การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยติดสุรา อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
ระบบการดูแลผู้ป่วยติดสุรา, ผู้ป่วยติดสุรา, แนวทางการดูแลผู้ป่วยติดสุราบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยติดสุรา พัฒนาระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยติดสุรา และประเมินผลการดูแลรักษาผู้ป่วยติดสุราในพื้นที่อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research)
วัสดุและวิธีการวิจัย : การวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาลักษณะทางคลินิกและการวางแผนการดูแลผู้ป่วยติดสุราในโรงพยาบาลนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม ระยะที่ 2 การปฏิบัติการตามแผน ระยะที่ 3 การประเมินผล โดยผู้ที่มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลในการศึกษาครั้งแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ 1) เวชระเบียนผู้ป่วยติดสุราที่มารับการรักษาและนอนในโรงพยาบาลนาเชือก ทั้งหมดจำนวน 45 คน และ 2) บุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้ป่วยติดสุรา ซึ่งประกอบด้วยแพทย์ 5 คน เภสัชกร 5 คน พยาบาล จำนวน 15 คน รวมทั้งหมด 25 คน ระยะเวลาดำเนินการทำวิจัยระหว่าง 1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566 เครื่องมือการเก็บข้อมูล ได้แก่ 1) แบบบันทึกข้อมูลในการดูแลผู้ป่วยติดสุรา 2) ประเด็นคำถามเชิงลึกสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดสุรา และ 3) แบบประเมิน ASSIST-Thai และ CIWA-Ar score
ผลการวิจัย : การวิจัยนี้มี 3 ระยะ ดังนี้ 1. ระยะศึกษาลักษณะทางคลินิกของผุ้ป่วยติดสุรา โดยการทบทวนเวชระเบียนย้อนหลังในผู้ป่วยติดสุราที่นอนรักษาตัวในโรงพยาบาลนาเชือก พบปัญหา 1) การไม่ใช้แบบประเมิน CIWA-Ar score 2) ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังจากนอนโรงพยาบาล 2. ระยะพัฒนา ด้วยการใช้วงจร PAOR ของKimmis and MC Taggart โดยประกอบด้วย 4 ขั้นตอน โดยใช้คือ มีขั้นตอนการวางแผน (P=Plan) ประชุมหาสาเหตุเพื่อวางแผน Act ปฏิบัติตามแผน Observer สังเกต Reflect สะท้อนผล หลังจากปฏิบัติในวงรอบ มีกิจกรรมที่สำคัญได้แก่การอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะบุคลากรในการดูแลผู้ป่วยติดสุรา การพัฒนาแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยติดสุรา 3. ระยะประเมินผล โดยการติดตามการดูแลผู้ป่วยที่ติดสุราตามแนวทางปฏิบัติที่ออกแบบและพัฒนาร่วมกันโดยสหวิชาชีพ ได้แก่ การใช้แบบประเมิน ASSIST-Thai และ CIWA-Ar score ในผู้ป่วยติดสุราที่นอนในโรงพยาบาลนาเชือกเพิ่มขึ้น
สรุปและข้อเสนอแนะ : การพัฒนาระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยติดสุรา ส่งผลให้ผู้ป่วยติดสุราได้รับการดูแลรักษาที่ครอบคลุมมากขึ้น เกิดผลลัพธ์ที่ดีในการพัฒนางาน ผู้ป่วยเข้าถึงระบบการรักษาที่ดีและมีประสิทธิภาพ
References
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). เครื่องดื่มแอลกออล์กับสมอง ความจริงที่นักดื่มไม่รู้ [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 5 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https:www.thaihealth.or.th/เครื่องดื่มแอลกอฮอล์/
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิตัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. การสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากร พ.ศ.2564 [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 5 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก : https://www.trc.or.th/th/attactments/airticle/618/สถิติบุหรี่%202564.pdf
จิรลักษณ์ นนทารักษ์. แนวโน้มสถานการณ์การเจ็บป่วยและเสียชีวิตอันมีสาเหตุเกี่ยวข้องกับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทยปี 2558-2562 [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 5 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://cas.or.th/wp-content/uploads/2022/06รายงานการศึกษาAAF-logo-2.pdf
กนกวรรณ จังอินทร์, สมเดช พินิจสุนทร. พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์และผลกระทบต่อครอบครัวของผู้ดื่มแอลกอฮอล์ที่เข้าบำบัดในโรงพยาบาลธัญญารักษ์อุดรธานี. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชนขอนแก่น. 2560;5(3):487-501.
สุจิตตา ฤทธิ์มนตรี, โสภิดา ดาวสดใส, ขวัญสุดา บุญทศ, ศริญญา ชาญสุข. ผลกระทบจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้อื่นตามการรับรู้ของเหยื่อ. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี. 2566;31(1):51-61.
