ผลของโปรแกรมส่งเสริมทันตสุขภาพต่อสุขภาพช่องปากในโรงเรียนผู้สูงอายุ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • อิทณาพร พันธภิบาล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก, ความรอบรู้ทันตสุขภาพ, คราบจุลินทรีย์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของโปรแกรมส่งเสริมทันตสุขภาพต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด

รูปแบบการวิจัย : การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลมะอึ จำนวน 40 คนเป็นกลุ่มทดลอง และโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลธวัชบุรี จำนวน 40 คนเป็นกลุ่มควบคุม เก็บข้อมูลในเดือน กุมภาพันธ์ - พฤษภาคม 2565 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์เพื่อรวบรวมปัจจัยส่วนบุคคล/ลักษณะทั่วไป ปัจจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก และแบบบันทึกการตรวจคราบจุลินทรีย์ สถิติที่ทดสอบใช้ T-test กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมทันตสุขภาพ การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มแบบเจาะจงผู้ที่มีอายุ 60-74 ปี การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติไคสแควร์( Chi-square test)

ผลการวิจัย : พบว่ากลุ่มที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมทันตสุขภาพ ส่วนใหญ่แปรงฟันหลังอาหาร ไม่มีเลือดออกขณะแปรงฟัน พบทันตแพทย์/ทันตาภิบาลเพื่อรับการตรวจรักษาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง มีหินปูนเล็กน้อย มีสภาวะดัชนีคราบจุลินทรีย์น้อยกว่ากลุ่มควบคุม ที่ใช้เป็นดัชนีวัดประสิทธิภาพในการทำความสะอาดช่องปากและเป็นการป้องกันโรคในช่องปากที่ดีที่สุด กลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากดีกว่ากลุ่มควบคุม

สรุปและข้อเสนอแนะ : จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมส่งเสริมทันตสุขภาพมีผลต่อความรอบรู้และสามารถนำไปใช้ในการดูสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เป็นการเพิ่มทักษะเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิผลและกระตุ้นให้ผู้สูงอายุดูแลสุขภาพช่องปากตนเองได้ดี

References

กรมสุขภาพจิต. ก้าวย่างของประเทศไทย สู่‘สังคมผู้สูงอายุ’อย่างสมบูรณ์แบบ [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต; 2563 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30476

กรมอนามัย. สำนักทันตสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ); 2561.

Bureau of Dental Health. Report of the 8th Thai national oral health survey 2017. Printing house of the war veterans organization; 2018.

Dechpratham P. Dysphagia in elderly. Jurnal of Thai Rehabilitation Medicine. 2013;23(3):73-80.

Suraseranivong R. Oral cavity in elderly.Journal of Charoenkrung Pracharak Hospital. 2018;14(1):87-100.

กรมอนามัย. สำนักทันตสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ); 2561.

อรวรรณ นามมนตรี, ศศินา ศรีหานาท, หทัยชนก ดวงศรี. ผลของโปรแกรมส่งเสริมทันตสุขภาพโดยประยุกต์ใช้การรับรู้ความสามารถของตนเองในการบริหารช่องปากเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของช่องปากในผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2564;1(2): 112-23.

สุดาดวง เกรันพงษ์. คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากและความรู้สึกจำเป็นต่อการใส่ฟันเทียมของผู้สูงอายุโดยกลุ่มที่มีความจำเป็นทางวิชาชีพต่อการใส่ฟัน. ว.ทันต. 2550;57(1).

ศุภศิลป์ ดีรักษา. ผลของโปรแกรมความรอบรู้ด้านทันตสุขภาพขั้นพื้นฐานเพื่อส่งเสริมสุขภาพช่องปากของผู้ใหญ่ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน. 2564;3(1):65-76.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-01