This is an outdated version published on 2024-02-11. Read the most recent version.

การพัฒนารูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยโดยพยาบาล งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ในโรงพยาบาลเกษตรวิสัย

ผู้แต่ง

  • ญวนใจ มุมกลาง โรงพยาบาลเกษตรวิสัย

คำสำคัญ:

การคัดแยกผู้ป่วย, พยาบาลวิชาชีพ, งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการ สร้างและตรวจสอบคุณภาพ และทดลองใช้และประเมินผลรูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยโดยพยาบาล    

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยและพัฒนา (Research and development)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มเป้าหมายเป็นพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 14 คน ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจำนวน 14,709 ราย ที่ได้มาจากการคัดเลือกด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) ดำเนินการวิจัยตั้งแต่เดือนมกราคม-กันยายน 2566 การดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการ การพัฒนารูปแบบ การนำรูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยไปใช้และการประเมินผล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบ แบบประเมิน และแนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกผู้ป่วยโดยใช้ Percentage differences

ผลการวิจัย : พบปัญหาและความต้องการในการคัดแยกผู้ป่วยของพยาบาลแผนกฉุกเฉินด้าน(1) บุคลากรผู้ปฏิบัติงานทั้งจำนวน สมรรถนะและการพัฒนาสมรรถนะ (2) กระบวนการ สถานที่ และ (3) เครื่องมือการคักแยก รูปแบบการคัดแยกฯ ประกอบด้วย 7 ขั้นตอนคือ (1) การประเมินอาการเพื่อคัดแยกผู้ป่วย (Primary Assessment (2) จำแนกและจัดลำดับความเร่งด่วน (3) วินิจฉัยและให้การรักษาพยาบาลตามแนวปฏิบัติ (4) ให้การช่วยเหลือเบื้องต้นในภาวะวิกฤติที่เป็นอันตรายและเสี่ยงต่อการเสียชีวิตตามแนวปฏิบัติ (5) รายงานแพทย์หรือทีมดูแล (6) ประเมินและคัดแยกโรคระบบทางเดินหายใจและแยกโซนรอตรวจ และ (7) ลงบันทึกการคัดแยกเบื้องต้น และพยาบาลมีคะแนนความรู้ภายหลังการฝึกอบรมเพิ่มขึ้น  (89.63%) สามารถนำเครื่องมือการคัดแยกผู้ป่วยได้ถูกต้อง (99.27%) ผลการคัดแยกผู้ป่วยมีข้อผิดพลาดลดลง พบว่า การประเมินระดับความรุนแรง Under triage (0.18%) (18/9,800) และการประเมินระดับความรุนแรง Over triage  (0.55%) (54/9,800)

 สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้ส่งผลให้ Under Triage/over Triage ลดลง ดังนั้นหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินควรไปใช้พัฒนางาน

References

กรมการแพทย์. สำนักการพยาบาล. มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2551.

สภาการพยาบาล. มาตรฐานบริการการพยาบาลและการผดุงครรภ์ระดับทุติยภูมิและระดับตติยภูมิ. กรุงเทพฯ: สภาการพยาบาล; 2548.

สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล. มาตรฐานโรงพยาบาล (ฉบับฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี). กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล; 2548.

Johnson K D, Winkelman C. The Effect of Emergency Department Crowding on Patient Outcomes A Literature Review. Advanced Emergency Nursing Journal. 2011;33:39-54.

Hoot N R, Aronsky D. Systematic Review of Emergency Department Crowding: Cause, Effects and Solutions. Annals of Emergency Medicine. 2008;52:126-36.

อรวรรณ ฤทธิ์อินทรางกูร, วรวุฒิ ขาวทอง, ปารินันท์ คงสมบูรณ์, สมศรี เขียวอ่อน. การพัฒนาระบบการคัดแยกผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์. วารสารกรมการแพทย์. 2561;43(2):146-51.

โรงพยาบาลเกษตรวิสัย. ผลการดำเนินงานการคัดแยกผู้ป่วย. ร้อยเอ็ด: กลุ่มการพยาบาล; 2565.

วัชราภรณ์ โต๊ะทอง. ประสิทธิผลการใช้รูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยโดยใช้เกณฑ์การคัดกรองเร่งด่วนต่อระยะเวลารอคอยของผู้ป่วย ความแม่นยำการคัดกรอง และการปฏิบัติบทบาทของพยาบาลคัดกรองงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน. วารสารการพยาบาลสุขภาพ และสาธารณสุข. 2565;1(2):1-11.

รังสฤษฏ์ รังสรรค์. การคัดกรองผู้ป่วยด้วยระบบ Emergency Severity Index (ESI) A Triage Tool for Emergency Department Care. Version 4 Implementation Hand book [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://ergold book.blogspot.com/2012/10/emergency-sevcrity-index-esi.html

พรทิพย์ วชิรดิลก, ธีระ ศิริสมุด, สินีนุช ชัยสิทธิ์, อนุชา เศรษฐเสถียร. การคัดแยกผู้ป่วยของแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินในประเทศไทย. วารสารสภาการพยาบาล; 2559;31(2):96-108.

Singer R F, Infante A A, Oppenheimer C C, West C, Siegel B. The use of and satisfaction with The Emergency Severity Index. Journal of Emergency nursing. 2012;28(2):120-26.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. แผนหลักการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ฉบับที่ 3.1 พ.ศ.2562-2565. บริษัท อัลทิเมท พริ้นติ้ง จำกัด; 2562.

สำนักงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการจัดระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: L.T.Press Co.Ltd; 2548.

พรรณพิมล สุขวงษ์, ปาณิสรา หลีค้วน, นัทชา จงศิริฉัยกุล, พัชรินทร์ ไชยบาล. รูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยในแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลน่าน. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2564;29(4):58-67.

เพ็ญจันทร์ โฮมหงษ์, ศุภรดา ภาแสนทรัพย์, น้ำฝน เสาวภาคย์ไพบูลย์. การพัฒนารูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคปอด งานการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลโพนพิสัย. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี. 2564;29:96-110.

เทพีรัตน์ เทศประสิทธิ์. การพัฒนาระบบการคัดแยกประเภทผู้ป่วยงานผู้ป่วยนอกและอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลโชคชัย. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2564;15(36):160-78.

กงทอง ไพศาล. การพัฒนาระบบการคัดกรองผู้ป่วย งานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลพล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2562;12:93-100.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-05 — Updated on 2024-02-11

Versions