ผลของโปรแกรมการสอนที่มีต่อความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเอง และคุณภาพชีวิตของผู้ใหญ่ที่เป็นโรคหืด ในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลโพนทอง
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยโรคหืดโปรแกรมการสอน, ความรู้, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, คุณภาพชีวิตบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์วิจัย: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสอนต่อความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเอง และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหืด โรงพยาบาลโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด
รูปแบบการวิจัย : วิจัยกึ่งทดลอง (Quasi – Experimental research)
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคหืด ที่เคยเข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉินด้วยอาการหอบรุนแรงและเคยรับไว้นอนรักษาในโรงพยาบาล เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือโปรแกรมการสอนโรคหืด และคู่มือการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคหืด ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา โดยให้ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน และตรวจสอบความเชื่อมั่นด้วยสูตรคูเดอร์ ริชาด์สัน (KR-20) ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบความรู้เท่ากับ .70 แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองได้ค่าความเชื่อมันเท่ากับ .80 แบบวัดดัชนีคุณภาพชีวิต หาความเชื่อมั่นด้วยสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .84 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และใช้สถิติทดสอบที (Paired t-test)
ผลการวิจัย : พบว่า กลุ่มตัวอย่างหลังได้รับโปรแกรมการสอน มีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคหืดเท่ากับ 9.04 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.02 สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการสอน ที่มีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคหืด 6.92 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.73 มีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเอง 18.08 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.99 ซึ่งสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการสอน ที่มีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเอง 13.04 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.81 และ มีค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหอบหืด 1,539.00 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 138.23 ซึ่งสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการสอน ที่มีค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหืด 1,200.04 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 120.75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (<.001)
สรุปและข้อเสนอแนะ : ควรมีการนำโปรแกรมการสอนที่พัฒนาจากการศึกษาครั้งนี้ไปประยุกต์ใช้ ในคลินิกผู้ป่วยโรคหืด แผนกผู้ป่วยนอก เนื่องจากเป็นโปรแกรมที่มีสามารถปรับเปลี่ยนยืดหยุ่นได้ ตามบริบทของหน่วยงานและผู้ป่วย และการจัดกิจกรรมกลุ่ม
References
World Health Organization (WHO). Asthma Action Plan [อินเตอร์เน็ต]. 2017 [cited 5 May 2023]. Available from from: http://www.worldlifeexpectancy.com
วัชรา บุญสวัสดิ์. ผลกระทบของโรคหืดต่อระบบสาธารณสุข (Burden of Asthma on Public Health). ใน: สมบูรณ์ จันทร์สกุลพร, เบญจมาศ ช่วยชู, อรพรรณ โพชนุกูล, ธีระศักดิ์ แก้วอมตวงศ์, (บรรณาธิการ). ตำราโรคหืด. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์; 2556.
Orem D E, Taylor S E. Orem’s General Theory of Nursing. New York:L National League for Nursing; 1995.
สวรรค์ รุจิชยากูร. ผลของโปรแกรมการสอนที่มีต่อความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเอง และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหืดโรงพยาบาลพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ. 2562;2(1):91-7.
Orem D E. Nursing Concepts of Practice. 4th. ed. Philadelphia:Mosby Year Book; 1991.
ศุภานันท์ ทองทวีโภคิน, ศิรินัดดา สุกก่ำ. ผลของการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลต่อพฤติกรรมการดูแลนเองเพื่อป้องกันการกลับมารักษาซ้ำของผู้ป่วยโรคหอบหืด. วารสารแพทย์เขต 4-5. 2565;41(4): 31-40.
รจนา หมั่นวิชา. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคหืดโรงพยาบาลนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู. มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร. 2562;2(2):13-20.
ชลอศักดิ์ สุชัยยะ, อัมพรพรรณ ธีรานุตร. ผลของแนวปฏิบัติทางคลินิกในการจัดการภาวะหืดกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคหืด ต่อการกลับมารักษาซ้ำและพฤติกรรมการปฏิบัติตัว. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 2563:43(4):48-58.
สุณี เลิศสินอุดม, เกศริน ชูปัญญาเลิศ. ผลลัพธ์ทางคลินิกและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหืดคลินิกโรคหืด โรงพยาบาลตติยภูมิ. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน. 2559;11:234-44.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง