ผลของโปรแกรมสุขศึกษาตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันโรค ขาดสารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์ในคลินิกฝากครรภ์โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในอำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ปราโมทย์ หามาลา สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองมหาสารคาม

คำสำคัญ:

แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ, การป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน, หญิงตั้งครรภ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การวิจัย : เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้ แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนในจังหวัดมหาสารคาม

รูปแบบการวิจัย : การศึกษานี้เป็นวิจัยกึ่งทดลองแบบ 2 กลุ่มเปรียบเทียบ ก่อนและหลัง

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการในคลินิกฝากครรภ์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในอำเภอเมืองมหาสารคามและศูนย์แพทย์ชุมชน ดำเนินระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายน 2563 กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 60 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มละ 30 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบ และแบบบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติ Independent t-test  

ผลการวิจัย : กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ ความเชื่อด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์ เพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001)

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างมีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำโปรแกรมนี้ไปใช้ในหน่วยงานต่อไป

References

กรมอนามัย. รายงานการศึกษาผลของการให้ยาเม็ดเสริมไอโอดีนต่อภาวะโภชนาการไอโอดีนต่อภาวะโภชนาการไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์. กรุงเพทฯ: บริษัทสามเจริญพานิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด; 2562.

World Health Organization. Assessment of iodine deficiency disorders and monitoring their elimination : a guide for program me managers. Third edition. Geneva; 2007.

สุณีรัตน์ ยั่งยืน, สุวิมล สงกลาง, ธิดารัตน์ สมดี. การบริโภคอาหารและปริมาณอโอดีนในปัสสาวะของหญิงตั้งครรภ์ จังหวัดมหาสารคาม. วารสารสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2560;5(4):683-702.

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. การควบคุมป้องกันโรคขาดสารดีน: เส้นทางสู่ความยั่งยืน. กรุงเทพฯ: บริษัทสามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด; 2559.

สมพงษ์ ชัยโอภานนท์. สถานการณ์ของโรคขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์ในประเทศไทย ปี พ.ศ.2554-2558. วารสารสมาคมศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 2560;7(2):200-11.

จารินี ยศปัญญา, ปิยะ ปุริโส, ชัญญานุช ปานนิล, พัชราภรณ์ ผานิช. ภาวะไอโอดีนและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์อายุครรภ์มากกว่า 24 สัปดาห์ ที่ได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีน เขตสุขภาพที่ 7. วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น. 2566;15(2):64-78.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองมหาสารคาม. ผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์. มหาสารคาม; 2565.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานา; 2553.

ปัทมาพร ภูมิเวียงศรี. การส่งเสริมการบริโภคเกลือเสริมไจโจดีนในกลุ่มแม่บ้าน ตำบลหว้าทอง อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น [วิทยานิพนธ์]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2547.

นาฎนภา ปัดชาสุวรรณ์. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาพสินธุ์ [วิทยานิพนธ์]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557.

Garnweidner-Holme L, Aakre I, Lilleengen A M, Brantsaeter A L, Henjum S. Knowledge about lodine in pregnant and lactating women in the Oslo area, Norway. Nutrints. 2017;13(9):493.

O'Kane S M, Pourshahidi L K, Farren K M, Mulhern M S, Strain J J, Yeates A J. lodine knowledge is positively associated with dietary iodine intake among women of childbearing age in the UK and Ireland. Br J Nutr. 2016;116:1728-35.

MartinJ C, Savige G S, Mitchell E K. Health knowledge and iodine intake in pregnancy. Aust. N. Z. J. Obstet. Gynaecol. 2014;54:312-6.

วัลลภา สนธิเส็ง. ผลของการให้ความรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ในการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการในคลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. 2563;2(2):171-86.

Naghashpour M, Shakerinejad G, Lourizadeh M R, Hajinajaf S, Jarvandi F. "Nutrition Education base on health belief model improves dietary calcium intake among female student of junior high school," Journal of health Population Nutrition. 2014;32(3):420-29.

นวลรัตน์ โมทะนา, ทัศพร ชูศักดิ์, เบญจวรรณ นันทชัย, สัณหวัช ไชยวงศ์. ผลการให้สุขศึกษาตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์ตำบลแม่ข้าวต้ม อำเกอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารนเรศวรพะเยา. 2557;7(2):178-84.

สุมาลี มีศิริพันธุ์. รูปแบบการป้องกันภาวะการขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์ จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 2563;5(3):161-71.

อัญชลี แก้วไชย. รูปแบบการป้องกันการขาดสารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายชุมชนอำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน. 2566;8(2):660-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-05