การพัฒนาระบบการจัดการความเสี่ยงทางพยาบาล งานผู้ป่วยในโรงพยาบาลจังหาร

ผู้แต่ง

  • สมพิศ ขจรมณี โรงพยาบาลจังหาร

คำสำคัญ:

การคัดแยกผู้ป่วย, พยาบาลวิชาชีพ, งานผู้ป่วยใน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การวิจัย : เพื่อศึกษาสถานการณ์ พัฒนาระบบ และประเมินผลลัพธ์ระบบการจัดการความเสี่ยงทางพยาบาล งานผู้ป่วยในโรงพยาบาลจังหาร

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการระดับความร่วมมือ (Practical action research)

วัสดุและวิธีการวิจัย : ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความเสี่ยงทางการพยาบาลจำนวน 21 คน การวิจัยแบ่งเป็นการวิเคราะห์สถานการณ์ความเสี่ยง การพัฒนาระบบ และประเมินผลระบบ ดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 ถึงกันยายน 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบสังเกต และแบบประเมิน วิเคราห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis)

ผลการวิจัย : 1) ความเสี่ยงในงานผู้ป่วยย้อนหลัง 3 ปี พบว่า มีจำนวน 150 ครั้ง ส่วนใหญ่มีความรุนแรงในระดับ E จำนวน 53 ครั้ง รองลงมา คือ ระดับ F จนวน 50 ครั้ง ตามลำดับ พยาบาลวิชาชีพขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนสำคัญของการจัดการความเสี่ยง ต้องการพัฒนาระบบการจัดการความเสี่ยงที่เข้าใจง่ายและมีส่วนร่วมจากเจ้าหน้าที่ทุกคน ระบบการจัดการความเสี่ยงประกอบด้วย 6 ขั้น คือ  (1) การเฝ้าระวังความเสี่ยงทุกจุดบริการ (2) การพัฒนาสมรรถนะบุคลากร (3) จัดทำ Risk management tool (4) ปรับสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อจัดการความเสี่ยง (5) การสื่อสารการจัดการความเสี่ยงโดยประสานความร่วมมือผ่าน PCT และ (6) กำกับติดตาม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง 2) พยาบาลปฏิบัติตามแนวทางทางการจัดการความเสี่ยงโดยรวม คิดเป็นร้อยละ 91.25 ความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก และ 3) หลังการพัฒนา พบว่า ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่อยู่ในระดับ Low Risk (เสี่ยงต่ำ) ระดับปานกลาง ระดับ D มากที่สุด จำนวน 11 ครั้ง รองลงมา คือ ระดับ C จำนวน 6 ครั้ง  

สรุปและข้อเสนอแนะ : ระบบการจัดการความเสี่ยงครั้งนี้ส่งผลให้ความเสี่ยงลดลง ดังนั้นควรส่งเสริมให้งานผู้ป่วยในนำระบบนี้ไปในพื้นที่

References

รัชนี อยู่ศีริ. การบริหารการพยาบาล. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาคไทย; 2551.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล. มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพฉบับเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี. กรุงเทพฯ: หนังสือดีวัน; 2558.

สภาการพยาบาล. มาตรฐานการพยาบาลและการผดุงครรภ์ 2540 [อินเตอร์เน็ต]. 2552 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก : htp://www.tnc.or.th/aw/page-6.html

The Joint Commission. Critical access hospital and hospital national patient safety goals [Internet]. 2006 [cited 2012 Dec 14]. Available from: http://www.splashcap.com/JCAHO_2006-NPSG-3D.pdf

กองตรวจราชการ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สรุปผลการดำเนินงานเรื่องร้องเรียน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 รอบ 6 เดือน. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2564.

โรงพยาบาลจังหาร. ผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์. กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลจังหาร; 2565.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). รายงานประจำปี 2561 สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน); 2561.

อิทธิพล สูงแข็ง. บรรยายพิเศษเรื่องการบริหารจัดการความขัดแย้งในการบริการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต 7 ขอนแก่น [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/2019/01/16725

จิราวรรณ รุ่งเรืองวารินทร์, พรพิมล พลอยประเสริฐ, สมทรง บุตรชีวัน. การพัฒนาระบบการจัดการความเสี่ยง กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 2560;25(7):25-36.

วรัญญา ญาติปราโมทย์. การจัดการความเสี่ยงเพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาของแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์. การจัดการความเสี่ยงเพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาของแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 2563;9:20-30.

นิยตา ดีอินทร์. ประสิทธิผลของระบบการบริหารความเสี่ยงทางการพยาบาลที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดปทุมธานี. [วิทยานิพนธ์]. นครปฐม. มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2560.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-05 — Updated on 2024-02-05

Versions