การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลปทุมรัตต์
คำสำคัญ:
การพัฒนาระบบ, การติดเชื้อในกระแสเลือด, การดูแลผู้ป่วยบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาสภาพการณ์ พัฒนารูปแบบ และศึกษาผลของรูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลปทุมรัตต์
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยและพัฒนา (Research and development design)
วิธีดำเนินการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่เป็นผู้ใช้แนวปฏิบัติ จำนวน 16 คน และศึกษาเวชระเบียนของผู้ป่วยที่แพทย์วินิจฉัยว่ามีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด จำนวน 68 ฉบับ การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 1) วิเคราะห์สถานการณ์ โดยการทบทวนเวชระเบียนทบทวนแนวทางการดูแลผู้ป่วยตาม Sepsis Guideline 2) พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย โดยการอบรมเชิงปฏิบัติการแก่พยาบาลนำสู่การปฏิบัติ 3) ประเมินผล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึก แบบประเมิน และแบบทดสอบความรู้ และ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Student's t-test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 95% Confidence Interval
ผลการวิจัย : รูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดประกอบด้วยกระบวนการ (1) การคัดกรองผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อในกระแสเลือดเมื่อแรกรับผู้ป่วย (2) การดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด และ (3) การส่งต่อผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด และผลลัพธ์การดำเนินงาน พบว่า ผลการทบทวนเวชระเบียนในปี พ.ศ.2565 จำนวน 34 ราย ปี พ.ศ.2566 จำนวน 34 ราย พบว่า มีการให้สารน้ำทดแทนอย่างเพียงพอคิดเป็น ร้อยละ 91.17 และ 100 ส่งเพาะเชื้อก่อนให้ยาปฏิชีวนะคิดเป็นร้อยละ76.47 และ 97.05 ตามลำดับ การได้รับยาปฏิชีวนะใน 1 ชั่วโมงหลังการวินิจฉัย คิดเป็นร้อยละ 88.23 และ 100 ค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติการพยาบาลตามแนวปฏิบัติของพยาบาลเพิ่มขึ้นจากเดิมและพยาบาลมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เพิ่มขึ้น (p< .001)
สรุปและข้อเสนอแนะ : การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด จากกระบวนการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทำให้ผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดได้รับการประเมินและการเฝ้าระวังภาวะวิกฤต เกิดผลลัพธ์การดูแลที่ดีขึ้น
References
Rhodes A, Evans L E, Alhazzani W, Levy M M, Antonelli M, Ferrer R, et al. Surviving Sepsis Campaign: International Guidelines for Management of Sepsis and Septic Shock. Crit Care Med. 2016;45(3):486-552.
WHO. Sepsis [อินเตอร์เน็ต]. 2017 [เขาเมื่อ 28 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/sepsis
กระทรวงสาธารณสุข. อัตราตายผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรงชนิด [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: 2561 [เข้าถึงเมื่อ 28 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก:
https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php
ศูนย์ข้มูลโรงพยาบาลปทุมรัตต์. ข้อมูลสถิติผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด ปี 2563 – 2565. โรงพยาบาลปทุมรัตต์; 2565.
พรพรรณ กู้มานะชัย. ภาวะฉุกเฉินทางอายุรศาสตร์ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ระเทศไทย. กรุงเทพฯ: โฮลิสติก พับลิสซิ่ง จํากัด; 2557.
สุทธิชัย แก้วหาวงค์, ดลวิวัฒน์ แสนโสม. ผลของการใช้โปรแกรมการพยาบาลระยะ 1 ชั่วโมงแรกต่อผลลัพธ์ที่คัดสรรในผู้ป่วยกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือดที่แผนกงานฉุกเฉิน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2563;38(1):196-206.
Levy M M, Evans L E, Rhodes A. The surviving sepsis campaign bundle: 2018 update. Intensive Care Med, 2018;44:925-8.
ลัดดา จามพัฒน์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดโรงพยาบาล สุราษฎร์ธานี. วารสารการพยาบาล สุขภาพ และการศึกษา. 2563;3(2):56-66.
อรอุมา มะกรูดทอง, จินตนา ดำเกลี้ยง. ผลลัพธ์ของการพัฒนาแนวปฏิบัติการประเมินแรกรับและการจัดการทางการพยาบาลสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในห้องฉุกเฉิน. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร, 2564;41:60-73.
ปุญณิศา ศรีวาจา, ภิตรดา ไสยบุญฌ์. การพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรง. 2566;3(3):332-41.
รุ่งทิพย์ เจริญศรี, รุ่งรัตน์ สายทอง, จรูญศรี มีหนองหว้า, วันชัย เลิศวัฒนวิลาศ. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในหอผู้ป่วยอายุรกรรม. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล. 2566;29(3):59-74.
ญาดา สมานชัย. ผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดระหว่างแพทย์ประจำกับแพทย์หมุนเวียน โรงพยาบาลวาปีปทุม ปีพุธศักราช 2561. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10. 2562;17(1):32-42.
สาธร ธรรมเนียมอินทร์. การพัฒนาแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10. 2561;16(2):58-68.
ปฏิพร บุณยพัฒน์กุล. ประสิทธิผลของระบบการบริการสุขภาพฉุกเฉินต่ออาการทางคลินิกในผู้ป่วยที่มีภาวะพิษเหตุติดเชื้อ [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2560.
ประไพพรรณ ฉายรัตน์, สุพัฒศิริ ทศพรพิทักษ์กุล. ประสิทธิผลของรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2560;35(3):224-31.
Permpikul C, Tongyoo S, Ratanarat R, Wilachone W, Poompichet A. Impact of septic shock hemody namic resuscitation guidelines on rapid early volume replacement. J Med Assoc Thai. 2010;93(1):S55-61.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-03-06 (2)
- 2024-03-06 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง