การพัฒนารูปแบบการดูแลรักษาและความร่วมมือในการรับประทานยาต้านไวรัสอย่างต่อเนื่องของผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ โรงพยาบาลหนองฮี จังหวัดร้อยเอ็ด
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถานการณ์ การพัฒนารูปแบบและผลลัพธ์ในการพัฒนารูปแบบการดูแลรักษาและความร่วมมือในการรับประทานยาต้านไวรัสอย่างต่อเนื่องของผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ โรงพยาบาลหนองฮี จังหวัดร้อยเอ็ด
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)
วัสดุและวิธีการวิจัย : การวิจัยครั้งนี้แบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะศึกษาสถานการณ์ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย 2) ระยะพัฒนารูปแบบตามแนวทางในการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีประเทศไทย ปี พ.ศ.2564/2565 และ 3) ระยะประเมินผลลัพธ์ในด้านความรู้ ความเข้าใจและความร่วมมือในการใช้ยา ระดับ CD4 และระดับ Viral load เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบเก็บข้อมูลที่พัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบผลลัพธ์ก่อนและหลังพัฒนาด้วย Paired sample t-test และวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย : สถานการณ์ในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ พบว่า ขาดแนวทางการดำเนินงานที่ไม่ทันสมัย ผู้ป่วยเข้าไม่ถึงการรักษา และผู้ป่วยมีปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์และใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่เหมาะสม มีปัญหาการดื้อยาและขาดความร่วมมือที่ดีในการรับประทานยาต้านไวรัส โดยได้ทำการพัฒนารูปแบบขึ้น คือ การดำเนินกิจกรรมในชุมชนเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงการรักษา การจัดทำแนวทางปฏิบัติที่ทันสมัยและสื่อสารการใช้งาน การลดการตีตราและเลือกปฏิบัติ การใช้ประโยชน์ข้อมูลทางด้านสารสนเทศ การพัฒนาศักยภาพบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน การให้ความรู้ผู้ป่วยและติดตามผลลัพธ์ด้วยทีมสหวิชาชีพ ซึ่งหลังพัฒนารูปแบบมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ 1) ระดับ CD4 2) ความร่วมมือในการใช้ยา 3) ความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อเอชไอวีและเอดส์ และ 4) ความเข้าใจด้านยาต้านไวรัส (p<.001, p<.001, p<.001 และ p<.001 ตามลำดับ)
สรุปและข้อเสนอแนะ : การพัฒนารูปแบบการดูแลรักษาและความร่วมมือในการรับประทานยาต้านไวรัสอย่างต่อเนื่องของผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ได้ทำการพัฒนาขึ้นเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน โดยการใช้แนวคิดเชิงระบบตามแนวทางการรักษาโรคโดยการมีส่วนร่วมจากสหสาขาวิชาชีพ เพื่อเป็นการให้ผู้ป่วยเกิดความร่วมมือที่ดีต่อการรักษาโรคและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
References
กรมควบคุมโรค. แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีจากกรมควบคุมโรค ประเทศไทย ปี 2564/2565 [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 1 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/das/forecast_detail.php?publish=12810&deptcode=das
คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์. แผนปฏิบัติการยุติปัญหาเอดส์ ประเทศไทย พ.ศ.2566 – 2569 [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 5 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://utoapp.moph.go.th/e_doc/views/uploads/64acc23133dc7e416518ab6594503b7eef6bf9aa40bde-1470.pdf
ศูนย์รวมข้อมูลสารสนเทศด้านเอชไอวีของประเทศไทย (HIV INFO HUB). การคาดประมาณการผู้ติดเชื้อเอชไอวี ปี 2565 [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 5 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://hivhub.ddc.moph.go.th/epidemic.php
นันทพงศ์ พงศ์สุวรรณ. ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้ารับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสในผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์รายใหม่ โรงพยาบาลตรัง. วารสารโรคเอดส์. 2563;32(2):68-78.
สัจพงษ์ โชคคติวัฒน์, ดวงฤดี วรชิณ. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี โรงพยาบาลเจริญศิลป์. วารสารโรคเอดส์. 2563;32(1):15-27.
ประจักร เหิกขุนทด. การพัฒนารูปแบบการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์โรงพยาบาลส่องดาว. วารสารโรคเอดส์. 2564;33(3):151-64.
วิราวรรณ ชมาฤกษณ์, ธนิดา ตั้งยิ่งยง, ยงยุทธ วัฒนาไชย. ประสิทธิผลของการพัฒนาระบบการดูแลผุ้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2557;29(1):29-40.
Kemmis S, McTaggart R. The action research planner. 3rd ef. Victoria : Deakin University press; 1988.
Samet J H, Cheng D M, Libman H, Nunes D P, Alperen J K, Saitz R. Alcohol consumption and HIV disease progression. Journal of acquired immune deficiency syndrome. 2007;46(2):194-99.
