การพยาบาลผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดเปิดทวารเทียม
คำสำคัญ:
การพยาบาล, มะเร็งลำไส้ใหญ่, ทวารเทียมบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาและพัฒนาแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ได้รับการรักษา โดยการผ่าตัดเปิดทวารเทียม : กรณีศึกษา 1 ราย
รูปแบบการศึกษา : เป็นการวิเคราะห์กรณีศึกษา 1 ราย ร่วมกับหลักวิชาการ และนำผลการศึกษาไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ได้รับการรักษา โดยการผ่าตัดเปิดทวารเทียม
วัสดุและวิธีการศึกษา : คัดเลือกผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดเปิดทวารเทียม ในหอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย จำนวน 1 ราย โดยทำการศึกษาประวัติผู้ป่วย การดำเนินของโรค การรักษาพยาบาล และรวบรวมข้อมูล จากเวชระเบียน สัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ เพื่อใช้ในประเมินสภาพผู้ป่วย พร้อมทั้งค้นคว้าและทบทวนการพยาบาลตามทฤษฎีและพัฒนาเป็นแนวทางการพยาบาลผู้ป่วย โดยการค้นคว้าจากตำรา เอกสารวิชาการ บทความต่างๆ นำมากำหนดข้อวินิจฉัย การพยาบาล วางแผนการพยาบาล และปฏิบัติการพยาบาล จนถึงการสรุป และประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาลตั้งแต่แรกรับจนกระทั่งจำหน่าย ให้ครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม ตลอดจนสิ่งแวดล้อมและจิตวิญญาณ
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยชายไทย อายุ 22 ปี น้ำหนัก 113 กิโลกรัม BMI 34.50 kg./m.2 มีประวัติเป็นความดันโลหิตสูง มาด้วยอาเจียนเป็นสีดำ ปวดท้อง เป็นก่อนมาโรงพยาบาล 1 วัน แพทย์วินิจฉัยเป็น Cancer descending sigmoid ทำการผ่าตัด Exploratory Laparotomy with Hartmann's procedure with Colostomy หลังผ่าตัดเสร็จผู้ป่วยกลับหอผู้ป่วยวิกฤต สามารถถอดท่อช่วยหายใจได้ 2 วันหลังผ่าตัด และพบว่าผู้ป่วยมีภาวะความดันโลหิตสูง สามารถควบคุมได้ด้วยการให้ยา นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยมีความวิตกกังวลต่อภาพลักษณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป พยาบาลใช้กระบวนการพยาบาล ในการดูแลผู้ป่วยทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ทำให้ผู้ป่วยมีความพร้อมในการกลับไปดูแลตนเองที่บ้าน แพทย์จำหน่ายกลับบ้าน รวมรักษาในโรงพยาบาล 11 วัน
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการพยาบาลผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ได้รับการรักษา โดยการผ่าตัดเปิดทวารเทียม ดังนั้น ผู้ปฏิบัตจะต้องนำกระบวนการพยาบาลตั้งแต่แรกรับจนจำหน่าย ให้ครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม สิ่งแวดล้อม และจิตวิญญาณ
References
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 16 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nci.go.th/th/cancer_record/ download/HOSPITAL-BASED_2021.pdf
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. มะเร็งลำไส้ใหญ่ [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 16 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://med.mahidol.ac.th/health_service/th/km/ 09feb2018-1836
บุษบา สมใจวงษ์. เอกสารประกอบการสอน วิชา 261 221 การพยาบาลสุขภาพผู้ใหญ่ 1 เรื่องการผู้ใหญ่ที่ได้รับการผ่าตัด [อินเตอร์เน็ต]. ขอนแก่น : คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2559 [เข้าถึงเมื่อ 16 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nurse.kku.ac.th/index.php/download/category/48-2019-09-26-03-18-17?download=315:2019-09-26-03-35-01
พฤทธ์ ประพงศ์เสนา. ความปลอดภัยของผู้ป่วยวิสัญญี. ใน: นรุตม์ เรือนอนุกูล, บรรณาธิการ. ตำรา ฟื้นฟูวิชาการวิสัญญีวิทยา. กรุงเทพฯ : ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย; 2558. หน้า 31-8.
อนันตโชติ วิมุกตะนันท์. บทที่ 17 การให้ยาระงับความรู้สึกในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. ใน: นรุตม์ เรือนอนุกูล, บรรณาธิการ. ตำราฟื้นฟูวิชาการวิสัญญีวิทยา. กรุงเทพฯ : พีเอลีฟวิ่ง; 2558. หน้า 129-32.
ธีรดา จันทร์ดี. Acute Postoperative Pain Management. ใน: นรุตม์ เรือนอนุกูล, บรรณาธิการ. วิสัญญีตามสมัย เล่ม 1. กรุงเทพฯ : ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย; 2556. หน้า 325-42.
ภควดี พลังวชิรา. การดูแลบาดแผลจากการผ่าตัด. เวชสารแพทย์ทหารบก. 2565;75(1):61-70.
ศิริพรรณ ภมรพล. บทบาทพยาบาลในการสร้างส่งเสริมการฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่ของลำไส้ภายหลังผ่าตัด. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 2556;6(1);1-7.
อรอนงค์ ทัพสุวรรณ์. คู่มือการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ได้รับการรักษา [อินเตอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 16 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www2.si.mahidol.ac.th/division/ nursing/sins/attachments/article/193/CAcolon.pdf
รุ่งพร ภู่สุวรรณ์, นฤมล จันทร์สุข. การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ได้รับเคมีบำบัด. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 2564;7(9):316-27.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-03-05 (3)
- 2024-03-05 (2)
- 2024-03-05 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง