ผลการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลต่อความรู้และการติดเชื้อแผลฝีเย็บของมารดาหลังคลอด โรงพยาบาลกุมภวาปี
คำสำคัญ:
แนวปฏิบัติทางการพยาบาล, การติดเชื้อแผลฝีเย็บ, มารดาหลังคลอดบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถานการณ์ พัฒนา และประเมินผลลัพธ์การใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อแผลฝีเย็บของผู้ป่วยมารดาหลังคลอด
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research)
วัสดุและวิธีการวิจัย : ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นผู้ป่วยมารดาหลังคลอด ในระยะศึกษาสถานการณ์ 5 คน และระยะประเมินผลลัพธ์ 50 คน และผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้อง 10 คน ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคมถึง เดือนธันวาคม 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบ แบบสอบถาม แนวคำถามสำหรับการสัมภาษณ์ และแบบบันทึก และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยและ ค่าเฉลี่ย ส่านเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Percentage differences
ผลการวิจัย : การติดเชื้อแผลฝีเย็บของมารดาหลังคลอดมีแนวโน้มเพิ่ม สาเหตุเกิดจากการขาดความรู้ความเข้าใจและทักษะการดูแลฝีเย็บหลังคลอด โดยเฉพาะมารดาครรภ์แรก ส่วนผู้ให้บริการพบว่า ยังขาดแนวทางปฏิบัติที่ชัดและเป็นระบบ แนวปฏิบัติทางการพยาบาลประกอบด้วย 2 ประเด็น คือ ประเด็นแรกเป็นการดูแลฝีเย็บปกติ (Peri care) และประเด็นที่ 2 การออกกำลังกายและการดูและสุขวิทยาส่วนบุคคล (Exercise & Hygiene) และหลังการพัฒนาพบว่า ลักษณะแผลฝีเย็บหลังคลอดส่วนใหญ่มีอาการปกติ จำนวน 42 คน (84.0%) และผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลแผลฝีเย็บหลังคลอดโดยรวม เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 32.26
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลการติดเชื้อแผลฝีเย็บของมารดาหลังคลอดเพิ่มขึ้นและอัตราการติดเชื้อลดลง
References
Braveman P. Health disparities and health equity: concepts and measurement. Annu Rev Public Health. 2006;27:167-94.
Christianson L M, Bovbjerg V E, McDavitt E C, Hullfish K L. Risk factors for perineal injury during delivery. Am J Obstet Gynecol. 2003;189:255-60.
โรงพยาบาลกุมภวาปี. Service Profile หน่วยงาน : สูติ-นรีเวชกรรม. อุดรธานี: กลุ่มการพยาบาล; 2565.
นุชนารถ เขียนนุกูล, สินจัย เขื่อนเพชร, วรรณวรา ตัณฑ์กุลรัตน์, พรนภา เอี่ยมลออ. ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดแผลผีเย็บอักเสบในผู้คลอด โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี. วารสารกรมการแพทย์. 2562;44(4):144-51.
พรศรี ดิสรเตติวัฒน์, นิตยา โรจนนิวันดร์กิจ. ผลของการใช้เบาะโฟมรองนั่ง และห่วงผ้าห่มรองนั่งต่อความปวดแผลฝีเย็บ และความพึงพอใจของสตรีหลังคลอด ในโรงพยาบาลรามาธิบดี. วารสารพยาบาล. 2561;67(2):1-7.
Hartmann K, Viswanathan M, Palmieri R, Gartlehner G, Thorp J, Lohr K N. Outcome of routine episiotomy: a systematic review. JAMA. 2005;293:2141-8.
พิชัย โชตินพรัตน์ภัทร. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของภาวะโลหิตจางในสตีตั้งครรภ์. จดหมายเหตุทางแพทย์ แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชปถัมภ์. 2546;8(11):1001-7.
Fernando R J. Risk factor and management of obstetric perineal injury. Obstetrics, Gynecology & Reproductive Medicine. 2007;17(8):238-43.
ศุภวดี แถวเพีย. การพยาบาลมารดาหลังคลอด : แบบแผ่นสุขภาพ. ขอนแก่น: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น; 2564.
Steen M. Perineal tears and episiotomy: How do wounds heal?. British Journal of Midwifery. 2007;15(5):273-9.
Davidson N. REEDA: Evaluating postpartum healing. Journal Nurse-Midwifery. 1974;19(2):6-9.
ลาวัลย์ สมบูรณ์. เปรียบเทียบผลของการชำระแผลฝีเย็บด้วยน้ำยาเซฟลอนร่วมกับเซฟีโรลกับการใช้สบู่. เชียงใหม่: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2535.
