ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดของผู้ป่วย โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในชุมชน โรงพยาบาลเสลภูมิ
คำสำคัญ:
การจัดการตนเอง, การฟื้นฟูสมรรถภาพปอด, ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าคะแนนเฉลี่ยการจัดการตนเอง และสมรรถภาพปอดของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หลังการทดลอง ระหว่างกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research; Two group pretest posttest design)
วิธีการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มารับบริการที่คลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโรงพยาบาลเสลภูมิ จำนวน 44 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 22 คน ดำเนินการระหว่างเดือนสิงหาคม-เดือนพฤศจิกายน 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบประเมินสมรรถภาพปอด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจง ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและIndependent t-test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 95% Confidence interval
ผลการวิจัย : หลังการทดลอง พบว่า ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโดยรวมมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยการจัดการตนเองมากกว่า 1.84 คะแนน และหลังการทดลอง พบว่า ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยสมรรถภาพปอดมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.038) โดยมีค่าเฉลี่ยสมรรถภาพปอดมากกว่า 62.72% (95%CI; 3.58, 121.86)
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้ในการจัดการตนเอง และฟื้นฟูสมรรถภาพปอดในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้
References
Lozano R, Naghavi M, Foreman K, Lim S, Shibuya K, Aboyans V, et al. Global and regionamortality from 235 causes of death for 20 age groups in 1990 and 2010: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2010. Lancet. 2012;38(2):2095-128.
MacNee W. Pathogenesis of chronic obstructive pulmonary disease. Proc Am Thorac Soc. 2005;2(1):258-66.
โรงพยาบาลเสลภูมิ. รายงานผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ประจำปี พ.ศ.2556. กลุ่มการพยาบาล; 2566.
Mitzner W. Emphysema--a disease of small airways or lung parenchyma?. N Engl J Med. 2011;36(3):1637-9.
Fletcher C, Peto R. The natural history of chronic airflow obstruction. Br Med J. 1977;1(2):1645-8.
Buist A S, McBurnie M A, Vollmer W M, Gillespie S, Burney P, Mannino DM, et al. International variation in the prevalence of COPD (the BOLD Study): a population-based prevalence study. Lancet. 2007;37(3):741-50.
Hickey S. Strategies for reducing exacerbations of COPD. Practice Nursing, 2010;21(2):78-83.
Mullerova H, Maselli D J, Locantore N, Vestbo J, Hurst R J, Wedzicha J A,et al. Hospitalized exacerbations of COPD: risk factors and outcomes in the ECLIPSE cohort. Chest. 2015;147:999-1007.
Garcia-Aymerich J, Farrero E, Felez M A, Izquierdo J, Marrades M R, Antóet J M. Risk factors of readmission to hospital for a COPD exacerbation: a prospective study. Thorax. 2003;58(2):100-5.
Burns N, Grove S K. The practice of nursing research: Appraisal, synthesis, and generation of evidence (6"ed.). St. Louis: Elsevier saunder; 2009.
Celli B R. Exercise in the rehabilitation of patient with respiratory disease. In J. HodgkinJ E, Celli B R, Connors G L (Eds), Pulmonary rehabilitation guidelines to success (3th 'ed). Philladelphia: Lippincort; 2000.
Creer L T. Self-management of chronic illness: Handbook of self-regulation. California: Academic; 2000.
สุทัศน์ พิภพสุทธิไพบูลย์, มณฑา เก่งการพานิช, ธราดล เก่งการพานิช, เบญจมาศ ช่วยชู. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองสำหรับการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 2560;47(2):200-11.
Tousman S, Zeitz H, Taylor L D. A Pilot Study Assessing the Impact of a Learner-Centered Adult Asthma Self-Management Program on Psychological Outcomes. Clinical Nursing Research. 2010;19(1):71-88.
O'Shea S D, Taylor N F, Paratz J D. Qualitative outcomes of progressive resistance exercise for people with COPD. Chronic Respiratory Disease. 2007;4:135-42.
ธีระพันธ์ โต้หนองแปน. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโรงพยาบาลกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์.วารสารวิชาการทางการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2566;3(1):6-16.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยาร่วมกับโรงพยาบาลพะเยา. แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง COPD: Chronic obstructive pulmonary disease. Service plan : COPD; 2563.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง