การพัฒนาระบบการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อวัณโรคในกลุ่มผู้สัมผัสโรคร่วมบ้าน ในเครือข่ายสุขภาพอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • ศรัณญา แก้วคำลา โรงพยาบาลเสลภูมิ

คำสำคัญ:

การป้องกันและควบคุมวัณโรค, ผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่, ผู้สัมผัสโรคร่วมบ้าน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหา พัฒนาระบบ และประเมินผลลัพธ์ของระบบการป้องกันและควบคุมวัณโรค สำหรับผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่และผู้สัมผัสโรคร่วมบ้านในเครือข่ายสุขภาพอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

รูปแบบการวิจัย :  การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Mutual collaborative action research)

วัสดุและวิธีการวิจัย : ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นทีมสหสาขาวิชาชีพ ผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ผู้ป่วยวัณโรคที่ขึ้นทะเบียนในคลินิกวัณโรคและกลุ่มผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบงานการป้องกันและควบคุมวัณโรค ดำเนินการระหว่างเดือนตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนสิงหาคม 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบ แบบสอบถาม ทะเบียนผู้ป่วย และแนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  

ผลการวิจัย : การวิเคราะห์สถานการณ์พบว่า กลุ่มเป้าหมาย การปฏิบัติ และผู้นำชุมชนขาดความรู้ การวางแผนร่วมกัน  การประสานงาน การติดตามเยี่ยมบ้านอย่างต่อเนื่อง การมีส่วนร่วมต่อการควบคุมวัณโรคที่เหมาะสม  ระบบการป้องกันและควบคุมวัณโรคฯ ประกอบด้วยการวิเคราะห์สถานการณ์การดูแลผู้ป่วยวัณโรค การพัฒนาระบบ การนำระบบฯ ไปใช้และสะท้อนผลการปฏิบัติและการกำกับ ติดตาม และประเมินผลลัพธ์ และหลังการพัฒนา พบว่า ผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่มีคะแนนความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองอยู่ในระดับดีคิดเป็น 85.7% และคะแนนการปฏิบัติกิจกรรมการดูแลตนเอง โดยรวมคิดเป็น 78.6% และผู้สัมผัสโรคร่วมบ้านมีคะแนนความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเอง โดยรวมเป็น 76.9% และคะแนนการปฏิบัติกิจกรรมการดูแลตนเองโดยรวมคิดเป็น 79.5%

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้ผู้ป่วยวัณโรคและผู้สัมผัสร่วมบ้านมีป้องกันและควบคุมวัณโรคเพิ่มขึ้น

References

กองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. การบริหารจัดการค้นหาและรักษาการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงสำหรับผู้สัมผัสวันโรค. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2563.

โรงพยาบาลเสลภูมิ. รายงานผลการปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์. กลุ่มงานยุทธศาสตร์; 2565.

กองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการสอบสวนควบคุมวัณโรค (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2566.

กองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แผนปฏิบัติการระดับชาติด้านการต่อต้านวัณโรค พ.ศ. 2560 – 2564 (เพิ่มเติม พ.ศ. 2565). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2564.

ธนาธิป บัวกล้า. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป่วยเป็นวัณโรคปอดในผู้ป่วยเบาหวานในโรงพยาบาลโรงพยาบาลหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี วารสารสุขภาพและสื่งแวดล้อมศึกษา. 2565;7(1):137-48.

ฐิติมา ถมทอง. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรมการป้องกันวัณโรคของผู้สัมผัสกับผู้ป่วยวัณโรคในเขตอำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก [วิทยานิพนธ์]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2564.

มะลิณี บุตรโท, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ. การป้องกันวัณโรคในผู้สัมผัสร่วมบ้านของผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อที่ขึ้นทะเบียนรักษา อำเภอประโคนชัย อำเภอกระสัง และอำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ประเทศไทย. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนเก่น. 2554;18(3):11-21.

อภิชน จีนเสวก. การพัฒนารูปแบบการจัดการวัณโรค โรงพยาบาลลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2564;30(4):679-89.

พชรพร ครองยุทธ, ปัทมา ล้อพงค์พานิชย, เจษฎา สุราวรรณ์, จักรกริช ไชยทองศรี, กชมน นรปติ. การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชุน. 2565;8:15-26.

อะเคื้อ อุณหเลขกะ. การประยุกต์ใช้วิธีการพัฒนาคุณภาพโดยความร่วมมือในการป้องกันการขาดยาของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่. คลังข้อมูลและความรู้ระบบสุขภาพ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.); 2564.

วัฒนา สว่างศรี. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคในชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม.วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2562;16(3)116-29.

สำนักวัณโรค สถาบันบำราศนราดูร. แนวทางการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อวัณโรค.สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2559.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-14 — Updated on 2024-02-21

Versions