This is an outdated version published on 2024-04-24. Read the most recent version.

ผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อผลลัพธ์ด้านความรู้ พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และความดันโลหิตของกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • วัชระ เสงี่ยมศักดิ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกย่าง

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของครอบครัว, ความรู้, พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ, กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อผลลัพธ์ด้านความรู้ พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและความดันโลหิตของกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกย่าง จังหวัดบุรีรัมย์

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental study)

วัสดุและวิธีการวิจัย: ตัวอย่างเป็นกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงที่ในเขตของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกย่าง จำนวน 86 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มๆ ละ 43 คน กลุ่มทดลองใช้โปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัว 7 กิจกรรม ระยะเวลาดำเนินการ 12 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบทดสอบและแบบบันทึกการตรวจร่างกาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบผลต่างคะแนนเฉลี่ยของตัวแปรผลลัพธ์ด้านความรู้ พฤติกรรมสุขภาพและความดันโลหิตหลังการทดลองระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ Independent t-test ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% Confidence interval

ผลการวิจัย: หลังการทดลอง 12 สัปดาห์ พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคดันโลหิตสูงมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (p<.001) โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคดันโลหิตสูงมากกว่า  6.69 คะแนน (95%CI; 5.41, 7.97) กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมสุขภาพมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ(p<.001) โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมสุขภาพมากกว่า 0.84 คะแนน (95%CI; 0.69, 0.99); หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ย Systolic blood pressure น้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (p<.001) โดยมีค่าเฉลี่ย Systolic blood pressure น้อยกว่า 18.27 มิลลิเมตรปรอท (95%CI; 12.15, 24.40) และหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ย Diastolic blood pressure น้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (p<.001) โดยมีค่าเฉลี่ย Systolic blood pressure น้อยกว่า 23.07 มิลลิเมตรปรอท (95%CI; 19.04, 27.09) 

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าโปรแกรมฯ ส่งผลให้ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและพฤติกรรมสุขภาพเพิ่มขึ้น ส่วน Systolic blood pressure และ Diastolic blood pressure ลดลง

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ.2562. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2563.

ภัทระ แสนไชยสุริยา, บังอร เทพเทียน, ปาริชาติ จันทร์จรัส,ภูษิต ประคองสาย, กุมารี พัชนี, ปิยฉัตร ตระกูลวงษ์. รายงานผลการศึกษาโครงการทบทวนสถานการณ์และผลการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในประเทศไทย พ.ศ. 2560–2562. กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค; 2563.

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย (Thai Hypertension Society). แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2562 (2019 Thai Guidelines on The Treatment of Hypertension). เชียงใหม่: ทริคธิงค์; 2562.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกย่าง. รายงานผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรรัมย์; 2564.

ปาณิสรา ส่งวัฒนายุทธ, กมลพรรณ วัฒนากร, ขวัญตา กลิ่นหอม, พัชรนันท์ รัตนภาค. ผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัวและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและความดันโลหิตของกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง. Veridian E-Journal, Science and Technology Silpakorn University

สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2559;(3)3:1-14.

ฉัตรลดา ดีพร้อม, นิวัฒน์ วงศ์ใหญ่. ผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตำบลชุมพร อำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด. J Sci Technol MSU. 2562;(38)4:451-61.

Soltani S, Shirani F, Chitsazi M J, SalehiAbargouei A. The effect of dietary approaches to stop hypertension (DASH) diet on weight and body composition in adults: a systematic review and meta-analysis of randomized controlled clinical trials. Obesity reviews. 2016;29(4):442-54.

พัชรวิลัย ลอมแปลง, นงนุช โอบะ, ชมนาด วรรณพรศิริ. ปัจจัยทำนายความดันโลหิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุอายุต่ำกว่า 40 ปี ที่อาศัยในจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ. 2554;5(2):12-22.

Saneei P, Salehi-Abargouei A, Esmaillzadeh A, Azadbakht L. Influence of dietary approaches to stop hypertension (DASH) diet on blood pressure: A systematic review and meta-Analysis on randomized controlled trials. Nutrition, Metabolism & Cardiovascular Diseases. 2014;24(12):1253-61.

Wright L M, Leabey M. Nursing and families: A guide to family assessment And intervention. Philadelphia: F. A. Davis; 2009.

นงเยาว์ ใบยา. ปัจจัยผู้ป่วยและปัจจัยครอบครัวที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง [วิทยานิพนธ์]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2554.

Wexler R, Elton T, Pleister A, Feldman D. Barriers to blood control as reported By African American patients Journal of National Medical Association. 2009;101(6):597-603.

เพ็ญศรี สุพิมล. ผลของโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของกลุ่มเสี่ยงอายุ 35-59 ปี อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร [วิทยานิพนธ์]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2552.

ไชยา จักรสิงห์โต. ประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มผู้ที่มีภาวะเสี่ยงสูงต่อการป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคอ้วน [วิทยานิพนธ์]. ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฎราชครินทร์; 2560.

ภัทรา แสนธรรมมา. ผลการเสริมสร้างพลังอำนาจของครอบครัวต่อการมีพลังอำนาจในการดูแลผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงไม่ทราบสาเหตุ [วิทยานิพนธ์]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2552.

Joint National Committee. 2003. The seventh report of the joint nation committee on prevention, detection, evaluation and treatment of high blood pressure: The JNC7 report. Journal of the American Medical Association. 2560;30(2);25-72.

วิริยา สุขวงศ์, ธนพร วรรณกูล, ชลิดา โสภิตภักดีพงษ์. ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการดูแลตนเองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง. มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา; 2554.

เนติยา แจ่มทิม, สินีพร ยืนยง, ปุรินทร์ ศรีศศลักษณ์. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของประชากรที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง ตำบลโดกคราม อำเภอบางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครราชสีมา. 2559;22(1):65-76.

วงค์ชญพจณ์ พรหมศิลา, สุภาพร แนวบุตร, ประทุมา ฤทธิ์โพธิ์. ผลของโปรแกรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงต่อพฤติกรรมการปฏิบัติตนและค่าเฉลี่ยความดันโลหิตของบุคคลกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง. พยาบาลสาร. 2562;46(2):96-107.

ลลิตา บุญงาม, ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ, สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ. ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบขี่กงต่อระดับความดันโลหิตของสตรีกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2560;25(1):82-94.

เกสราวรรณ ประดับพจน์, ศิริลักษณ์ แก่นอินทร์. ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3 self ต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต และเส้นรอบเอวของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 2564;8(5):148-61.

Lee M S, Lee M S, Choi E S, Chung H T. Effects of Qigong on blood pressure, blood pressure determinants and ventilatory function in middle-aged patients with essential hypertension. American Journal of Chinese Medicine, 2003;31(3):489-97.

Belardinelli R. Exercise training in heart failure patients. In K. Wasserman (Ed.), Cardiopulmonary exercise test and cardiovascular health. New York: Fututar; 2002.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-24

Versions