ผลของโปรแกรมสร้างเสริมความรอบรู้ด้านอนามัยเจริญพันธ์ร่วมกับการใช้สื่อเพลงต่อความเข้มแข็งทางจิตใจในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของนักเรียนวัยรุ่นตอนต้น

ผู้แต่ง

  • พวงเพชร นิลพันธุ์ โรงพยาบาลร้อยเอ็ด
  • อุไรพรณ์ ทิดจันทึก โรงพยาบาลร้อยเอ็ด
  • จันจิรา สายเชื้อ โรงพยาบาลร้อยเอ็ด
  • ภัทราพร ตันนุกูล โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, อนามัยเจริญพันธ์, ความเข้มแข็งทางจิตใจ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสร้างเสริมความรอบรู้ด้านอนามัยเจริญพันธ์ร่วมกับการใช้สื่อเพลงต่อความเข้มแข็งทางจิตใจในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ของนักเรียนวัยรุ่นตอนต้น

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตอำเภอเมืองร้อยเอ็ด จำนวน 50 คน ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนมีนาคม - มิถุนายน 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามด้านความเข้มแข็งทางจิตใจ ความรู้ความเข้าใจ และพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติอนุมาน Paired sample t-test และ Independent t-test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ p<.05

ผลการวิจัย : ผลการเปรียบเทียบความเข้มแข็งทางจิตใจในกลุ่มนักเรียนวัยรุ่นตอนต้น ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยความเข้มแข็งทางจิตใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.001) โดยกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความเข้มแข็งทางจิตใจมากกว่ากลุ่มควบคุม 4.46 คะแนน (95% CI : 3.97, 4.94) และมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ความเข้าใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.001) โดยกลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้ความเข้าใจมากกว่ากลุ่มควบคุม 8.92 คะแนน (95% CI : 8.20, 9.63) และมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.001) โดยกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมมากกว่ากลุ่มควบคุม 1.70 คะแนน (95% CI : 1.14, 2.25)

สรุปและข้อเสนอแนะ : โปรแกรมสร้างเสริมความรอบรู้ด้านอนามัยเจริญพันธ์ร่วมกับการใช้สื่อเพลง ส่งผลให้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีความเข้มแข็งทางจิตใจเพิ่มมากขึ้น มีความรู้ความเข้าใจการป้องกันการตั้งครรภ์มากขึ้น และยังส่งผลให้มีพฤติกรรมด้านการป้องกันการตั้งครรภ์ไปในทางที่ดีขึ้นด้วยเช่นกัน

References

Adolescent Pregnancy (Issues in Adolescent health and Development), World Health Organization 2004 [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 10 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/ lecturestopics/topic- review/2229/

สำนักอนามัยเจริญพันธ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2563 [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 10 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://rh.anamai.moph.go.th/webupload/7x027006c2abe84e89b5c85b44a692da94/202101/m_news/32053/200929/file_download/5499b750564075b590cc442f64caae41.pdf

สำนักอนามัยเจริญพันธ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2565 [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 10 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://rh.anamai.moph.go.th/th/department-yearly-report/download/?did=212085&id=100907&reload

เกณิกา จิรัชยาพร, ทิพย์ภา เชษฐ์เชาวลิต. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจของวัยรุ่นตอนต้น ในโรงเรียนแห่งหนึ่งของจังหวัดสงขลา. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2558;29(3):113-25.

ประกาย จิโรจน์กุล. การวิจัยทางการพยาบาล : แนวคิด หลักการและวิธีปฏิบัติ.นนทบุรี:โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก; 2548.

พัชรินทร์ นินทจันทร์, ศรีสุดา วนาลีสิน, ลัดดา แสนสีหา, ขวัญพนมพร ธรรมไทย, พิศสมัย อรทัย. ความแข็งแกร่งในชีวิตและพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่นไทย. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางการพยาบาล.2554;17(3):430-43.

สาริตา สวัสดิกำธร. เนื้อหาเพลงและอัตลักษณ์แฟนเพลงฮิปฮอปในประเทศไทย [อินเตอร์เน็ต].กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2549 [เข้าถึงเมื่อ 10 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/CU.the.2006.148

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29