ศิริธร ยิ่งเรงเริง, ชุติมา บูรพา, ประภาส
จักรพล. ประสิทธิผลโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัดสระบุรี. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2561;12(ฉบับพิเศษ):52-60.
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-05-07 (3)
- 2024-05-07 (2)
- 2024-05-07 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง