This is an outdated version published on 2024-03-07. Read the most recent version.

รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพต่อการตอบสนองภาวะฉุกเฉินการช่วยฟื้นคืนชีพ ขั้นสูง ของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้น โดยการเรียนรู้ผ่านสถานการณ์จำลอง โรงพยาบาลอาจสามารถ

ผู้แต่ง

  • ปาริชาติ บุษดี โรงพยาบาลอาจสามารถ

คำสำคัญ:

การพัฒนาสมรรถนะ, การตอบสนองภาวะฉุกเฉิน, การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพต่อการตอบสนองภาวะฉุกเฉินการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นโดยการเรียนรู้ผ่านสถานการณ์จำลอง

รูปแบบการวิจัย :  การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มเป้าหมายเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานพยาบาลส่งต่อและออกรับเหตุผู้ป่วย จำนวน 25 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดความรู้ แบบประเมินทักษะและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย : ภายหลังการพัฒนาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงในผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้น โดยรวมด้านการประเมิน การบริหารทีมช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงและการตัดสินใจ และความสามารถในการจัดการผ่านเกณฑ์ 80.0% แต่ด้านการจัดการตอบสนองภาวะฉุกเฉินการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง ด้านการประเมินผู้ป่วยในเรื่องการวิเคราะห์ภาพคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติตาม Algorithm ไม่ผ่านเกณฑ์ และพบว่าความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (Mean= 4.64, SD.= 0.44)

สรุปและข้อเสนอแนะ : จากผลการศึกษาครั้งนี้ช่วยให้ผลลัพธ์มีประสิทธิภาพ เกิดความปลอดภัยทั้งในบุคลากรและผู้ป่วย ดังนั้น ควรนำ Intervention นี้ไปใช้ในหน่วยงานต่อไป

References

หทัยชนก บัวเจริญ.นวทางการจัดการกับภาวะหายใจยากลำบากเฉียบพลันด้วยตนเองที่บ้านในผู้ป่วยโรค ปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารพยาบาลทหารบก. 2560;18(1):211-16.

สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชปถัมภ์. คณะกรรมการมาตรฐานการช่วยชีวิต. คู่มือการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน และเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (เออีดี:AED) สำหรับประชาชน พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: สมาคม; 2561.

วรรน์นา พิมานแพง. อัตราการรอดชีวิตและปัจจัยที่มีผลต่อการรอดชีวิตจากการช่วยฟื้นคืนชีพ ในโรงพยาบาลศรีสะเกษ. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2565;38(2):369-82.

โรงพยาบาลอาจสามารถ. สรุปประเมินผลการดำเนินงานประจำปีงานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลอาจสามารถ 2562-2566. ร้อยเอ็ด; 2566.

โรงพยาบาลอาจสามารถ. สรุปประเมินผลการดำเนินงานประจำปีโรงพยาบาลอาจสามารถ 2562-2566. ร้อยเอ็ด; 2566.

ทีมนำทางคลินิกโรงพยาบาลอาจสามารถ. สรุปประเมินผลการดำเนินงานประจำปีทีมนำทางคลินิก โรงพยาบาลอาจสามารถ. ร้อยเอ็ด; 2566.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์กรมหาชน). เป้าหมายความ ปลอดภัยของผู้ป่วยของประเทศไทย พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: เฟมัส แอนด์ ซัสเซ็ค ฟูล; 2564.

พนิดา จันทรัตน์, เพ็ญแข รัตนพันธ์, ภคินี ขุนเศรษฐ์, ปรัชญานันท์ เที่ยงจรรยา. การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังสัญญาณเตือน เข้าสู่ภาวะวิกฤตในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง โรงพยาบาลสงขลา. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2565;(32(1):109-19.

เสาวลักษณ์ เอี่ยมลออ. การพัฒนาคุณภาพการช่วยฟื้นคืนชีพในห้องผู้ป่วยหนักผู้ใหญ่ประสบการณ์ ใน โรงพยาบาลบ้านโป่ง จ.ราชบุรี. วารสารวิชาการและการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช. 2564;1(1):1-9.

สมจิตต์ สินธุชัย, กันยารัตน์ อุบลวรรณ. การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง:การ นำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน Fidelity Simulation Based Learning: Implementation to Learning and Teaching Management. วารสารพยาบาลทหารบก. 2560;18(1):29-38.

มาลี และปรียานุช ศิริไพบูลย์ทรัพย์. การจัดการเรียนรู้ โดยใช้สถานการณ์จำลองขั้นสูง. วารสาร มหาวิทยาลัยพายัพ. 2560;28(2):70-89.

Lewis, Strachan, Smith M M. Is High Fidelity Simulation the Most Effective Method for the Development .The Open Nursing Journal. 2012;6:82-9.

Kemmis S, Mc Taggart R. The action research planner. 3rd ed. Geelong, Australia: Deakin University Press; 1990.

วรลักษณ์ เต็มรัตน์. รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพต่อการจัดการภาวะเร่งด่วน ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะวิกฤต โรงพยาบาลศูนย์ยะลา โดยการเรียนรู้ผ่านสถานการณ์จำลอง [วิทยานิพนธ์]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2565.

สมจิตต์ สินธุชัย, กันยารัตน์ อุบลวรรณ. การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง: การนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน Fidelity Simulation Based Learning: Implementation to Learning and Teaching Management. วารสารพยาบาลทหารบก. 2560;18(1):29-38.

สุมลชาติ ดวงบุปผา, สุนทรี เจียรวิทยกิจ. การประเมินผลการใช้เทคนิคการสอนด้วยสถานการณ์จำลองทางคลินิกในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล.รามาธิบดีพยาบาลสาร. 2562;25(2):208-26.

Bener P. Novice to Excellence and power in clinical nursing practice. Menlo park CA. Addison-wesly. 1984;25(4):36-41.

Kolb D A. Experiential Learning : Experience as the source of learning and development. (2nd ed.). NJ:Person Edu; 2014.

สิริอร ข้อยุ่น, วัจนา สุคนธวัฒน์, เบญจวรรณ กิจควรดี, จุฑารัตน์ ลมอ่อน, ภาสินี โทอินทร์. สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยวิกฤตที่ผ่านการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต. เชียงรายเวชสาร. 2563;12(2):92-101.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-06 — Updated on 2024-03-07

Versions