This is an outdated version published on 2024-02-23. Read the most recent version.

การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีภาวะซับซ้อน กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • อุรารัตน์ จำลองเพ็ง โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม, ภาวะซับซ้อน, กรณีศึกษา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ :  เพื่อเปรียบเทียบกรณีศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีภาวะซับซ้อน 2 รายและเพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัดและการผ่าตัด   

 รูปแบบการวิจัย : การศึกษารายกรณี (Case Study Research Design)

วัสดุและวิธีการวิจัย : การศึกษาผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านมที่มีภาวะซับซ้อนครั้งนี้ดำเนินการระหว่างเดือนกันยายน 2566 ถึงเดือนมกราคม 2567 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง 2 ราย ดำเนินเก็บข้อมูลจากเวชระเบียน สัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป ข้อมูลการเจ็บป่วย ข้อมูลแบบแผนสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการตั้งแต่เริ่มแรกรับถึงการจำหน่าย Cases จากตึกผู้ป่วยนอก และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัย : สรุปข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่สำคัญกรณีศึกษารายที่ 1) ผู้ป่วยและญาติมีความกังวลเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม จากการรักษาและการปฏิบัติตัวก่อนผ่าตัด 2) ผู้ป่วยปฏิบัติตัวไม่ถูกต้องเนื่องจากพร่องความรู้ในการปฏิบัติตัวก่อนและหลังผ่าตัด 3) ผู้ป่วยสูญเสียภาพลักษณ์เนื่องจากการตัดเต้านมด้านขวา และ 4) ผู้ป่วยไม่สุขสบายเนื่องจากเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด แต่กรณีศึกษารายที่ 2 พบว่า ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่สำคัญ ได้แก่ 1) ผู้ป่วยและญาติมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม การรักษาและการปฏิบัติตัวก่อนการให้ยาเคมีบำบัด 2) ผู้ป่วยปฏิบัติตัวไม่ถูกต้องเนื่องจากพร่องความรู้ในการปฏิบัติตัวก่อนและหลังการให้ยาเคมีบำบัด 3) ผู้ป่วยรู้สึกสูญเสียภาพลักษณ์ เนื่องจากผมร่วงจากการให้ยาเคมีบำบัด 4) ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะทุพโภชนาการเนื่องผลข้างเคียงการให้เคมีบำบัด และ 5) ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการติดเชื้อเนื่องจากมีการทำลายกลไกการป้องกันเชื้อโรคจากการได้รับยาเคมีบำบัด

 สรุปและข้อเสนอแนะ :  ผลการศึกษาส่งผลให้ได้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีภาวะซับซ้อนขึ้น

References

Zhang L, Huang Y, Feng Z, Wang X, Li H, Song F, et al. Comparison of breast cancer risk factors among molecular subtypes: A case only study. Cancer Med. 2019;8(4):1882-92.

ภรณี เหล่าอิทธิ, นภา ปริญญานิติกูล. มะเร็งเต้านม: ระบาดวิทยา การป้องกัน และแนวทางการตรวจคัดกรอง. Chula Med J. 2559;60(5):489-507.

สถานวิทยามะเร็งศิริราชและสาขาศัลยศาสตร์ ศีรษะ คอ และเต้านม.ข้อมูลมะเร็งเต้านม โรงพยาบาลศิริราชระหว่างปี พ.ศ. 2557-2561. ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล; 2563.

โรงพยาบาลร้อยเอ็ด. รายงานการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์. ร้อยเอ็ด: งานพัฒนายุทธศาตร์สาธารณสุข; 2565.

จินตนา ลี้ละไกรวรรณ. Case Management: เอกสารประกอบการสอนวิชา 251751และวิชา 251886. ขอนแก่น : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2543.

Orem D E. Nursing: Concepts of practices (6th ed.). St. Louis: Mosby Year Book; 2001.

Gordon Marjory. Manual of Nursing Diagnosis. Health Nursing: A Clinical Approach. (6thed). Elsevier; 2007.

Fuller J M, Schaller A J. Health assessment: A nursing approach (3rd ed.). Philadelphia: J.B Lippincott; 2000.

Potter P A, Perry A G. Basic nursing: A critical thinking approach (4"ed.). St.Louis: Mosby; 1999.

อัญชลี สงวนรักษ์. การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมวัยทำงานที่มีภาวะเครียดฉับพลันกับการจัดการรายกรณีเพื่อการกลับเข้างานโดยใช้ทฤษฎีโอเร็ม. กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยใน ภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กรมการแพทย์; 2565.

ณัฏชากรณ์ เทหปการ, ธิดาจิต มณีวัต, จารุวรรณ สุวรรณบูรณ์. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งเต้านมแบบถอนรากชนิดดัดแปลง หอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง 2 โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ. 2565;5(1):99-109.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-23

Versions