การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด: กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • วราทิพย์ บุญญรากุล โรงพยาบาลหนองสองห้อง

คำสำคัญ:

การพยาบาลภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลลัพธ์ทางการพยาบาลผู้ป่วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด เปรียบเทียบกรณีศึกษา 2 ราย ที่ได้เข้ารับการรักษา โรงพยาบาลหนองสองห้อง

วัสดุและวิธีการศึกษา : การศึกษาเปรียบเทียบกรณีศึกษา 2 ราย ที่ได้เข้ารับการรักษา โรงพยาบาลหนองสองห้อง ในการส่งเสริมให้ผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดได้รับการดูแลที่ถูกต้องเหมาะสมปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน ศึกษาในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือดในเดือนกันยายน ถึงเดือน ธันวาคม 2566 จำนวน 2 ราย โดย เปรียบเทียบกับงานวิจัยและการพยาบาล

ผลการศึกษา : การศึกษาเปรียบเทียบกรณีศึกษา 2 รายครั้งนี้ พบว่าผู้ป่วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด  ที่ได้รับการคัดกรองตั้งแต่แรกรับ โดยใช้แนวทางการดูแลตาม SIRS และ MEWS Score ผู้ป่วยจะได้รับการเข้าตรวจรักษาตามแนวทางทาง KhonKaen Sepsis protocol อย่างรวดเร็ว สามารถลดความรุนแรงของโรค เพิ่มโอกาสรอดชีวิตและจำนวนวันนอนในโรงพยาบาลน้อยกว่า

สรุปและข้อเสนอแนะ : การพัฒนาระบบการดูแลรักษาผู้ป่วย Sepsis ในระบบคัดกรองตั้งแต่แรกรับ และมีการติดตามระบบการดูแลรักษาผู้ป่วย Sepsis ร่วมด้วย ส่งผลให้การรักษาโรคมีประสิทธิผลเพิ่มขึ้น

References

กระทรวงสาธารณสุข. Inspection Guideline ติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรง [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 23 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://203.157.229.18/inspec/2561/inspec1

ฑิตยา วาระนัง. ผลลัพธ์ของการใช้แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต โรงพยาบาลฝาง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. 2562;11:1-8.

โรงพยาบาลหนองสองห้อง. รายงานข้อมูลประจำปี 2566. จังหวัดขอนแก่น. โรงพยาบาลหนองสองห้อง; 2566.

Amland R C, Hahn-Cover K E. Clinical decision support for early recognition of sepsis. American Journal of Medical Quality. 2019;34(5):494–501.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29