การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลศรีสมเด็จ
คำสำคัญ:
การพัฒนา, การติดเชื้อในกระแสเลือด, แนวทางการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด, ภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสเลือดบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถานการณ์และสภาพปัญหา พัฒนา และประเมินผลการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)
วัสดุและวิธีการวิจัย : การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการ 3 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะศึกษาสถานการณ์และสภาพปัญหา โดยการทบทวนเวชระเบียนย้อนหลังและสัมภาษณ์เชิงลึกทีมสหสาขาวิชาชีพที่ดูและผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด 2) ระยะพัฒนารูปแบบและนำสู่การปฏิบัติ ด้วยการพัฒนาแนวทางการดำเนินงาน ด้วยการสนทนากลุ่ม และ 3) ระยะประเมินผลลัพธ์ ด้วยการศึกษาจากเวชระเบียน และประเมินแนวทางที่พัฒนาด้วยการเปรียบเทียบการดำเนินงานก่อนและหลังการพัฒนาในด้านกิจกรรมการปฏิบัติทางการพยาบาล ระยะเวลาที่ให้บริการตามมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด และตัวชี้วัดที่สำคัญระดับโรงพยาบาล ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ สถิติไคสแควร์ การทดสอบแมนวิท นี ยู และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย : ระยะที่ 1 พบปัญหาการคัดกรองและวินิจฉัยโรคที่ช้า ปัญหาด้านการขาดอุปกรณ์และยาที่สำคัญ ปัญหาด้านอัตรากำลังไม่เพียงพอ ปัญหาบุคลากรขาดความรู้ ระยะที่ 2 แนวทางที่พัฒนาขึ้นใหม่ คือ 1) การคัดกรองและวินิจฉัยที่รวดเร็วขึ้น 2) การประเมินและเฝ้าระวังทางการพยาบาลด้วยการใช้ SOS score 3) การใช้เครื่องตรวจ Lactate clearance การใช้สารน้ำ Crystalloid และการบริหารยากลุ่ม Vasopressor 4) การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมความรู้ที่ทันสมัยและเป็นการเผยแพร่แนวทางการดำเนินงาน 5) การจัดทำแนวทางปฏิบัติของสหสาขาวิชาชีพและการพยาบาล และ 6) การติดตาม กำกับและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง และระยะที่ 3 มีการปฏิบัติกิจกรรมทางการพยาบาลที่ครอบคลุมและเพิ่มขึ้น มีการคัดกรองและวินิจฉัยที่รวดเร็วขึ้น และมีการดำเนินงานผ่านตัวชี้วัดที่สำคัญในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดผ่านเกณฑ์มากยิ่งขึ้น
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการศึกษาในครั้งนี้ส่งผลให้ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดได้รับการดูแลรักษาและการพยาบาลที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เกิดความปลอดภัยต่อผู้ป่วย ลดภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นและลดอัตราตาย
References
วราภรณ์ ศิริราช. การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะ Sepsis [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://leadsin.go.th/ex/C8/C8_8.pdf
นัยนา ธนฐิติวงศ์. ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วย sepsis ที่รับไว้ในโรงพยาบาลสกลนคร. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร. 2566;26(1):36-52.
สมาคมเวชบำบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วย Severe sepsis และ Septic shock [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 2 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ayhosp.go.th/ayh/images/HA/miniconf/5.pdf
ทีม PCT อายุรกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระยุทราชนครไทย. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย Sepsis/Septic shock โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชนครไทย [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 2 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nktcph.go.th/cqi/cqi-2565/-sepsisseptic-shock-.html
มันทนา จิระกังวาน, ชลิดา จันเทพา, เพ็ญนภา บุบผา. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรง (Severe sepsis) ในโรงพยาบาลศรีสะเกษ. วารสารกองการพยาบาล. 2558;42(3):9-33.
ธิราภรณ์ อุ่นแก้ว, อนุพันธ์ สุวรรณพันธ์. การพัฒนาการดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตของโรงพยาบาลขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. 2564;1(2):40-52.
William Edwards Deming. Quality Management Cycle (PDCA: Deming Cycle) [Internet]. 2017 [cited 2024 Jan 1]. Available from: https://www.ftpi.or.th/2015/2125
จริยา ผดุงพัฒโนดม. การติดเชื้อในกระแสเลือดโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า. วารสารเทคนิคการแพทย์. 2561;46(3):6764-78.
สมศรี ซื่อต่อวงษ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้ SOS score เพื่อเป็นสัญญาณเตือนก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤติของพยาบาลวิชาชีพ. วารสารโรงพยาบาลชลบุรี. 2560;42(3):257-64.
ภาพิมล โกมล, รัชนี นามจันทรา, วารินทร์ บินโฮเซ็น. คุณภาพการจัดการดูแลผู้มีกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือดที่หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสิงห์บุรี. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. 2560;6(2):32-27.
สมพร รอดจินดา, สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, วิมลทิพย์ พวงเข้ม. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อกระแสเลือด หอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลน่าน. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2560;30(1):120-34.
ณฐวรรณ เมธรุจภานนท์, เรมวล นันท์ศุภวัฒน์, อารีวรรณ กลั่นกลิ่น. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการถ่ายโอน การเรียนรู้ภายหลังการฝึกอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางของพยาบาลวิชาชีพ. พยาบาลสาร. 2558;42(2):1-11.
รัชนี ศุจิจันทรรัตน์, อรุณรัตน์ เทพนา, วราพร หาญคุณะเศรษฐ์. อัตรากำลังพยาบาลกับผลลัพธ์ด้านการติดเชื้อในโรงพยาบาล. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม. 2561;19(37):6-21.
พรนภา วงศ์ธรรมดี, รัชนี นามจันทรา, วารินทร์ บินโฮเซ็น. คุณภาพการจัดการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดที่หน่วยงานอายุรกรรม. วารสารการพยาบาลแลสุขภาพ สสอท. 2562;1(1):33-49.
อัญชลี มากบุญส่ง. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการนำใช้ SOS Score ในกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดของพยาบาลวิชาชีพกลุ่มงานอายุกรรม โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 1 มกราคม 2566].เข้าถึงได้จาก: https://vachiraphuket.go.th/index.php?name=knowledge&file=readknowledge&id=630
ศจีรัตน์ โกศล, ประภาพร ชูกำเนิด, ปราโมทย์ ทองสุข. การพัฒนารูปแบบการจัดการการเฝ้าระวังการติดเชื้อในกระแสเลือดในผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวของโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้ 2564.;14(1):97-102.
ทัศนี รอดภัย. กาพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตที่มีภาวะช็อก. วารสารวิจัยและวิชาการสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร. 2566;4(1):56-67.
สุรีรัตน์ ศรีพิมพ์สอ. ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลในระยะ 6 ชั่วโมงแรก ต่อผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดในโรงพยาบาลเพ็ญ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 1 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://backoffice.udpho.org/openaccess/control/download.php?id==MTM4
อังคณา เกรียรติมานะโรจน์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลวาปีปทุม. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. 2566;4(9):27-43.
กรรณิการ์ อำพนธ์, ชัชญาภา บุญโยประการ, พัชรินทร์ ศิลป์กิจเจริญ. ผลลัพธ์ของการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลพระปกเกล้า. วารสารศูนย์การศึกษาแพทย์ศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 2560;34(3):222-36.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง