การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือด ในระยะ 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด โรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน
คำสำคัญ:
ตกเลือดหลังคลอด, ระยะ 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด, แนวปฏิบัติการพยาบาลบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาแนวทางปฏิบัติเพื่อการป้องกันการตกเลือดหลังคลอดของมารดา และประเมินผลของการใช้แนวทางปฏิบัติเพื่อการป้องกันการตกเลือดหลังคลอด ระยะ 2 ช.ม.หลังคลอด โรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยและพัฒนา (Research and development)
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มผู้มีส่วนร่วมในการศึกษา คือ พยาบาลวิชาชีพแผนกห้องคลอด 10 ราย และผู้มาคลอดที่มารับบริการแผนกห้องคลอดจำนวน 20 ราย แบ่งการศึกษาเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1การพัฒนาแนวปฏิบัติ แบ่งเป็น 6 ขั้นตอน 1) การกำหนดประเด็นและขอบเขตของปัญหา 2) การกำหนดวัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมายและผลลัพธ์ 3) การสืบค้นและประเมินคุณค่าของหลักฐานเชิงประจักษ์ 4) การยกร่างแนวปฏิบัติ และ 5) การตรวจสอบคุณภาพของแนวปฏิบัติ 6) การนำแนวปฏิบัติไปทดลองใช้ ระยะที่ 2 การประเมินผลการนำแนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้นไปใช้แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน 1) การนำแนวทางปฏิบัติที่พัฒนาขึ้นไปใช้ และ 2) การประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติ โดยพยาบาลวิชาชีพแผนกห้องคลอด วิเคราะห์ข้อมูลความเป็นไปได้ในการนำ ไปใช้ ความพึงพอใจ และการป้องกันการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติพรรณนา ส่วนปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการจัดกลุ่มเนื้อหา
ผลการวิจัย : แนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันการตกเลือดหลังคลอดระยะแรก ในมารดาที่คลอดทางช่องคลอด โรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การประเมินสัญญาณ เตือนของการตกเลือด ภายหลังทารกคลอดจนถึง 2 ชั่วโมงหลังคลอด 2) การนวดมดลูก ภายหลังรกคลอด 3) การประเมินปริมาณเลือดภายหลังคลอด 1 ชั่วโมง และ 4) ประเมินปริมาณเลือด ภายหลังคลอด 2 ชั่วโมง หลังการใช้แนวปฏิบัติ พบว่าา มารดาเสียเลือดน้อยกว่า 500 มิลลิลิตร อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมารดาร้อยละ 98 มี ระดับสัญญาณชีพปกติและไม่มีอาการผิดปกติ หลังคลอด
ผลการประเมินผู้ใช้แนวปฏิบัติ พบว่ามีความพึงพอใจในการใช้แนวปฏิบัติร้อยละ 92 ผลการวิจัยนี้ แสดงให้เห็นว่าแนวปฏิบัติการพยาบาลนี้มีประสิทธิผลดีในการป้องกันการตกเลือดหลังคลอดใน ระยะ 2 ชั่วโมงหลังคลอด ในแผนกห้องคลอดโรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน
สรุปและข้อเสนอแนะ : แนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันการตกเลือดหลังคลอดระยะ 2 ชั่วโมงแรก ในมารดาที่คลอดทางช่องคลอดโรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน มีความเหมาะสม สามารถนํามาใช้ได้ง่าย สามารถนํามาใช้ในการป้องกันการตกเลือดหลังคลอด ระยะ 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรมีการส่งเสริมและกำกับติดตามการนำไปใช้อย่างต่อเนื่องและมีการทบทวนและพัฒนาหากพบความเสี่ยงเกิดขึ้นในอนาคตหรืออย่างน้อยทุก 1 ปี
References
ACOG. Practice Bulletin: Clinical Management Guidelines for Obstetrician- Gynecologists Number 76, October 2006: postpartum hemorrhage. Obstet Gynecol. 2006;108(4):1039-47.
WHO. Recommendations for the prevention and treatment of postpartum haemorrhage [Internet]. [cited 2023 Mar 24]. Available from: http://www.who.int)//
ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติ เรื่อง การป้องกันและรักษาภาวะตกเลือดหลังคลอด [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 9 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.rtcog.or.th/home/wp-Content/uploads/2020/09/OB-63-020-Prevention-and-Management-of-Postpartum-Hemorrhage.pdf
ศิริวรรณ วิเลิศ, ทิพวรรณ์ เอี่ยมเจริญ, ดรุณี ยอดรัก. สถานการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตกเลือดหลังคลอดในมารดาคลอดทางช่องคลอดในหอผู้ป่วยสูติกรรม สามัญโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี. วารสารพยาบาลสภาการชาดไทย. 2559;9(2):173-90.
ทิพวรรณ์ เอี่ยมเจริญ. การตกเลือดหลังคลอด: บทบาทสำคัญของพยาบาลในการป้องกัน. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย. 2560;6(2):146–54.
สุฑารัตน์ ชูรส. การป้องกันการตกเลือดหลังคลอด: บทบาทของพยาบาล. วารสารวิชาการแพทย์ เขต11. 2562;33(1):181-92.
พิกุล บัณฑิตพานิชชา, นงลักษณ์ พลแสน, สุภาวดี เหลืองขวัญ. การพัฒนาระบบ การพยาบาลในการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอด. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2017;32(2):131-44.
ฐานข้อมูลกรมอนามัย [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 9 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https:// dohdatacenter.anamai.moph.go.th/
Singh S, McGlennan A, England A, Simons R. A validation study of the CEMACH recommended modified early obstetric warning system (MEOWS). Anaesthesia. 2012;67:12-8.
ภคนี ขุนเศรษฐ์. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันการตกเลือดหลัง คลอดระยะแรกในมารดาที่คลอดทางช่องคลอดโรงพยาบาลสงขลา. Journal of Nursing and Public Health Research. 2564;1(2):83-99.
วราภรณ์ พันธศรี. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้คลอดในระยะที่ 1 ของการคลอด แบบมีส่วนร่วมของ โรงพยาบาลชุมชนเครือข่ายโซนลุ่มน้ำปาว จังหวัดอุดรธานี. วารสารการพยาบาล สุขภาพ และ การศึกษา. 2564;4(3):1-12.
ลัดดาวัลย์ ปลอดฤทธิ์, สุชาดา วิภวกานต์, อารี กิ่งเล็ก. การพัฒนาแนวปฏิบัติการป้องกันการตกเลือดหลังคลอดระยะแรกในห้องคลอด โรงพยาบาลกระบี่. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2559;3(3):127-41.
วรนุช บุญสอน. การพัฒนาแนวทางการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดในระยะ 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และ สุขภาพชุมชน. 2566;8(2):205-11.
สุมลา พรหมมา. ผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือดหลัง คลอดระยะแรกในห้องคลอดโรงพยาบาลบางปะกง. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และ สุขภาพ ชุมชน. 2564;6(2):125-34.
Hayibueraheng Y. ผลการใช้นวัตกรรม WARNING BOX ช่วยเตือนคลึ มดลูกต่อปริมาณการ สูญเสียเลือดในมารดาสองชั่วโมงแรกหลังคลอด โรงพยาบาลบันนังสตา จ.ยะลา. Thammasat University Hospital Journal Online. 2562;4(3):31-5.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-03-07 (2)
- 2024-03-07 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง