ผลของโปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านโภชนาการต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยที่ควบคุมภาวะความดันโลหิตสูงไม่ได้ในโรงพยาบาลสุวรรณภูมิ
คำสำคัญ:
การส่งเสริมการเรียนรู้ด้านโภชนาการ, พฤติกรรมการบริโภคอาหาร, ผู้ป่วยที่ควบคุมภาวะความดันโลหิตสูงไม่ได้บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคอาหารและระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยที่ควบคุมภาวะความดันโลหิตสูงไม่ได้ในโรงพยาบาลสุวรรณภูมิ
รูปแบบการวิจัย : เป็นการวิจัยชนิดกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research design) แบบกลุ่มเดียววัดหลายครั้งแบบอนุกรมเวลา (One group time series design)
วัสดุและวิธีวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตที่ไม่สามารถควบคุมภาวะความดันโลหิตสูงได้ในคลินิกความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลสุวรรณภูมิ ที่มีลักษณะและคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้า ดำเนินการระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2566 จำนวน 15 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแบบบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired t-test และ One way repeated measures ANOVA โดยการทดสอบรายคู่ด้วยวิธี Bonferroni
ผลการวิจัย : 1) หลังระยะทดลอง พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการบริโภคอาหารมากกว่าระยะควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการบริโภคอาหารมากกว่า 1.72 คะแนน (95%CI: 1.40, 2.03) 2) กลุ่มตัวอย่างมีผลต่างของคะแนนเฉลี่ยของความดันซิสโตลิกหลังระยะควบคุมกับหลังระยะทดลองมีค่าสูงสุดเท่ากับ 14.72 mmHg รองลงมาคือ ก่อนระยะควบคุมกับหลังระยะทดลองเท่ากับ 14.00 mmHg และ 3) กลุ่มตัวอย่างมีผลต่างของคะแนนเฉลี่ยของความดันไดแอสโตลิกก่อนระยะควบคุมกับหลังระยะทดลองเท่ากับ 8.22 mmHg มากที่สุด รองลงมาคือ ก่อนระยะทดลองและระยะหลังระยะทดลองเท่ากับ 6.11 mmHg
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า Intervention ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยมีผลลัพธ์ทางคลินิกดีขึ้น
References
Maki D D, Ma J Z, Louis T A, Kasiske B L. Long-term effects of antihypertensive agents on proteinuria and renal function. Arch Intern Med. 1995;15(2):15-25.
สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์. คู่มือการให้ความรู้เพื่อจัดการกาว:ความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2555.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ; 2559.
โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ. ผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์สาธารณสุข. งานยุทธศาสตร์; 2565.
Kolb D A. Organizational Psychology : A Book of Readings. 4th ed. Englewood Cliffs, NJ : Prentice – Hall; 1984.
สุภณิตา ปุสุรินทร์คำ. การพัฒนารูปแบบการแบ่งปันความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารด้วยวิธีการเรียนแบบร่วมมือเพื่อพัฒนาความเป็นชุมชนนักปฏิบัติของครูในโรงเรียนเข้าร่วมในที่โครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝันของกรุงเทพมหานคร. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2549.
Marram G D. The Group Approach in Nursing Practice. (2nded). St. Louis: C. V. Mosby; 1978.
Polit M, Beck C. Nursing research: Generating assessing evidence for nursing practice (9" Edition). United States of America: Lippincott Williams & Wilkins; 2012.
สไบทิพย์ เชื้อเอี่ยม. ผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารเฉพาะโรคและระดับความดันโลหิตในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2554;19(3):89-98.
เสาวลักษณ์ มูลสาร, เกษร สำเภาทอง. ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามแนวทางของ DASH ร่วมด้วยทฤษฎีการรับรู้ความสามารถแห่งตนและแรงสนับสนุนทางสังคม เพื่อลด ความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง. วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบรูพา. 2559;11(1):89-98.
James P A, Oparil S, Carter B L, Cushman W C, Dennison-Himmelfarb C, Handler J, Ortiz E. Evidence-Based Guideline for the Management of High Blood Pressure in Adults: Report from the Panel Members Appointed to the Eighth Joint National Committee (JNC 8). JAMA. 2014;311:507-20.
สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทยความดันเลือดสูง. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงใน เวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ.2555 ปรับปรุง พ.ศ.2558. กรุงเทพฯ: สมาคมความดันโถหิตสูงแห่งประเทศไทย; 2558.
ทิพย์สุคนธ์ กิจรุ่งโรจน์, พัชรี คมจักรพันธ์, แสงอรุณ อิสระมาลัย. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการเรียนรู้ด้านโภชนาการต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและระดับความดันโลหิตในสมาชิกชมรมผู้สูงอายุที่ควบคุมภาวะความดันโลหิตสูงไม่ได้.วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2561;5(1):179-94.
คณิตตา อินทบุตร. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ ที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้. วารสารวิชาการ สคร. 9. 2563:26(1):73-83.
พิมพ์ลดา เปี่ยมสุขวิลัย. ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านการบริโภคอาหารลดโซเดียมต่อระดับความดันโลหิตในผู้ที่มีความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: จุฬลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2565.
วรวุฒิ ชมพูพาน, ฐากูร เกชิต, วรางคณา ชมพูพาน, เสาวลักษณ์ ศรีดาเกษ, จรียา ยมศรีเคน, อัจฉรา ชนะบุญ. ผลของโปรแกรมการปรับวิถีชีวิตต่อความดันโลหิตในผู้สูงอายุเพศหญิงที่มีภาวะความดันโลหิตสูงในระยะเริ่มต้น. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2564;31(1);45-57.
Pusurinkham S. Participatory learning [Internet]. [cited 2023 April 19]. Available from: http://opalnida.blogspot.com/2008/06/blog-post_13.html
Tynjala P. Traditional Studying for Examination Versus Constructivist Learning Tasks; Do learning Outcome Differ?. Journal Studies in Higher Education. 1988;23:173-89.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง