การพัฒนารูปแบบการบันทึกทางการพยาบาลแบบเฉพาะโรคที่สำคัญ ตึกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน
คำสำคัญ:
บันทึกทางการพยาบาลแบบเฉพาะโรค, โรคที่สำคัญ, โรคหลอดเลือดสมองระยะกลาง, โรคติดเชื้อในกระแสเลือดบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถาณการณ์ พัฒนารูปแบบ และศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการบันทึกทางการพยาบาลเฉพาะโรคที่สำคัญ ตึกผู้ป่วยในโรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยและพัฒนา (Research and development)
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มเป้าหมายเป็นพยาบาลวิชาชีพที่มีอายุงานตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปที่ปฏิบัติงานในตึกผู้ป่วย โรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน และคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้าและคัดออก จำนวน 20 ราย ดำเนินการระหว่างเดือนมีนาคม – เดือนพฤศจิกายน 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกและแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติเชิงอนุมาน Paired sample t-test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 95% Confidence interval
ผลการวิจัย : 1) พยาบาลวิชาชีพร้อยละ 70 ไม่เคยเข้ารับการอบรมเกี่ยวกับมาตรฐานการบันทึกการพยาบาล เคยได้รับการอบรมเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลาง ร้อยละ 60 และเคยได้รับอบรมเกี่ยวกับการดูแลติดเชื้อในกระแสเลือดร้อยละ 50.0 2) รูปแบบเฉพาะโรคที่สำคัญจำนวน 2 กลุ่มโรค ประกอบด้วย กลุ่มผู้ป่วยหลอดเลือดสมองระยะกลาง (IMC) และกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis) และ 3) ผลการประเมินเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคุณภาพของการบันทึกทางการพยาบาลเชิงปริมาณรูปแบบเฉพาะโรคกับรูปแบบทั่วไป พบว่า ภาพรวมคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลรูปแบบเฉพาะมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น โดยรูปแบบเดิมมีค่าเฉลี่ย 82.6 (SD.=22.6.) รูปแบบเฉพาะ มีค่าเฉลี่ย 90.2 (SD.=19.7) และมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการบันทึกทางการพยาบาลแบบเดิม และรูปแบบการบันทึกทางการพยาบาลแบบเฉพาะโรค แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001)
สรุปและข้อเสนอแนะ : การวิจัยครั้งนี้เป็นต้นแบบสำหรับการพัฒนารูปแบบการบันทึกทางการพยาบาลในกลุ่มโรคอื่นๆ เพื่อให้เกิดคุณภาพการบริการพยาบาลเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
References
กองการพยาบาล. การประกันคุณภาพการพยาบาลในโรงพยาบาล: งานบริการพยาบาลผู้ป่วยใน.กรุงเทพ: สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข; 2544.
สภาการพยาบาล. ประกาศสภาการพยาบาล เรื่อง มาตรฐานการพยาบาล พ.ศ. 2562 [อินเตอร์]. [เข้าถึงเมื่อ 20 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.tnmc.or.th/images/userfiles/files/T_0030.PDF
วิทวดี สุวรรณศรวล, เพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล, บุญพิชชา จิตต์ภักดี. การพัฒนาคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลในโรงพยาบาลนครพิงค์จังหวัดเชียงใหม่. Nursing Journal. 2016;43(3):128-36.
อุดมพร คำล้ำเลิศ. การพัฒนารูปแบบการบันทึกทางการพยาบาลในหออภิบาลทารกแรกเกิดโรงพยาบาลสมุทรสาคร: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2017.
สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติร่วมกับสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์กรมหาชน). คู่มือการตรวจประเมินคุณภาพการบันทึกเวชระเบียน. กรุงเทพฯ: ยูเนียน. 2563.
กาญจนา ธานะ, อารีวรรณ กลั่นกลิ่น. บันทึกทางการพยาบาล: หลักฐานสำคัญสำหรับพยาบาลวิชาชีพ.Nursing Journal. 2015;42(1):164-70.
อรวรรณ ณ ลำปาง, ดอกไม้ บุตรดา. การพัฒนาคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลงานการ พยาบาล ผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวชโรงพยาบาลบางกรวย. Journal of Nursing and Public Health Research. 2021;1(3):31-44.
ปาลิตา พูลเพิ่ม, นงเยาว์ มีเทียน, อภิญญา วงศ์พิริยโยธา. ปัญหาและความต้องการการบันทึกทางการพยาบาล ในโรงพยาบาลสุทธาเวช คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาล มหาสารคาม. 2022;19(2):88-99.
โสภา คำชัยลึก, เพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล, ทรียาพรรณ สุภามณี. การพัฒนาคุณภาพการ ตรวจบันทึกทางการพยาบาลในโรงพยาบาลตติยภูมิ. Nursing Journal. 2016;43(4):105-13.
มลิวัลย์ มูลมงคล, ศศิธร ศรีภูษณาพรรณ, ฉวี สิทธิวางค์กูล, ยุพิน ตันอนุชิตติกุล, ปิยธิดา จุลละปีย.ผลการใช้การบันทึกทางการพยาบาล แบบชี้เฉพาะ งานผู้ป่วยใน โรงพยาบาลลำปาง วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2560;26(2):409-17.
ลดาวัลย์ ฤทธิ์กล้า. ประสิทธิผลของการพัฒนาการบันทึกทางการพยาบาลแบบชี้เฉพาะต่อความสมบูรณ์คุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลความรู้ และความพึงพอใจของพยาบาลอายุรกรรม. Thammasat University Hospital Journal Online. 2021;6(2):1-13.
สาวิตรี ใหม่โบราณ, อาภัสรา พันขาม, นุชนาฏ แสนสุข. การพัฒนารูปแบบการบันทึกทางการพยาบาลแบบชี้เฉพาะ. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2022;19(1):173-80.
De Groot K, Triemstra M, Paans W, Francke AL. Quality criteria, instruments, and requirements for nursing documentation: A systematic review of systematic reviews. Journal of advanced nursing. 2019;75(7):1379-93.
Wang N, Hailey D, Yu P. Quality of nursing documentation and approaches to its evaluation: a mixed‐method systematic review. Journal of advanced nursing. 2011;67(9):1858-75.
Collins S A, Cato K, Albers D, Scott K, Stetson P D, Bakken S, et al. Relationship between nursing documentation and patients’ mortality. American Journal of Critical Care. 2013;22(4):306-13.
FRANCOIS, Nicole. Nursing Documentation in an Inpatient Behavioral Health Unit:
A Best Practice Quality Improvement Project; 2021.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-03-19 (3)
- 2024-03-07 (2)
- 2024-03-07 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง