รูปแบบการจัดการบริการพยาบาลเพื่อคุณภาพและความปลอดภัยในผู้ป่วยกระดูกต้นแขนหัก มารับการใส่เฝือกที่ห้องตรวจออร์โธปิดิกส์ผู้ป่วยนอก

ผู้แต่ง

  • รานีวรรณ์ จันทรวารีย์ โรงพยาบาลร้อยเอ็ด
  • มะลิวรรณ อังคณิตย์ โรงพยาบาลร้อยเอ็ด
  • รุ่งรัตน์ เนตรโสภา โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

คุณภาพและความปลอดภัย, ผู้ป่วยกระดูกต้นแขนหัก, การใส่เฝือก, การพยาบาลผู้ป่วยนอกออร์โธปิดิกส์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาและประเมินผลลัพธ์การใช้รูปแบบการจัดการบริการพยาบาลเพื่อคุณภาพและความปลอดภัยในผู้ป่วยกระดูกต้นแขนหักมารับการใส่เฝือกที่ห้องตรวจออร์โธปิดิกส์ผู้ป่วยนอก

รูปแบบการวิจัย : วิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างสุ่มอย่างง่าย คือ 1) ผู้ป่วยที่มารับบริการตามนัดที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่ากระดูกต้นแขนหักที่ได้รับการใส่เฝือก จำนวน 30 คน และ 2) พยาบาลประจำการในกลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยนอก จำนวน 9 คน การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะศึกษาสถานการณ์ 2) ระยะพัฒนารูปแบบการพยาบาลโดยนำผลจากที่ได้ในระยะที่ 1 มาสนทนากลุ่มบุคลากรเพื่อสร้างรูปแบบการดูแลร่วมกัน และ 3) ระยะประเมินผลการนำใช้รูปแบบฯเก็บข้อมูลผสานวิธีทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ (1) เครื่องมือดำเนินการวิจัย คือ (1) แบบบันทึกเอกสาร (2) แนวทางการสนทนากลุ่ม (3) แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึกและระดมสมอง (4) รูปแบบที่พัฒนาฯและคู่มือการใช้รูปแบบพัฒนาฯซึ่งมีค่า CVI=1.00 และ (2) เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ (1) แบบประเมินประสิทธิภาพการใช้รูปแบบฯ (2) แบบสอบถามความคิดเห็นต่อการนำใช้รูปแบบฯ (3) แบบประเมินโครงการ (4) แบบสอบถามการรับรู้คุณภาพบริการของผู้ป่วย (5) แบบสอบถามคุณภาพบริการสำหรับเจ้าหน้าที่ (6) แบบประเมินการปฏิบัติงานตามมาตรฐานผู้ป่วยนอกในผู้ป่วยที่มารับบริการใส่เฝือก (7) แบบประเมินสมรรถนะเฉพาะด้านพยาบาลเข้าเฝือก และ (8) แบบเก็บตัวชี้วัดคุณภาพบริการพยาบาล 4 มิติ คุณภาพเครื่องมือเท่ากับ 0.90, 0.91, 0.94, 0.87, 0.84, 0.92 และ 0.89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนาและวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย : พบว่า รูปแบบการจัดการบริการพยาบาลเพื่อคุณภาพและความปลอดภัยในผู้ป่วยกระดูกต้นแขนหักมารับการใส่เฝือกที่ห้องตรวจออร์โธปิดิกส์ผู้ป่วยนอก มี 6 องค์ประกอบ  ได้แก่ 1) ทิศทาง นโยบายและการบริหารจัดการ 2 ) พยาบาลผู้จัดการและการประสานงาน  3) การบริหารจัดการด้านเครื่องมืออุปกรณ์ 4) สมรรถนะเฉพาะด้านสำหรับพยาบาลเข้าเฝือก 5) ด้านกระบวนการปฏิบัติการพยาบาลตามแนวทางปฏิบัติการพยาบาล และ 6) การประเมินผลลัพธ์โดยใช้เกณฑ์ตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลตามมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยนอก 4 มิติ ผลลัพธ์การใช้รูปแบบฯ พบว่า มีความเป็นไปได้ เหมาะสม ถูกต้อง เป็นประโยชน์ ร้อยละ 100 และ 2) พยาบาลผู้ใช้พึงพอใจยอมรับในระดับมากร้อยละ 90 และผลลัพธ์คุณภาพบริการผู้ป่วยกระดูกต้นแขนหักมารับการใส่เฝือกทางคลินิกเพิ่มขึ้นทุกด้าน และผู้ป่วยพึงพอใจร้อยละ 70

สรุปและข้อเสนอแนะ : ควรนำใช้รูปแบบการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพราะส่งผลดีต่อการดูแลผู้ป่วยกระดูกต้นแขนหักมารับการใส่เฝือกที่ห้องตรวจออร์โธปิดิกส์ผู้ป่วยนอก เพิ่มคุณภาพผลลัพธ์ทางคลินิกตามที่คาดหวัง ผู้ป่วยพึงพอใจและพัฒนาสมรรถนะพยาบาลเฉพาะทางด้านพยาบาลออร์โธปิดิกส์และเข้าเฝือก

References

พนิดา ไกรนรา. ผลของแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเฝ้าระวังอาการสำคัญที่นําไปสู่ภาวะคุกคามชีวิตของผู้บาดเจ็บรุนแรง หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์. วารสารโรงพยาบาลสิงห์บุรี. 2566;32(1):66-79.

สำนักวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. MOPH ED. Triage. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร. สถิติจราจรและอุบัติเหตุและแผนการขนส่งและจราจร. วารสารนโยบายการขนส่งและจราจร; 2566.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. MOPH ED. Triage. ใน: Moskop J C Iserson K V. “Triage in medicine, part I: Concept, history and types.” Ann emerg med; 2561.

สภาพยาบาล. ข้อบังคับสภาการพยาบาล ว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. ๒๕๖๔ [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 25 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.tnmc.or.th/images/userfiles/files/T_0028.PDF

ห้องตรวจศัลยกรรมกระดูกและข้อ โรงพยาบาลร้อยเอ็ด. ข้อมูลอุบัติการณ์จากดูแลรักษาด้านกระดูกและข้อ ปี 2559-2566. งานผู้ป่วยนอกชั้น 1 กลุมงานการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลร้อยเอ็ด; 2566.

ห้องตรวจออร์โธปิดิกส์ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลร้อยเอ็ด. สถิติผู้รับบริการกระดูกหักที่มารับบริการห้องตรวจออร์โธปิดิกส์แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลร้อยเอ็ด. กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยนอก; 2566.

งานผู้ป่วยนอกชั้น 1 กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลร้อยเอ็ด. สถิติข้อมูลอุบัติการณ์ความเสี่ยงงานผู้ป่วยนอกชั้น 1. กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยนอก; 2566.

สภาการพยาบาล. พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2540 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2551.

วีรนุช ไตรรัตโนภาส. บทบาทของพยาบาลในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยกระดูกหักที่ได้รับการดึงถ่วงน้ำหนัก. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน. 2563;26(3):110-20.

ศิริพร ศิริวัฒนไพศาล, นาตยา คําสว่าง, รุ่งทิพย์ โตอิน, ชื่นมนัส จาดยางโทน, เยาวรัตน์ ดุสิตกุล. รูปแบบการพัฒนาการประกันคุณภาพบริการพยาบาล:ถอดบทเรียนโรงพยาบาลตติยภูมิ. วารสารการพยาบาลสุขภาพและสาธารณสุข. 2566;2(1):66-73.

สํานักการพยาบาลสํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข. การประกันคุณภาพการพยาบาล:การประเมินคุณภาพการบริการพยาบาลผู้ป่วยหนัก. บริษัทสามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จํากัด; 2555.

กองการพยาบาล สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. การประเมินคุณภาพการพยาบาลในโรงพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข. บริษัท สํานักพิมพ์สื่อตะวันจํากัดจังหวัดปทุมธานี; 2562.

มะลิวรรณ อังคณิตย์, เรวดี สมทรัพย์, บุษบา วงค์พิมล. รูปแบบการพัฒนาคุณภาพระบบบริการพยาบาลโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของกลุ่มงานวิจัยและพัฒนาการพยาบาล โรงพยาบาลร้อยเอ็ด. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2563;38(1):107-116.

เกษร สังข์กฤษ, ไพลิน นัดสันเทียะ, วิภา แก้วเคน, ปิยนุช บุญกอง. การพัฒนาคุณภาพระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยหนัก จังหวัดสกลนคร. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2558;30(2):110-21.

สมศักดิ์ คุปติรัตน์ศยกุล. แนวทางการรักษาผู้ป่วยกระดูกหัก-ข้อเคลื่อน. ภาควิชาออรโธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 25 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://ortho2.md.chula.ac.th/phocadownload/data-sheet/guidelines-spine-SomsakMD.pdf

พิกุล นันทชัยพันธ์. ใน: เรณู แบนสุภาพ. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการจัดการบาดแผลอุบัติเหตุแผนกฉุกเฉิน โรงพยาบาลลี้ จังหวัดลำพูน [วิทยานิพนธ์]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2551.

วิชัย โชควิวัฒน. ปฏิญญาเฮลซิงกิของแพทยสมาคมโลก (ค.ศ.2013) หลักการจริยธรรม สำหรับการศึกษาวิจัยทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์. สถาบันพัฒนาการคุมครองการวิจัยในมนุษย์ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2559.

ทิพย์อักษร อินทร์ติยะ. ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการเฝ้าระวังภาวะ Compartment Syndrome ในผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลนครพนม. วารสารโรงพยาบาลนครพนม. 2023;8(1-3).

กาญจนา วงษ์เลี้ยง. “มีดตกแต่งเฝือก (PSU cast cutting knife)”. ฝ่ายบริการพยาบาล โรงพยาบาลสงขลานครินทร์. Nursing Research Newsletter. 2561;7(61):1-10.

โรงพยาบาลสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา. การช่วยเหลือผู้รับบริการเมื่อใส่เฝือก. คู่มือการปฏิบัติงานตามภารกิจหลักและภารกิจการพยาบาล [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 25 มีนาคม 2566]; 2563. เข้าถึงได้จาก: https://sungnoenhospital.com/wp-content/uploads/2021/12/MOIT2.13

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-14 — Updated on 2024-03-28

Versions