การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียในเด็กชนิดให้เลือดประจำ แบบ One stop service ในโรงพยาบาลกุมภวาปี

ผู้แต่ง

  • กันติชา ศรีมาตร โรงพยาบาลกุมภวาปี

คำสำคัญ:

ระบบการดูแลผู้ป่วย, โรคธาลัสซีเมียในเด็กชนิด, การให้เลือดประจำแบบ One stop service

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถานการณ์ พัฒนาระบบ และประเมินผลลัพธ์ของระบบการดูแลผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียในเด็กชนิดให้เลือดประจำแบบ One stop service ในโรงพยาบาลกุมภวาปี

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)

วัสดุและวิธีการวิจัย : ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informants) เป็นทีมสหสาขาวิชาชีพ จำนวน 8 คน  และผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์ว่าป่วยโลหิตจาง ธาลัสซีเมีย จำนวน 23 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูล แบบสังเกตและแบบประเมินผลลัพธ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน % differences และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis)

ผลการวิจัย : 1) พบสภาพปัญหาทั้งด้านผู้ให้บริการ ผู้รับบริการ และระบบบริการ 2) ระบบการดูแลผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย ประกอบด้วยคือ (1) พัฒนาศักยภาพบุคลากรและเครือข่าย (2) จัดตั้งคลินิกธาลัสซีเมียเปิดให้บริการทุกวันอังคารและวันศุกร์ (3) พัฒนาระบบคัดกรองสุขภาพ (4) พัฒนาแนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วย ได้แก่ การมี CPG การดูแลผู้ป่วย TDT การมี Standing order admit สามารถ Admit ไปพบกุมารแพทย์ที่ Ward (5) พัฒนาระบบ Lab สนับสนุน (6) พัฒนาระบบคัดกรองแบบ One stop service และ (7) ติดตามการรักษาต่อเนื่อง และหลังการพัฒนา ผู้วิจัยได้ประเมินผลลัพธ์การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียในเด็กชนิดให้เลือดประจำแบบ One stop service โดยใช้ตัวชี้วัดความสำเร็จ 8 ตัวชี้วัด พบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับเลือดเป็นประจำมีค่า Hb typing (<9.0%) ผลการดำเนินงานลดลงจาก 53.44% เป็น 18.12% Percentage differences ลดลง 98.71% ; ผู้ป่วยที่ได้ตรวจ SF (100.0%) เพิ่มขึ้น 67.45% เป็น 100.0% Percentage differences เพิ่มขึ้น 38.88% ; ผู้ป่วยที่ได้รับเลือดเป็นประจำ Hct <30% ลดลงจาก 26.0% เป็น18.0% Percentage differences ลดลง 36.63% และผู้ป่วยรายใหม่ที่ได้รับการตรวจเพิ่มขึ้นจาก 3 คน (6.18%)  เป็น 14 คน (23.72%) Percentage differences เพิ่มขึ้น 117.32%

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้ผลลัพธ์การดำเนินงานเพิ่มขึ้น และผู้รับบริการได้รับความสะดวก และลดระยะเวลารอคอยได้

References

สำนักวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยธาลัสซีเมียในเวชปฏิบัติทั่วไป. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2560.

โรงพยาบาลกุมภวาปี. สรุปผลการดำเนินงานประจำปี พ.ศ.2565. อุดรธานี. กลุ่มการพยาบาล; 2565.

Ashwill J W, Droske S C. Nursing Care of Children: Principles and Practice. Philadelphia: W.B. Saunders Company; 1997.

Hockenberry M J, Wilson D. Wong's nursing care of infants and children (10th ed.). St.Loius: Missouri; 2015.

Sanee A. Self-management program in chronic diseases. Journal of The Thai Army Nurses. 2014;15(2):129-34.

อรุณี เจตศรีสุภาพ. ธาลัสซีเมียแบบองค์รวม. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2552.

มูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. รายงานภาระโรคและการสูญเสียปีสุขภาวะ (Disability-Adjusted Life Years: DALYs) การบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ.2557. กรุงเทพฯ: เดอะกราฟิโก ชิสเต็มส์; 2557.

ปิยนันท์ ไพไทย, พิชัย บุญมาศรี, ระพีพรรณ นันทะนา. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเด็กโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียที่ได้รับเลือดในหอผู้ป่วยสามัญกุมารเวชกรรมทั่วไป โรงพยาบาลเลย. ชัยภูมิเวชสาร. 2563;40(1):34-43.

Kemmis S, Mc Taggart R. The action research planner. 3rd ed. Victoria: Deakin University press; 1990.

พนารัตน์ มัชปะโม. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ชนิดรุนแรงหรือชนิดพึ่งพาเลือดโรงพยาบาลวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. 2563;4(8):234-43.

Cazzola M, Stedano P D, Ponchio L, Locatelli F, Bequin Y, Dessi C, et al. Relation between transfusion regimen and suppression of erythropoiesis. Br J Heamatol, 1995;89(3):473-8.

Sahu S, Hemlata, Verma A. Adverse events related to blood transfusion. Indian J Anaesth. 2014;58(5):543-51.

นริศรา ศรีกุลวงศ์. การพัฒนาระบบการดูแลเด็กโรคโลหิตจางธาลัสชีเมียในโรงพยาบาลวานรนิวาส [อินเตอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 10 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hos.wanom.com/wp-content/uploads/2019/06/รวมเล่ม-งาน-R2R-โรงพยาบาลวานรนิวาส-ประจำปี-2558.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-04