ฟองคำ ติลกสกุลชัย. การปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์หลักการและวิธีปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: พรีวัน; 2549.
Darulis N O, Kundaryanti R, Novelia S. The effect of betel leaf water decoction on perineal wound healing among post partum women. Nurs Health Sci J. 2021;1(2):130-5 .
Umamy F, Harahap I A, Christiani M. Effect of pineaple juice on perineal wound healing in postpartum mothers at anugrah clinic. Sci Midwifery. 2021;10(1):461-6.
Dewi P S, Hani U, Anwar M. The effectiveness of Aloe vera gel in reducing the pain of perineal wound. Medisains. 2020;18(3):99.
Mohammadi A. Mirghatiourvand M. Myhamaen-AVaceancaar C. Efasti Mohammad-Alizadeh-Charandabi Daryani F. Effects of cinnamon on perineal pain and healing of episiotomy: A randomized placebo-controlled trial. J Integr Med. 2014;12(4):359-66.
Girsang B M, Elfira E. How a cold sitz bath versus infrared therapy can remove the pain of postpartum perineal wounds. J Keperawatan Soedirman. 2021;16(1):1-5.
Cahill C, Fowler A, Williams L J. The application of incisional negative pressure wound therapy for perineal wounds: A systematic review. Int Wound J. 2018;15(5):740-8.
Ruchala P L. Teaching New Mothers : Priorities of Nurses and Postpartum Women. Journal of Obstetric, Gynecology, & Neonatal Nursing. 2000;30(6):265-73.
บุบผา แก้ววิเชียร. เปรียบเทียบผลการอบไฟและไม่อบไฟแผลฝีเย็บต่อการหายของแผลฝีเย็บในมารดาหลังคลอด. เชียงใหม่: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2542.
ศิริฉัตร รองศักดิ์. รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาอัตราการติดเชื้อหลังจำหน่ายที่แผลฝีเย็บของมารดาหลังคลอดในโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลนพรัดนราชธานี; 2548.
Lowenstein L, Drugan A, Gonen R, Itskovitz-Eldor J, Bardicef M, Jakobi P. Episiotomy: beliefs, practice and the impact of educational intervention. Eur J Obstet Gynecol Reprod Biol. 2005;123(2):179-82.
Graham I D, Carroli G, Davies C, Medves J M. Episiotomy rates around the world: an update. Birth. 2005;32(3):219-23.
เนาวรัตน์ แกว่นกสิการณ์, ฉวี เบาทรวง, สุกัญญา ปริสัญญกุล. ผลของการนวดผีเย็บต่อการบาดเจ็บของฝีเย็บในการคลอดปกติ. วารสารพยาบาลสาร. 2553;37(1):96-107.
Beckmann M M, Stock O M. Antenatal perineal massage for reducing perineal trauma. Cochrane Database Syst Rev. 2013;30(4):CD005123.
รัตนาพร ศรีริรมย์, อรทัย บัวคำ. การพัฒนารูปแบบการดูแลมารดาหลังคลอดที่มีแผลฝีเย็บเพื่อลดอัตราการเกิดแผลฝีเย็บแยกและแผลฝีเย็บติดเชื้อโดยการจัดการรายกรณี. อำนาจเจริญ: โรงพยาบาลชานุมาน; 2560.
ศิริโสภา คำเครือ, ทัศนีย์ ศรีสุวรรณ, รุณราวรรณ์ แก้วบุญเรือง. การพัฒนาแนวปฏิบัติการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรกในห้องคลอด โรงพยาบาลลำพูน. วารสารการส่งเสริมสุขภาพ และอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา. 2561;8(1):46-57.
จตุพร วงศ์วัฒนากานต์, ประยูร พรหมทัต. การพัฒนาแนวปฏิบัติการป้องกันการตกเลือดหลังคลอดระยะแรกในห้องคลอด สถาบันบำราศนราดูร. นนทบุรี: กลุ่มการพยาบาล สถาบันบำราศนราดูร; 2565.
กมลวรรณ ลีนะรรรม, แคทรียา จิรนรวัฒน์, ธนิษฐา อามาตย์, สุทธิตา ผาสุก. เพิ่มประสิทธิภาพการดูแลแผลผีเย็นในมารดาหลังคลอด. กรุงเทพฯ: งานการพยาบาลสูติศาสตร์นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล; 2564.
รสพร คำโท. การพัฒนาปรับแนวทางปฏิบัติใช้เพื่อป้องกันแผลฝีเย็บติดเชื้อในมารดาหลังคลอดโรงพยาบาลปรางค์. ศรีสะเกษ: โรงพยาบาลปรางค์กู่; 2566.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-04-07 (2)
- 2024-04-07 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง