ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมพัฒนาการและสร้างวินัยเชิงบวกโดยครอบครัวมีส่วนร่วมต่อทักษะความฉลาดทางอารมณ์และทักษะการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ในเครือข่ายสุขภาพอำเภอโพนทอง
คำสำคัญ:
สร้างวินัยเชิงบวก, การมีส่วนร่วมของครอบครัว, ความฉลาดทางอารมณ์, ทักษะการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมของผู้ปกครอง และเพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการเด็กปฐมวัยในโรงพยาบาลโพนทอง
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental research ; One group Pretest-Posttest Group)
วัสดุและวิธีการวิจัย : ตัวอย่างเป็นผู้ปกครองและเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 3-5 ปี ที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้าอย่างน้อย 1 ด้าน เมื่อประเมินด้วยคู่มือ DSPM จำนวน 85 คู่ ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายโดยการจัดฉลากแบบไม่คืน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ร้อยละและสถิติทดสอบ Paired t-test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 95% confidence Interval
ผลการวิจัย : หลังสิ้นสุดการเข้าร่วมโปรแกรม พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยความฉลาดทางอารมณ์โดยรวมมากกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยมีค่าเฉลี่ยความฉลาดทางอารมณ์โดยรวมมากกว่า 1.90 คะแนน (95%CI: 1.67, 2.12); กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยทักษะการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของเด็กอายุ 3-5 ปี โดยรวมมากกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยมีค่าเฉลี่ยทักษะการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของเด็กอายุ 3-5 ปีโดยรวมมากกว่า 1.34 คะแนน (95%CI: 1.24, 1.43)
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นสามารส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยได้ ดังนั้นจึงสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางสำหรับการพัฒนาให้บิดา มารดาและผู้ดูแลเด็กมีความสามารถในการติดตามประเมินและส่งเสริมพัฒนาการเด็กได้ดีขึ้น
References
Heckman J, Pinto R, Savelyev P. Understanding the mechanisms through which an influential early childhood program boosted adult outcomes. American Economic Review; 2013;103(6):2052-86.
ฐิติมา ชูใหม่. การเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็กปฐมวัย. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล. 2559;1(2):18-33.
โรงพยาบาลโพนทอง. รายงานผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์. กลุ่มงานยุทธศาสตร์; 2565.
World Health Organization. Developmental Difficulties in Early Childhood: Prevention, Early identification, Assessment and Intervention in Low- and Middle Income Countries: a Review. Child and Adolescent Health and Development. Turkey: Turkey Country Office and CEECIS Regional Office; 2012.
กรมอนามัย. รายงานการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2560. นนทบุรี: กลุ่มสนับสนุนวิชาการและการวิจัย สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย; 2561. 6. สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 (ฉบับย่อ). กรุงเทพฯ; 2560.
วิจิตร จันดาบุตร, วิทยา อยู่สุข, วิโรจน์ เซมรัมย์. การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลตำบลสีวิเชียร อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 2561;13(1);208-19.
สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์. โปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการและสร้างวินัยเชิงบวก โดยครอบครัวมีส่วนร่วม. เชียงใหม่: บริษัท สยามพิมพ์นานา จำกัด; 2563.
ชนาธิป กุลจิรากูล. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์ในนักเรียนชั้นประถมศึกษา อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก [วิทยานิพนธ์]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2564.
สราญจิต อินศร์, ยศสยา อ่อนคำ, ฤทธิรงค์ เรืองฤทธิ์. ประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการและสร้างวินัยเชิงบวกโดยครอบครัวมีส่วนร่วมต่อพัฒนาการเด็กอายุ 3 - 5 ปี จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. 2564;5(10):143-60.
ชุมศิริ ตันติธารา. ผลการใช้โปรแกรมการสร้างวินัยเชิงบวกที่มีต่อการทำงานของสมองด้านการจัดการของเด็กปฐมวัย [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2559.
มาลี เอื้ออำนวย, อภิรัช อินทรางกูร ณ อยุธยา, กมลทิพย์ ทิพย์สังวาล, พรรณนิภา บุญกล้า, ศศิธร คำมี, กรชนก หน้าขาว. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยต่อความรู้และพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กของบิดามารดาและผู้ดูแล อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. วารสารการพยาบายและสุขภาพ สสอท. 2564;3(1):48-63.
จุฬาลักษณ์ ยะวิญชาญ, วิชาภรณ์ คันทะมูล, ระบอบ เนตรทิพย์. ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์และเสริมสร้างวินัยเชิงบวกในเด็กปฐมวัยโดยครอบครัวมีส่วนร่วม อำเภอปัว จังหวัดน่าน. วารสารวิซาการสุขภาพภาคเหนือ. 2562;6(1):70-85.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-03-04 (2)
- 2024-03-04 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง