ผลของโปรแกรมสมาธิบำบัด SKT ต่อระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ โรงพยาบาลหนองฮี จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
สมาธิบำบัด SKT, ความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของระดับความดันโลหิตก่อนและหลังได้รับโปรแกรมสมาธิบำบัดด้วย SKTและศึกษาความพึงพอต่อการใช้โปรแกรม
รูปแบบการวิจัย : เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental design)
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ จำนวน 50 คน ดำเนินกิจกรรม 12 สัปดาห์ เก็บข้อมูลด้วยแบบบันทึกการปฏิบัติกิจกรรมและแบบติดตามประเมินความดันโลหิตก่อนและหลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired t-test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 95% Confidence interval
ผลการวิจัย : หลังการทดลอง พบว่า ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้มีความดันโลหิตลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) โดยมีความดันโลหิต Systolic Blood Presser (SBP) ลดลง 32.34 mmHg (95%CI:29.5, 35.5) และDiastolic Blood Presser (DBP) ลดลง22.4 mmHg (95%CI: 20.6, 24.1) และผู้ป่วยที่เข้ารับการฝึกปฏิบัติสมาธิบำบัดด้วย SKT มีความพึงพอใจต่อโปรแกรมสมาธิบำบัด SKT โดยรวมอยู่ในระดับมาก คิดเป็น 86.4%
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าโปรแกรมที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นช่วยลดระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ จึงควรนำแนวทางนี้ไปใช้ร่วมกับการดูแลผู้ป่วยต่อไป
References
สมาคมโรคความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2555 ปรับปรุง พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ; 2558.
HDC: Health Data Center [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงสาธารณสุข; 2565. [เข้าถึงเมื่อ 10 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source
สมพร กัณทร, ดุษฎี เตรียมชัยศรี. การปฏิบัติสมาธิเพื่อการเยียวยาสุขภาพ. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2549.
โรงพยาบาลหนองฮี. ผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565. ร้อยเอ็ด. งานยุทธศาสตร์; 2665.
พุทธลักษ์ ดีสม, สุภาพร แนวบุตร, สมศักดิ์ โทจําปา. ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพด้วยสมาธิบำบัด SKT 2 ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ. 2562;13(2):66-76.
ธีร์พิชชา โกสุม. ผลของโปรแกรมการใช้สมาธิบำบัด SKT ร่วมกับการปรับเปลี่ยนการบริโภคอาหารเค็มต่อระดับความดันโลหิต โซเดียม และความเครียดในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงตำบลบ้านเสด็จ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. [วิทยานิพนธ์]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่; 2563.
สุภาณี โสทัน. ผลของสมาธิบำบัด SKT ในการลดระดับความดันโลหิตของผู้ที่มารับบริการโรงพยาบาลฟากท่าจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 2566;8(1):488-78.
สุภาพร แนวบุตร. ผลของการควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงโดยใช้เทคนิคสมาธิเพื่อการเยียวยา SKT2 ในชุมชน [วิทยานิพนธ์]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2557.
สุภาพร แนวบุตร. ผลของโปรแกรมกรเสริมสร้างพลังอำนาจต่อความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ดูแลผู้ป่วยในครอบครัว. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 2558;8(4):30-40.
อรอุมา ปัญญโชติกุล, สุธินา เศษคง, สุขุมาภรณ์ ศรีวิศิษฐ. ผลของสมาธิบำบัด SKT ในการลดระดับความดันโลหิตของผู้ที่มารับบริการโรงพยาบาลสิเกา จังหวัดตรัง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2560;4(2):247-55.
Gallois P. Neurophysiologic and respiratory changes during practice of relaxation technics. Encephale. 1984;10(3):139-44.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง