ผลของโปรแกรมพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต่อความรู้และทัศนคติ เกี่ยวกับระบบบริการการแเพทย์ฉุกเฉินของประชาชนในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมขัง อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • สายสุนีย์ บุตรศรีรักษ์ โรงพยาบาลจังหาร
  • ทิพย์อาภา ภิบาลศิลป์ โรงพยาบาลจังหาร
  • ธเนศ กุมภวา โรงพยาบาลจังหาร

คำสำคัญ:

พัฒนาศักยภาพ, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, ความรู้, ทัศนคติ, ระบบบริการการแเพทย์ฉุกเฉิน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับระบบบริการการแเพทย์ฉุกเฉินของประชาชนในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมขังอำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) แบบกลุ่มเดียว (The one group pretest- posttest design)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) 60 คน และ   ประชาชนที่เป็นตัวแทนครอบครัว 40 คนที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) ดำเนินการระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบที่มีค่ายากง่ายตั้งแต่ 0.43-0.79 ความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (KR-20) เท่ากับ 0.89 และความเชื่อมั่น (Cronbach's Alpha Coefficient) ของแบบสอบถามเท่ากับ 0.87 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ Paired t-test

ผลการวิจัย :  (1) หลังการทดลอง พบว่า อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับระบบบริการการแเพทย์ฉุกเฉินโดยรวมเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนทดลอง (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับระบบบริการการแเพทย์ฉุกเฉินโดยรวมเพิ่มขึ้น 15.04 คะแนน (95% CI: 10.72, 19.34) และคะแนนเฉลี่ยเจตคติต่อระบบบริการการแเพทย์ฉุกเฉินโดยรวมเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนทดลอง  (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยเจตคติตต่อระบบบริการการแเพทย์ฉุกเฉินโดยรวมเพิ่มขึ้น 1.13 คะแนน (95% CI:1.02, 1.23) และ (2) หลังการทดลอง พบว่า ประชาชนมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับระบบบริการการแเพทย์ฉุกเฉินโดยรวมเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนทดลอง (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับระบบบริการการแเพทย์ฉุกเฉินของประชาชนโดยรวมเพิ่มขึ้น 21.15 คะแนน (95% CI: 15.64, 26.65) และ คะแนนเฉลี่ยเจตคติต่อระบบบริการการแเพทย์ฉุกเฉินโดยรวมเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนทดลอง (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยเจตคติต่อระบบบริการการแเพทย์ฉุกเฉินโดยรวมเพิ่มขึ้น 1.11 คะแนน (95% CI: 0.99,1.24)

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการศึกษาครั้งนี้ควรเผยแพร่และสนับสนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำโปรแกรมนี้ไปใช้เป็นแนวทางสำหรับการส่งเสริมสมรรถนะของประชาชนมีความรู้และสามารถนำระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินไปใช้ได้จริงเพื่อดูแลผู้บาดเจ็บที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

References

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 125, ตอนที่ 44 ก (ลงวันที่ 6 มีนาคม 2551); 2551.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. ระบบสารสนเทศการแพทย์ฉุกเฉิน. กลุ่มงานวิจัย สำนักวิจัยและพัฒนาวิชาการ; 2564 .

สุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล, ธีระ ศิริสมุด, พรทิพย์ วชิรดิลก. รายงานฉบับสมบูรณ์การวิจัยและพัฒนาโปรแกรมการเรียนรู้ด้านการแพทย์ฉุกเฉินในโรงเรียน. สำนักวิจัยและพัฒนาวิชาการ; 2565.

American Heart Association. About Cardiac Arrest 2020 [Internet]. 2020 [cited 2021 May21]. Available from: https://bit.ly/2PqcExk.

Soholm H, Hassager C, Lippert F, Winther-Jensen M, Thomsen J H, Friberg H, et al. Factors associated with successful resuscitation after out-of-hospital cardiac arrest And temporal trends in survival and comorbidity. Annals of emergency medicine. 2015;65(5):523-31.e2.

สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย. หนังสือการปฐมพยาบาลฉุกเฉินและการกู้ชีพขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: บริษัท นิวธรรมดาการพิมพ์ จำกัด; 2563.

Daya M R, Schmicker R H, Zive D M, Rea T D, Nichol G, Buick J E, et al. Out-of-hospital cardiac arrest survival improving over time: Results from the Resuscitation Outcomes Consortium (ROC). Resuscitation. 2015;91(1):108-15.

Waelveerakup W. Effects of basic life support training program on knowledge, perceived self-efficacy, and basic life support performance of village health volunteers. Interdisciplinary Research Review. 2019;14(5):25-30.

โรชินี อุปรา, ชยธิตา นนท์เมธาวัฒน์, ทิพย์ ลือชัย, วราภรณ์ บุญยงค์, ปวีณา ยศสุรินทร์, ชลกนก ธนา ภควัตกุล. ผลของการพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขต่อความรู้และทักษะในการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรติตถ์. 2564;13(2):73-86.

Glass G V. Primary, secondary and meta-analysis of research. Educational Researcher. 1976;10(5):3-8.

Polit D F, Hungler B P. Nursing research: Principles and method (6th ed.). United States of America: Lippincott; 1995.

ธนกฤต จินดาภัทร์. โครงการการพัฒนาระบบการดูแลการเจ็บป่วยฉุกเฉินที่ครบวงจรในระดับตำบลชุมชนชาติพันธุ์พื้นที่สูง อำเภอฝางจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: บริษัทสยามพิมพ์นานา จำกัด; 2564.

กฤษฏ์ โพธิ์ศรี. การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครกู้ชีพในการบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ของหน่วยกู้ชีพขั้นฟื้นฐาน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม [วิทยานิพนธ์]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2554.

ฮิชาม อาแว, เนตรนภา คู่พันธวี, จินตนา ดำเกลี้ยง. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะต่อความสามารถในการดูแลผู้บาดเจ็บ ณ จุดเกิดเหตุและในระหว่างการนำส่งของพนักงานฉุกเฉินตนเองการแพทย์. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 2563;40(3):5-25.

บรรจง กาวิละมูล. ผลของโปรแกรมการสร้างเครือข่ายบริการการแพทย์ฉุกเฉินต่อความรู้และทักษะด้านการแพทย์ฉุกเฉินในกลุ่มอาสาฉุกเฉินชุมชนตำบลป่าหุ่ง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. [การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง]. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา; 2561.

จารุณี สุธีร์, สุรซา อมรพันธุ์, นิพนธ์ มานะสถิตพงศ์. การพัฒนาคุณภาพระบบการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุของผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร. 2555;15(3);46-56.

อาทิตนันท์ สมิงนิล. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความรู้ ทัศนคติและทักษะในการปฏิบัติงานให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ในเขตอำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร [วิทยานิพนธ์]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2564.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-18 — Updated on 2024-03-28

Versions