Kemmis S, McTaggart R. The action research planner. 3rd ef. Victoria : Deakin University press; 1988.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. แผนการสอนที่ 3 การคัดกรองและประเมินพฤติกรรมการดื่ม [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 5 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก : http://edoc.ptho.moph.go.th/upload/1603253132.pdf
พรทิพย์ ธรรมวงค์, อัญชลี ดำรงไชย. ความเชื่อมั่นของการใช้แบบประเมิน CIWA-Ar ของบุคลากรพยาบาลในโรงพยาบาลสวนปรุง เชียงใหม่ [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก : https://dmh-elibrary.org/items/show/1475
นิพนธ์ ชิวานนท์เวช, พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์, เทิดศักดิ์ เดชคง, หรรษา เศรษฐบุปผา, ปริทรรศ ศิลปะกิจ, อัครพล คุรุศาสตรา, และคนอื่นๆ. แนวปฏิบัติการคัดกรองและบำบัดรักษาฟื้นฟูสภาพผู้มีปัญหาการดื่มสุรา. นนทบุรี: คณะอนุกรรมการพิจารณาด้านการบำบัดรักษาฟื้นฟูสภาพผู้ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กระทรวงสาธารณสุข; 2561.
กนกกาญจน์ วิโรจน์อุไรเรือง, อัมพร สีลากุล, วิมาลา เจริญชัย. การพัฒนาแนวทางดูแลรักษาผู้ป่วยแอลกอฮอล์ในระยะถอนฤทธิ์สุราแบบผู้ป่วยในโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. 2564;15(1):29-48.
อรรถวุฒิ ธรรมชาติ. ผลการดูแลผู้ป่วยมีภาวะถอนพิษสุราแบบผู้ป่วยใน โรงพยาบาลโพธิ์ศรีสุวรรณ. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2567;18(1):61-70.
เปรมฤทัย ไชยฮะนิจ, เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์. ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มสุราในผู้ติดสุราที่มีโรคจิตเวชร่วม. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2557;28(1):105-20.
สาวิตรี อัษณางค์กรชัย, อโนชา หมึกทอง, ถนอมศรี อินทนนท์. รายงานผลการศึกษาเรื่อง การเฝ้าระวังพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขอภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทย. สงขลา: พิมพ์ดีการพิมพ์; 2551.
ชนิกา ศฤงคารชยธวัช. ผลการพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์โดยใช้แบบประเมิน CIWA-Ar score ในโรงพยาบาลพังงา. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11. 2562;33(2):281-92.
ทรงพล โลดทนงค์, นวนันท์ ปิยะวัฒน์กูล, สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล, พงศธร พหลภาคย์, สงวน บุญพูน. อัตราการหายของภาวะขาดสุราหลังจากใช้แนวทางการรักษาของโรงพยาบาลศรีนครินทร์. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2558;60(2):139-48.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปีกรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2559. กรุงเทพฯ: บางกอก-บล็อก; 2559.
สุวรา แก้วนุ้ย. การคัดกรอง บำบัด รักษาและฟื้นฟูผู้มีปัญหาจากการดื่มสุรา : ช่องว่างภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2554;5(4):439-51.
ณัฏฐวรัตน์ อเนกวิทย์. ผลลัพธ์ทางคลินิกของการใช้แนวทางการดูแลผู้ที่มีปัญหาพฤติกรรมการดื่มสุราในแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพจังหวัดมหาสารคาม. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2561;63(4):371-82.
ชวิศา ไชยมงคล. ผลของการป้องกันและรักษาภาวะเวอร์นิเกคอร์ซาคอฟด้วยวิตามินบี 1-6-12 ในผู้ป่วยติดสุรา [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.sdtc.go.th/upload/forum/doc6215a3e5e608c6215.pdf
ชัชวาล ลีลาเจริญพร, ศรีสุพรรณ นันทไพบูลย์. ผลของการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยติดสุราที่โรงพยาบาลพิมาย. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2550;1(3-4):375-84.
นิตยา เศรษฐจันทร์, ปฏิญญา ทำสะดวก, นิวัต อุณฑพันธ์, กมลรัตน์ จิตติชัยโรจน์, คมสิน อุ่นจิตติกุล, ธีรนัย อิ่มพรมราช, และคนอื่นๆ. การศึกษาโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดสุรา. นครราชสีมา: โรงพยาบาลจิตเวชนคราชสีมาราชนครินทร์. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2557.
นิรุจน์ อุทธา, จันทร์โท ศรีนา, ธาดาวรรณ ภูมาตนา, สุจิตรา อุทธา, อนุชา สิงห์ยะบุศย์, อากร บุญเกิด, และคนอื่นๆ. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ในสถานบริการสาธารณสุขและชุมชน จังหวัดขอนแก่น. ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดขอนแก่น/สถาบันธัญรักษ์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2548.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-02-22 (2)
- 2024-02-22 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง