ผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงตามแนวทางการดูแล ผู้ป่วยในที่บ้าน โรงพยาบาลโพนทอง

ผู้แต่ง

  • อัญชลี ชีวะประเสริฐ โรงพยาบาลโพนทอง
  • จุฑารัตน์ เข็มจริยา โรงพยาบาลโพนทอง

คำสำคัญ:

การดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน, ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง, การดูแลผู้ป่วยในที่บ้าน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเอง และน้ำตาลในเลือด (Fasting Blood sugar; FBS) ของผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงตามแนวทางการดูแลในที่บ้านโรงพยาบาลโพนทอง

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research; pretest-posttest two groups design)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้าและคัดออก จำนวน 70 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มๆ ละ 35 คน ดำเนินการตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงเดือนธันวาคม 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบ แบบประเมิน และแบบบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Independent t-test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 95% Confidence interval

ผลการวิจัย : หลังการทดลอง พบว่า ผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองมากกว่าก่อนการทดลอง (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่า 2.71 คะแนน (95%CI; 1.85, 3.57); คะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองมากกว่าก่อนการทดลอง (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่ากว่า 2.69 คะแนน (95%CI: 2.43, 2.94) และค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่ากลุ่มควบคุม (p<.001) โดยค่าเฉลี่ยน้อยกว่า 85.88% (95%CI; 49.20, 122.56)

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นแนวทางการดูแลผู้ป่วยในที่บ้านส่งผลให้ผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงมีความรู้ พฤติกรรมและสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้

References

Ray G J, Hamielec C, Mastracci T. Pilot study of the accuracy of bedside glucometer in the intensive Care unit. Crit Care Med. 2001;29(11):2205-7.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. สถานการณ์โรคเบาหวานทั่วโลกในปี 2564. [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 5 มีนาคม 2565] เข้าถึงได้จาก: https://workpointtoday.com/world-diabetes-day/

โรงพยาบาลโพนทอง. รายงานผลการดำเนินตามยุทธ์ศาสตร์. ร้อยเอ็ด: โรงพยาบาลโพนทอง; 2565.

The Diabetes Control and Complications Trial Research Group. The effect of intensive treatment of diabetes on the development and progression of long-term complications in insulin-dependent diabetes mellitus. N Engl J Med. 1993;30;329(14):977-86.

DDCT Research Group. The effect of intensive treatment of diabetes on the development And progression of long-term complications in IDDM. The New England Journal of Medicine. 1993;329:977-86.

Towfigh A, Romanova M, Weinreb J E, Munjas B, Suttorp M J, Zhou A, et al. Self- monitoring Of blood glucose levels in patients with type 2 diabetes mellitus not taking insulin: a meta-analysis. Am JManag Care. 2008;14(7):468-75.

กรมการแพทย์. แนวทางและมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยในที่บ้าน (Home ward). นนทบุรี: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2565.

สุรีย์ ลี้มงคล. คู่มือการจำแนกประเภทผู้ป่วยในการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน.กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลศิริราชมหาวิทยาลัยมหิดล; 2553.

Polit D F, Hungler B P. Nursing research principles and methods. Philadelphia: J.B.Lippincott; 1999.

รสสุคนธ์ ภักดีไพบูลย์สกุล. ผลของโปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการเลือกรับประทานอาหารต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมโรคได้ [วิทยานิพนธ์]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2555.

สิริมนต์ ริ้วตระกูล, รัตนาภรณ์ จีระวัฒนะ, ประเทืองธรรม, อภิญญา ศิริพิทยาคุณกิจ. ผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่มีปัญหาซับซ้อนโดยผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงต่อผลลัพธ์ด้านผู้ป่วย. Rama Nurs J. 2561;24(1):54-68.

ภาวนา กีรติยุตวงศ์. ประสิทธิภาพของโปรแกรมการจัดการดูแลตนเองในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ต่อระดับความรู้ กิจกรรมการดูแลตนเอง คุณภาพชีวิตและค่าน้ำตาลสะสม [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2548.

นาตยา อดกลั้น. ความรู้และการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ. วารสารการพยาบาลสุขภาพและการศึกษา. 2561;31(1):31-9.

ธนันณัฏฐ์ มณีศิลป์, พรรณงาม อินทรประสงค์, มลทิพย์ พูลทวี, จินตนันท์ สิทธิประชาราษฎร์, วิภาศิริ นราพงษ์. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลโดยการสร้างเสริมการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 2566;8(4):335-45.

ดวงพร รัตนวราหะ. การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง: กรณีศึกษา. โรงพยาบาลสิงห์บุรีเวชสาร. 2560;26(2):53-64.

นุชระพี สุทธิกุล, สุมาลี จารุสุขถาวร, เยาวภา พรเวียง. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานที่มีน้ำตาลในเลือดสูงร่วมกับสารคีโตนคั่งในระยะวิกฤต. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2564;31(1):14-32.

สมสมัย รัตนกรีทากุล, สุรีย์รัตน์ ธนากิจ, นิสากร กรุงไกรเพชร, อริสรา ฤทธิ์งาม. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน: กรณีศึกษานวัตกรรมการพยาบาลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพโรงพยาบาลคลองใหญ่ จังหวัดตราด. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2561;26(1):79-90.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-04