การพัฒนารูปแบบการจัดการตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุม ระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โรงพยาบาลนาดูน จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ฐญา ธนบดีวิวัฒ โรงพยาบาลนาดูน
  • รุจิรา ไชยรงศรี โรงพยาบาลนาดูน

คำสำคัญ:

การจัดการตนเอง, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โรงพยาบาลนาดูน จังหวัดมหาสารคาม

รูปการการวิจัย :  การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2565 ถึงเดือน มกราคม 2566 จำนวน 32 คน การวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ 1) วิเคราะห์สถานการณ์-เตรียมการ 2) พัฒนารูปแบบ 3) ทดลองใช้รูปแบบ 4) ประเมินผล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบบันทึก และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired-sample t-test

ผลการวิจัย : พบว่า หลังการทดลอง พบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเองด้านการรับประทานอาหาร การออกกำลังกายและพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมมากกว่าก่อนทดลอง (p<.05) โดยมีคะแนนเพิ่มขึ้น 17.44 คะแนน (95%CI:10.93, 23.95) และมีค่าเฉลี่ยของน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) ลดลงต่ำกว่าก่อนทดลอง (p<.05) โดยมีระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) ลดลง 0.90% (95%CI:0.74, 1.07)

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าผู้ให้บริการสุขภาพสามารถนำรูปแบบการจัดการตนเองนี้ไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยเบาหวานในสถานบริการในเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอนาดูนได้อย่างครอบคลุมมากขึ้น เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากน้ำตาลในเลือดสูงได้

References

Wattanayingchareon S. Mohanamai Diabetic Patients. Mohanamai. 2000,9(4):17-32.

WDD 2013-DIABETES: PROTECT OUR FUTUR [Internet]. [cited 2013 Sep 23]. Available from: URL:http://idf.org/our-activities/advocacy-awareness/diabetes-on-the-global-agenda.html.

Department of Disease Control. Non-communicable diseases data. [Internet]. Nonthaburi: Beareau of Non-Communicable Disease; 2010 [cited 2019 Mar 1]. Available from: http://www.thaincd.com/information-ststistic/non-communicable-disease-data.php

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. คลังข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจังหวัดมหาสารคาม. คลังข้อมูลสุขภาพ: Health Data Center (HDC) จังหวัดมหาสารคาม; 2565.

Creer L T. Self-management of chronic illness.Handbook of self-regulation. California: Academic. 2000:601-629.

สาวิตรี นามพะธาย. ผลของโปรแกรมการจัดการโรคเบาหวานด้วยตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้ [วิทยานิพนธ์]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2561.

อารีย์ เสนีย์. บทความวิชาการ เรื่องโปรแกรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. วารสารพยาบาลทหารบก. 2557;15(2):129-34.

มนตรี คำรังสี, นงลักษณ์ เมธากาญจนศักดิ์. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 รายใหม่. วารสารของโรงพยาบาลสกลนคร.2556;16(1):43-54.

ปรางค์ บัวทองคำวิเศษ, ดวงกมล ปิ่นเฉลียว, สุทธีพร มูลศาสตร์. ประสิทธิผลของโปรแกรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในตำบลท่าก๊อ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย.วารสารพยาบาลตำรวจ. 2560;8:105-16.

Bloom B S. Taxonomy of education objectives handbook I: cognitive domain (7thed). New York: David Makay; 1972.

ดารารัตน์ อุ่มบางตลาด, ศตกมล ประสงวัฒนา. ประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 แบบเข้มต่อความรู้ พฤติกรรมการจัดการตนเองและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานใน PCU อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา. วารสารการพยาบาลสารณสุขและการศึกษา. 2558;3(3):11-23.

สุชาดา พวงจำปา, กาญจนา พิบูลย์, วัลลภ ใจดี, เกษม ใช้คล่องกิจ. โปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อความรู้พฤติกรรมการออกกำลังกาย จำนวนก้าวเดิน และ ระดับฮีโมโกลบินเอวันซีของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2.วารสารแพทย์นาวี. 2560;17(2):275-300.

จำเนียร พรประยุทธ, ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ, สมสมัย รัตนกรีฑากุล. ผลของโปรแกรมการชี้แนะต่อพฤติกรรมการควบคุมโรคเบาหวานและค่าเฉลี่ยน้ำตาลสะสมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2560;8:60-9.

อภิชาต ศรีสมบัติ, ศศิมา กุสุมา ณ อยุธยา, วิมลรัตน์ ภู่วราพุฒิพานิช, สุพรรณี จิรจริยาเวช. ผลของโปรแกรมการจัดการเบาหวานด้วยตนเองแบบกลุ่มต่อระดับฮีโมโกลบินเอวันซีในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 [วิทยานิพนธ์]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2559.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-08