นันทิสา โชติรสนิรมิต. ดื่มเหล้าเบียร์จะมีผลอะไรกับการติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่. สารที่ปรึกษาชุมชน. 2557;14(97):2-5.
บังอร เทพเทียน, สุพัตรา ศรีวณิชชากร, ประภาพรรณ จูเจริญ. พฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีกับการใช้สารเสพติดของกลุ่มวัยรุ่นและเยาวชนในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสาธารณสุข.2560;26(2):240-52.
อลงกต สิงโต. ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นต่อการสูญเสียมวลกระดูกของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและแนวทางการดูแลเบื้องต้นด้านโภชนาการ. บูรพาเวลสาร. 2561;5(1):83-94.
อังศินันท์ อินทรกำแหง, พิชชาดา ประสิทธิโชค. ความรอบรู้ด้านสุขภาพในการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของกลุ่มช่วงวัยทำงาน: วิเคราะห์เมต้าและโมเดลเชิงสาเหตุ [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 5 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://bsris.swu.ac.th/upload/349392.pdf
สมาคมโรคเอดส์แห่งประเทศไทย. การกินอาหารเสริมหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มเซลล์ภูมิต้านทานซีดี 4 ในผู้ติดเชื้อเอชไอวี [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 5 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://th.trcarc.org/cotrcarc201123/.
Samet J H, Horton N J, Traphagen T E, Lyon S M, Freedberg K A. Alcohol consumption and HIV disease progression : Are they related ?. Alcoholism : Clinical and Experimental Research. 2006;27(5):862-67.
อรทัย ศรีทองธรรม, ศุภศรัย สง่าวงศ์, ศิริวรรณ อุทธา, อุบลศรี ทาบุดดา, จิรพันธุ์ อินยาพงศ์. การพัฒนารูปแบบการให้บริการสนับสนุนการกินยาต้านไวรัสอย่างต่อเนื่องในผู้ป่วยและผู้ติดเชื้อเอชไอวีในพื้นที่ภาคอีสาน ประเทศไทย. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10. 2561;16(2):18-32.
วีรชัย ตรีวัฒนาวงศ์. ผลการพัฒนาระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช. โรงพยาบาลสิงห์บุรีเวชสาร. 2560;26(2):17-30.
ชัยกฤติ ดีวะลา, ฑิฏฐิธนา บุญชู. ผลของโปรแกรมการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ที่ขาดนัดคลินิกนภา โรงพยาบาลบึงกาฬ [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 15 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://bkpho.moph.go.th/ssjweb/bkresearch/index.php?fn=detail&sid=242
สัจพงษ์ โชคคติวัฒน์, ดวงฤดี วรชิน. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี โรงพยาบาลเจริญศิลป์. วารสารโรคเอดส์. 2563;32(1):15-26.
นาวา ผานะวงค์. ผลการใช้โปรแกรมลดการตีตราและการเลือกปฏิบัติกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีในโรงพยาบาลอากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร ปี พ.ศ.2562. วารสารโรคเอสด์. 2562;32(1):125-41.
จารุณี ศิริพันธุ์. ผลสำรวจพบคนไทยยังรังเกียจผู้ติดเชื้อเอชไอวี เร่งแก้ไข ป้องกัน “ตีตรา-เลือกปฏิบัติ” [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 15 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/2015/08/10730
สุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ์, กรรณิการ์ อินต๊ะวงศ์. รายงานการวิเคราะห์ระบบการพัฒนารูปแบบการประมวลผลการออกแบบ เพื่อใช้สำหรับการนำเสนอข้อมูลในระบบสารสนเทศการให้บริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีผู้ป่วยเอดส์แห่งชาติ. [อินเอตร์เน็ต], 2566 [เข้าถึงเมื่อ 15 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://hivhub.ddc.moph.go.th/Download/Report/Others/NAPCMU_final_report.pdf
สุวรรณา บุญยะลีพรรณ, วงศา เลาหศิริวงศ์, เจียมจิต แสงสุวรรณ, ภัทระ แสนไชยสุริยา, ภพ โกศลารักษ์, ธีระ ฤทธิรอด, และคนอื่นๆ. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์อย่างครอบคลุมในโรงพยาบาลชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น.2550;12(1):43-52.
กมลรัตน์ ณ หนองคาย. การบริบาททางเภสัชกรรมผู้ป่วยนอกที่ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ โรงพยาบาลศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย. วารสารเภสัชกรรมคลินิก. 2566:29(3):153-64.
รัชฎาพร วิสัย, รินดาวรรณ พันธุ์เขียน, ภิรุญ มุตสิกพันธ์, เชิดชัย สุนทรภาส. การบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยนอกที่ติดเชื้อเอชไอวี ณ โรงพยาบาลศรีนครินทร์. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน. 2549;2(2)66-75.
วาทินี บุญญรัตน์. ผลการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีโดยเภสัชกร. เภสัชกรรมคลินิก. 2566;29(2)131-42.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-03-01 (2)
- 2024-03-01 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง