This is an outdated version published on 2024-06-09. Read the most recent version.

ประสิทธิผลของการปฏิบัติการพยาบาลที่เน้นการจัดการตนเองต่อผลลัพธ์ทางสุขภาพ ของผู้ป่วยโรคปอดอุดกันเรื้อรังในโรงพยาบาลอาจสามารถ

ผู้แต่ง

  • ละมุล วิเศษปัสสา โรงพยาบาลอาจสามารถ

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, การจัดการตนเอง, ผลลัพธ์ทางสุขภาพ, ผู้ป่วยโรคปอดอุดกันเรื้อรัง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยการจัดการตนเองและสมรรถภาพปอดของผู้ป่วยโรคปอดอุดกันเรื้อรังในโรงพยาบาลอาจสามารถ 

รูปแบบการวิจัย : เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research; Two group pretest posttest design)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มารับบริการที่คลินิกโรคปอดโรงพยาบาลอาจสามารถและมีคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้าและคัดออก ดำเนินการระหว่างเดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน 2566 จำนวน 44 คน จำแนกเป็นกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 22 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแบบบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Independent t-test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 95% Confidence Interval

ผลการวิจัย : 1) หลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างในกลุ่มทดลองส่วนใหญ่มีการจัดการตนเองโดยรวมอยู่ในระดับสูงมาก จำนวน 20 คน (90.91%) รองลงมาคือ ระดับสูง จำนวน 2 คน (9.1%) แต่ในกลุ่มควบคุมพบว่า ส่วนใหญ่มีการจัดการตนเองอยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 11 คน (50.0%) รองลงมาคือ ระดับสูง จำนวน 10 คน (45.5%) 2) หลังการทดลองพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการจัดการตนเองโดยรวมมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยการจัดการตนเองมากกว่า 1.98 คะแนน (95%CI; 1.69, 2.27) และ 3) กลุ่มตัวอย่างในกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยสมรรถภาพปอดมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .03) โดยมีค่าเฉลี่ยสมรรถภาพปอดมากกว่า 65.45% (95%CI;6.47, 124.43)  

สรุปและข้อเสนอแนะ : Intervention ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นครั้งนี้ส่งผลให้ผู้ป่วยมีผลลัพธ์ทางสุขภาพเพิ่มขึ้น ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อควรนำไปใช้ในหน่วยงาน

References

WHO. Chronic obstructive pulmonary disease (COPD) [Internet]. 2021. [cited 2021 Dec 14]. Available from: Chronic obstructive pulmonary disease(COPD) (who.int)

สมาคมอุรเวชซ์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง พ.ศ. 2565.กรุงเทพฯ: สมาคม; 2565.

โรงพยาบาลอาจสามารถ. รายงานผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ประจำปี พ.ศ.2556. กลุ่มการพยาบาล; 2565.

วัชรา บุญสวัสดิ์. แนวทางการดูแสรักษาผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง.ขอนแก่น: มหวิทยาลัยขอนแก่น;2553.

ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. อัตราการเกิดการกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (ผู้ป่วยอายุ 40 ปีขึ้นไป). กลุ่มรายงานมาตรฐานข้อมูลเพื่อตอบสนอง Service Plan สาขาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) [Internet]. 2021. [cited 2021 Dec 14]. Available from: HDC- Dashboard (moph.go.th)

Soler-Cataluña J J, Martínez-García M A, Sánchez P R, Salcedo E, Navarro M, Ochando R. Severe acute exacerbations and mortality in patients with chronic obstructive pulmonary disease. Thorax. 2005;60(11):925-31.

Donaldson G C, Seemungal T A R, Bhowmik A, Wedzicha J A. Relationship between exacerbationfrequency and lung function decline in chronic obstructive pulmonary disease. Thorax. 2002;57(10):847-52.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ.2557. [อินเทอร์เน็ต]. 2022 [3 มกราคม 2565]. Available from: การสำวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุรา ปี พ.ศ.2557 สำนักงานสถิติแห่งชาติ (m-society.go.th)

Tashkin D P, Celli B, Senn V, Burkhart D, Kesten S, Menjoge S, et al. A 4-year trial of tiotropium in chronic obstructive pulmonary disease. N Engl J Med. 2008;359(15):1543-54.

Tobin D L, et al. Self- management and Social Learning Theory. In K. A. Holroyd and T.L. Creer. (Eds), self- management of chronic Disease: Handbook of clinical Intervention and Research. New York : Academic Press, Inc; 1986.

Lorig K, Holman H. Self-management education : context, definition, and outcomes and manchanisms. Paper presented at the first Chronic; 2000.

Creer T L. Self-management and the control of chronic pediatric illness. In D. Drotar (Ed), Promoting adherence to medical treatment in chronic childhood illness: Concepts methods and interventions. Hillsdale pp 95-129. NewJercy: Erlbaum; 2000.

ธาดา วินทะไชย. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อสมรรถภาพปอดของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2560.

ธีระพันธ์ โต้หนองแปน. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิชาการทางการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2566;3(1):6-16.

อำไพ หลังปุเต๊ะ, ฟารีดา สูเด็น, ปราโมทย์ ถ่างกระโทก. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลควนโดน จังหวัดสตูล. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2561;33(4):346-50.

อังคณา วงศ์แสนสี, ธีระวุธ ธรรมกุล, สมโภช รติโอฬาร. รูปแบบการดูแลรักษาผู้ป่วยโรดปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเด่นชัย. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2563;6(3):48-61.

วัชระ เกี๋ยนต๊ะ. การพัฒนาโปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัวสำหรับการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง [วิทยานิพนธ์]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยชียงใหม่; 2560.

จิรารัชต์ คำใจ. ประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจในการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดของผู้ที่เป็นโรดปอดอุดกั้นเรื้อรังโรงพยาบาลเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2558.

สุทัศน์ พิภพสุทธิไพบูลย์, มณฑา เก่งการพานิช, ธราดล เก่งการพานิช, เบญจมาศ ช่วยชูม. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองสำหรับการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดในผู้ป่วยโรคปอด. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 2560;47(2):200-11.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-10 — Updated on 2024-06-09

Versions