ผลของการใช้โปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่บ้าน ต่อการแสดงออกทางอารมณ์ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • บังเอิญ ทองสมนึก โรงพยาบาลบ้านลาด

คำสำคัญ:

โรคจิตเภท, ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท, โปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเอง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการแสดงออกทางอารมณ์ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทระหว่างก่อน     และหลังการได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่บ้าน 

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อน-หลัง

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างคือผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่บ้าน จำนวน 20 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามตามแนวคำถามสำหรับการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และวิเคราะห์ Paired-samples t-test กำหนดความ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ผลการวิจัย : ผลการเปรียบเทียบการแสดงออกทางอารมณ์ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่บ้านระหว่างก่อนและหลังการหลังการทดลอง พบว่าหลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยการแสดงออกทางอารมณ์   ในภาพรวมมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยการแสดงออกทางอารมณ์มากกว่า 65.30 คะแนน (95%CI; 56.42, 74.18) ดังนั้น ภายหลังการได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่บ้าน กลุ่มตัวอย่างมีการแสดงออกทางอารมณ์อยู่ในระดับเหมาะสมมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001)

สรุปและข้อเสนอแนะ : ควรนำโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทไปใช้ในพื้นที่อื่นๆ โดยส่งเสริมให้ผู้ดูแลผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เสริมสร้างพลังอำนาจให้มีความสามารถในการเผชิญความเครียดแบบมุ่งแก้ปัญหา และมีความมั่นใจในตนเองที่จะแสดงออกทางอารมณ์อย่างเหมาะสมต่อการดูแลผู้ป่วยจิตเภท

References

มาโนช หล่อตระกูล, ปราโมทย์ สุคนิชย์. จิตเวชศาสตร์ รามาธิบดี. ฉบับเรียบเรียงครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558.

ณัฐพร โตภะ. โรคจิตเภทกับจำนวนปีที่สูญเสียไปเนื่องจากความเจ็บป่วยและพิการ [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 20 กันยายน 2566]; เข้าถึงได้จาก: https://www.theprachakorn.com/newsDetail.php?id=668#:~:text

กรมสุขภาพจิต. สถิติผู้ป่วยที่มารับบริการโรงพยาบาลสังกัดกรมสุขภาพจิต. นนทบุรี: ศูนย์สารสนเทศ กองแผนงาน กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2565.

สุนทรีภรณ์ ทองไสย. การดูแลผู้ป่วยจิตเภทในบริบทสังคมไทยอย่างยั่งยืน. วารสารกองการพยาบาล. 2558;42(3):159-67.

อนันต์ตรี สมิทธิ์นราเศรษฐ์. การเผชิญปัญหาและการปรับตัวของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภท. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2560;11(3):43-56.

อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย. การบำบัดครอบครัว: บทบาทของพยาบาลจิตเวช. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2558;29(1):1-13.

Brown G W, Birley J L, Wing J K. Influence of family life on the course of schizophrenic disorders: A replication. The British Journal of Psychiatry. 1972;121(562):241-58.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี. ระบบคลังข้อมูลสุขภาพระดับจังหวัด (HDC) [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 9 สิงหาคม 2566]; เข้าถึงได้จาก: https://pbi.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php

สุทธิรัตน์ อุทัย. การศึกษาการใช้กลุ่มส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการแสดงออกทางอารมณ์ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท โรงพยาบาลห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.

Bandura, Albert. Social learning theory. New Jersey: Prentice-Hall; 1977.

Danielson C B, Hamel-Bissell B, Winstead-Fry P. Family health & illness perspective on coping and intervention. St. Loiuis: Mosby-Yearbook Inc; 1993.

Bloom B S. Human characteristics and school learning. New York: Mc Graw-Hill; 1976.

อัจศรา ประเสริฐสิน. เครื่องมือการวิจัยทางการศึกษาและสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2563.

Best J W. Research in Education. (3 rd ed). New Jersey: Prentice hall Inc; 1986.

บุญชัช เมฆแก้ว. รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาชุดช่วยวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์หาค่าความเชื่อมั่นแบบทดสอบ (KR-20). พังงา: วิทยาลัยชุมชนพังงา; 2562.

Cronbach, Lee J. Educational Psychology. New York: Harcourt Brace Jevanovich; 1977.

Luthans F. Organization Behavior. New Yok: McGraw-Hill; 2007.

ทัตชญา สมประดิษฐ, รัชนีกร เกิดโชค. ปัจจัยทำนายการแสดงออกทางอารมณ์ของผู้ดูแล ในครอบครัวผู้ป่วยจิตเภท. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2558;29(2):89-102.

มัลลิกา จันทร์เพ็ญ, เพ็ญพักตร์ อุทิศ. ผลของโปรแกรมเสริมสร้างทักษะการเผชิญความเครียดต่อความสามารถในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2560;31(3):126-40.

มานิตา ศิริพัฒน์, จินตนา ยูนิพันธุ์. ผลของโปรแกรมการเผชิญความเครียดแบบกลุ่มต่อการแสดงออกทางอารมณ์ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2561;30(3):78-90.

สุดสาคร จำมั่น, นพพร ว่องสิริมาศ, วารีรัตน์ ถาน้อย. ประสิทธิผลของโปรแกรมการจัดการความเครียดต่อสุขภาวะทางจิตใจของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2563;34:62-76.

จิรศักดิ์ ประจงบัว, ดวงใจ วัฒนสินธุ์, ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการแสดงออกทางอารมณ์ด้านลบของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. 2563;31(1):93-103.

ธิชามณฑน์ สวนกระจ่าง. ปัจจัยทำนายความสามารถในการปฏิบัติเพื่อการดูแลของผู้ดูแลผู้ติดสารเสพติดที่มีอาการทางจิตร่วม [วิทยานิพนธ์]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2565.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-28